svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"กมธ.พัฒนาการเมือง"ตบเท้าเข้าหารือ"ประธานศาลรธน."ขอชัดเจนประชามติรธน.

"กมธ.พัฒนาการเมือง"ตบเท้าเข้าหารือ"ประธานศาลรธน." หวังได้ข้อสรุปที่ชัดเจนทำประชามติ2ครั้ง เพื่อเดินหน้าทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ทันก่อนเลือกตั้งครั้งต่อไป 

21 พฤศจิกายน 2567 ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ "นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์" สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการเดินทางมาประชุมหารือกับ"ประธานศาลรัฐธรรมนูญ"เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า  หากจะต้องการ ให้ได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทันก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไป หนทางเดียวคือการลดประชามติจาก 3 เหลือ 2 ครั้ง ที่ผ่านมา ข้อถกเถียงของแต่ละฝ่ายว่าการทำ"ประชามติ"จะต้องทำกี่ครั้งต้นตอเกิดขึ้นจากการตีความ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 ที่ไม่เหมือนกัน

"นายพริษฐ์ วัชรสินธุ์" สส.พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร

ขณะที่ "พรรคประชาชน" และ "พรรคเพื่อไทย" ตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไว้ว่า ต้องทำประชามติเพียงแค่ 2 ครั้งแต่ก็มีบางฝ่ายรวมถึงประธานสภาที่ตีความว่าจะต้องทำทั้งหมด 3 ครั้ง ดังนั้นวันนี้จึงต้องหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายความให้เกิดความชัดเจนขึ้นว่าตกลงแล้วคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 จะต้องทำประชามติทั้งหมดกี่ครั้ง และหวังว่าจะได้ความชัดเจนกลับมา ซึ่งในวินิจฉัยของศาลระบุ ว่าจะต้องทำประชามติเพียงแค่ 2 ครั้ง และไม่ได้ระบุว่าจะต้องทำประชามติ 3 ครั้งเขียนแค่ว่าจะต้องทำประชามติ 1 ครั้งก่อนและ 1 ครั้งหลัง จึงมีการถกเถียงกันว่าคำว่า"ก่อน"หมายถึงก่อนอะไร คือก่อนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือก่อนที่จะมีการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)เข้าสู่รัฐสภา

\"กมธ.พัฒนาการเมือง\"ตบเท้าเข้าหารือ\"ประธานศาลรธน.\"ขอชัดเจนประชามติรธน.

โดย หากไปดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการทั้ง 9 คน ก็จะเห็นว่าตุลาการเสียงข้างมากได้เขียนไว้ชัดเจนที่สามารถตีความได้ว่า จำเป็นต้องมีการทำประชามติเพียงแค่ 2 ครั้งเท่านั้น

นอกจากนี้ โรดแมพที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ผลิตเป็นอินโฟกราฟฟิค ออกมาก็มีจำนวนการทำประชามติเพียงแค่ 2 ครั้งจึงหวังว่าการหารือวันนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนขึ้นว่าตกลงแล้วจำนวนประชามติที่จำเป็นตามกรอบของกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเพียงแค่ 2 ครั้ง ดังนั้น หากเราได้ข้อสรุปดังกล่าวก็จะมี ความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะโน้มน้าวทุกฝ่ายให้ยืนอยู่ตรงจุดนี้ร่วมกัน

\"กมธ.พัฒนาการเมือง\"ตบเท้าเข้าหารือ\"ประธานศาลรธน.\"ขอชัดเจนประชามติรธน.

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็จะต้องหารือกับอีก 2 บุคคลคือประธานรัฐสภา ที่มีการนัดหมายกันไว้ในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งหากวันนี้ได้รับความชัดเจนจากศาลรัฐธรรมนูญก็จะนำข้อมูลตรงนี้ไปคุยกับประธานรัฐสภาได้ และจะทำให้ประธานสภาสบายใจขึ้น เพื่อที่จะทบทวน บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับส.ส.ร ที่อดีตพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยได้ยื่นไปตั้งแต่ต้นปี และจะได้ริเริ่มกระบวนการทำประชามติ และบุคคลที่ 2 คือนายกรัฐมนตรี ที่เคยระบุว่าไม่ได้ติดใจที่จะให้เข้าพบแต่ ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบอย่างเป็นทางการกลับมาว่าจะให้เข้าพบวันไหน ซึ่งวัตถุประสงค์ในการเข้าพบก็เพื่อที่จะหารือกับพรรคที่รัฐบาล หาพรรคซีกรัฐบาลเห็นตรงกันที่จะเดินตามแนวทางการทำประชามติ2 ครั้ง ก็จะทำให้โอกาสพี่แผนดังกล่าวจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภามีมากขึ้น

ดังนั้น หวังว่าการหารือจะได้ผลลัพธ์ที่เราจะมีความหวังมากขึ้นในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่