svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"3 ปี EEC" เดินหน้าลงทุน ตั้งเป้าเป็นเมืองดิจิทัลระดับโลก

“3 ปี EEC” เดินหน้าลงทุนเป็นรูปธรรม ตั้งเป้า EECd เป็นเมืองดิจิทัลระดับโลก ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

22 กันยายน 2564 โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่เกิดพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ปี 2561- มิถุนายน 2564 เกิดการลงทุนรวมที่ได้รับอนุมัติแล้ว 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 94 จากเป้าหมายแผน 5 ปี (2561-2565) ของ EEC 1.7 ล้านล้านบาท เร็วกว่าเป้าที่กําหนดไว้ 

แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  • การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอกชนร่วมลงทุน (PPP) 4 โครงการหลัก (รถไฟฯ/สนามบินฯ/2 ท่าเรืออุตสาหกรรม) มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท แบ่งเป็น ทุนจากภาคเอกชน 387,018 ล้านบาท (ร้อยละ 61) จากภาครัฐ 196,940 ล้านบาท (ร้อยละ 39)
  • การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (จากการออกบัตรส่งเสริม BOI) มูลค่า 878,881 ล้านบาท (โครงการที่ขอยื่นส่งเสริมลงทุน ช่วงปี 2560 - มิถุนายน 2564 ลงทุนจริงแล้วกว่าร้อยละ 85)
  • การลงทุนผ่านงบบูรณาการ EEC มูลค่า 82,000 ล้านบาท สําหรับการลงทุนช่วงสองไตรมาสแรกของปี 2564 มีเงินลงทุน 126,643 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53 (จากช่วงเดียวกันปี 2563)

- จํานวนของโครงการสูงสุดคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ชิ้นส่วน

- เงินลงทุนสูงสุดคือ เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) คิดเป็นร้อยละ 64

- นักลงทุนที่สนใจมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง

\"3 ปี EEC\" เดินหน้าลงทุน ตั้งเป้าเป็นเมืองดิจิทัลระดับโลก

 

EEC มีการเตรียมพัฒนาพื้นที่ EECd เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งภูมิภาค เพื่อดึงดูดการลงทุน จัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ทำห้องเย็นเทคโนโลยีทันสมัย ยกระดับรายได้ให้ชุมชนและเกษตรกรในพื้นที่ ให้เกษตรกร ชุมชน คนรุ่นใหม่มีคุณภาพชีวิตและรายได้ดีขึ้น ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของไทยรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต