svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

วิทยาลัยเกษตรฯ พังงาปล่อย-แจกพันธุ์ปลานิลพร้อมสมุนไพรสู้โควิด

09 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พังงา - วิทยาลัยเกษตรฯพังงาปล่อยและแจกพันธุ์ปลานิล 999,999ตัว ในโครงการ “น้อมรำลึกพระคุณพ่อของแผ่นดิน ปลานิลสินในน้ำ” พร้อมแจกสมุนไพรสู้ภัยโควิด-19

9 กันยายน 2564 ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำบ้านชีน้อย ม.1 ต.ถ้ำ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วยนายศิวัชฐ์ ระวังกุล นายอำเภอตะกั่วทุ่ง นายสุธา พรหมแก้ว นายก อบต.ถ้ำ ร่วมปล่อยพันธุ์ปลานิลจิตรลดาจำนวน 2,000 ตัว และแจกพันธุ์ปลานิลจิตรลดาให้กับเกษตรกรและผู้แทนชุมชน ตามโครงการ “น้อมรำลึกพระคุณพ่อของแผ่นดิน (ร.9)  ปลานิลสินในน้ำ” เพื่อน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พร้อมกันนี้ได้แจกพันธุ์ฟ้าทะลายโจรและกระชายขาว ซึ่งพืชสมุนไพรต้านโควิด-19 ให้กับประชาชนนำไปขยายพันธุ์แจกจ่ายต่อกันในชุมชน ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ได้จัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ โดยมีคุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดโครงการผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกลไปยังสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรทั้ง 4 ภาคพร้อมกัน

วิทยาลัยเกษตรฯ พังงาปล่อย-แจกพันธุ์ปลานิลพร้อมสมุนไพรสู้โควิด
    

นายสุพชัย อัมภา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงา กล่าวว่า สืบเนื่องจากคุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรทั้ง 4 ภาค ซึ่งประกอบด้วย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี และวิทยาลัยประมงทั่วประเทศ จำนวน 47 แห่ง ดำเนินการกิจกรรมเพาะพันธุ์ปลานิลแจกจ่ายแก่ประชาชน และปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อเป้นการน้อมรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9  ซึ่งเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้ทรงจัดส่งมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระองค์ท่าน

วิทยาลัยเกษตรฯ พังงาปล่อย-แจกพันธุ์ปลานิลพร้อมสมุนไพรสู้โควิด

 


 

วิทยาลัยเกษตรฯ พังงาปล่อย-แจกพันธุ์ปลานิลพร้อมสมุนไพรสู้โควิด

และต่อมาในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2509 ได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้เป็นภาษาไทยว่า "ปลานิล"  ในระยะแรกพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปล่อยปลานิลลงเลี้ยงในบ่อภายในบริเวณพระตำหนักจิตรลดา เพื่อทรงทดลองเลี้ยงและให้กรมประมงจัดส่งเจ้าหน้าที่วิชาการมาตรวจสอบการ เจริญเติบโต และศึกษาด้านชีววิทยาของปลานิลเป็นประจำ จนเมื่อทรงเห็นว่าสามารถเลี้ยงได้ผลดี ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายพันธุ์เพื่อนำไปแจกจ่ายให้ราษฎรเลี้ยงและมีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องจนมาถึงทุกวันนี้ สำหรับในพื้นที่จังหวัดพังงานั้นในปี 2564  ทางวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพังงาได้ ปล่อยและแจกพันธุ์นิลจิตรลดารวมทั้งสิ้น 20,000 ตัว ขณะที่รวม4ภาคมีการปล่อยและแจกรวม 999,999 ตัว

ภาพ / ข่าว  โดย:
อโนทัย  งานดี จ.พังงา 

logoline