ซึ่งปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย ในปี 2561-2562 พบเป็นปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ 53.04%, ปัญหาจากสุรา 29%, โรคทางกาย 25.7, ปัญหาด้านเศรษฐกิจ 19%, โรคทางจิต 12% และโรคซึมเศร้า 7.8% และพบว่า ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะไม่กลับมาทำร้ายตัวเองซ้ำใน 1 ปี ถึง 94.27%
ขณะเดียวกัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รายงานสถานการณ์การฆ่าตัวตายโลก โดยระบุว่ามีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายทุกๆ 40 วินาที และการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของวัยรุ่น (อายุ 15-29 ปี) มากที่สุด รองลงมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน แม้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกจะเพิ่มมาตรการ และนโยบายป้องกันการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต้องการการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ
นอกจากนี้ ยังมีรายงานการจัดอันดับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก ประจำปี 2562 โดย World Population Review ที่สำรวจ และพิจารณาข้อมูลการฆ่าตัวตายขององค์การอนามัยโลกปี 2561 ทั้งหมด 183 ประเทศ พบว่า ประเทศไทย มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ติดอันดับ 32 ของโลก เฉลี่ย 14.4 คนต่อประชากร 1 แสนคนโดยประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก 10 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 ลิทัวเนีย (เฉลี่ย 31.9 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 2 รัสเซีย (เฉลี่ย 31 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 3 กายอานา (เฉลี่ย 29.2 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 4 เกาหลีใต้ (เฉลี่ย 26.9 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 5 เบลารุส (เฉลี่ย 26.2 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 6 ซูรินาเม (เฉลี่ย 22.8 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 7 คาซัคสถาน (เฉลี่ย 22.5 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 8 ยูเครน (เฉลี่ย 22.4 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 9 ลัตเวีย (เฉลี่ย 21.2 คนต่อประชากร 1 แสนคน)อันดับ 10 เลโซโท (เฉลี่ย 21.2 คนต่อประชากร 1 แสนคน)
ส่วนประเทศอื่นๆ ในเอเชียที่ติดอันดับในรายงาน มีอัตราการฆ่าตัวตายต่อประชากร 1 แสนคน ดังนี้ ญี่ปุ่น อยู่ในอันดับที่ 14 ของโลก (เฉลี่ย 18.5 คน), อินเดีย อันดับที่ 21 (เฉลี่ย 16.3 คน), ศรีลังกา อันดับที่ 29 (เฉลี่ย 14.6 คน), เกาหลีเหนือ อันดับ 59 (เฉลี่ย 11.2 คน), สิงคโปร์ อันดับ 67 (เฉลี่ย 9.9 คน), จีน อันดับ 69 (เฉลี่ย 9.7 คน), ลาว อันดับ 84 (เฉลี่ย 8.6 คน), พม่า อันดับ 94 (เฉลี่ย 7.8 คน), เวียดนาม อันดับ 101 (เฉลี่ย 7.3 คน), มาเลเซีย อันดับ 123 (เฉลี่ย 5.5 คน) และฟิลิปปินส์ อันดับ 163 (เฉลี่ย 3.2 คน)