ซึ่งบุคลากรดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนาก่อนบรรจุและแต่งตั้ง การพัฒนาครั้งนี้ ถือเป็นการบูรณาการของ อปท. ด้วย เนื่องจากมีเข้าร่วมการพัฒนาด้วย 2 คน การพัฒนาแยกออกเป็น 5 หน่วยพัฒนา คือ หน่วยพัฒนากรุงเทพมหานคร หน่วยพัฒนาพิษณุโลก หน่วยพัฒนานครศรีธรรมราช หน่วยพัฒนาขอนแก่น และหน่วยพัฒนาบุรีรัมย์ โดยดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การเสริมสร้างสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม - 26 มีนาคม 2561
ระยะที่ 2 การฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นแบบจำนวน 79 แห่ง ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 16 เมษายน 2561
ระยะที่ 3 การนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา ระหว่างวันที่ 19 เมษายน - 22 เมษายน 2561
สำหรับระยะที่ 1 การเสริมสร้างสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์) เป็นประธานในพิธีเปิดการพัฒนา และให้นโยบายสำคัญถึงบทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ที่เป็นความหวังในการปฏิรูปการศึกษาของ สพฐ. รวมทั้งให้แนวทางการเป็นศึกษานิเทศก์ที่ดีในยุคการปฏิรูปการศึกษา
นอกจากนี้ สพฐ. ยังได้เพิ่มเติมเนื้อหาที่ทันสมัย ตรงนโนบาย เปิดกรอบความคิดใหม่ที่สามารถพัฒนางานตามนโยบายลงสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรมระยะที่ 2 เป็นการฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต้นแบบ 79 แห่ง ทั่วประเทศ โดยผู้เข้ารับการพัฒนาจะได้รับการโค้ชจากศึกษานิเทศก์ในการปฏิบัติจริง ตามบทบาทหน้าที่ และการนิเทศเชิงลึกในสถานศึกษา ผลการพัฒนา ได้รับคำชมถึงการกระตือรือร้นในการฝึก และได้ใช้โจทย์จากหน้างานที่ต้องไปทำงานสร้างความเข้มแข็งและมั่นใจในการเป็นศึกษานิเทศก์ที่ดีระยะที่ 3 เป็นการสัมมนาและเสนอผลงานที่เป็นผลของการฝึกตั้งแต่ระยะที่ 1 และ 2 มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และตกผลึกความคิด สร้างรูปแบบการนิเทศสู่ความเข้มแข็ง ในเรื่องระบบประกันคุณภาพ การยกระดับคุณภาพ กระบวนการ PLC คูปองพัฒนาครู ระบบการช่วยเหลือดูแลนักเรียน การใช้ DLTV และ DLIT ในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างเครือข่ายการพัฒนา ขับเคลื่อน ร่วมกันทั้งประเทศแบบผนึกกำลัง นอกจากนี้ยังเพิ่มการบูรณาการงานจากสภาการศึกษา ให้ความรู้ในเรื่องการจัดลำดับการศึกษาของประเทศไทย เมื่อเทียบกับประเทศอื่น และแผนการศึกษาชาติ โดย ผอ.กวิน เสือสกุล เพิ่มการทำงานของศึกษานิเทศก์ เพื่อให้จุดมุ่งหมายไปตามแผนการศึกษาชาติ ต่อด้วย ผอ.เกศทิพย์ ศุภวานิช บทบาทของศึกษานิเทศก์ กับนโยบายโดยสรุป 7 ข้อ1.วิเคราะห์บทบาท2.การสร้างศักยภาพแห่งตน The Leader In Me3.ศึกษาปัญหา-สื่อสารอย่างสร้างสรรค์4.นำนโยบายสู่การปฏิบัติ5.คิดแบบวิทยาศาสตร์ อ้างอิงข้อมูล ไม่วิพากษ์วิจารณ์อย่างไร้ข้อมูล/เหตุผล6.ศึกษานิเทศก์มืออาชีพ ต้องจริงใจ/จริงจังต่อการพัฒนา7.ก้าวข้ามปัญหานำพาการศึกษาสู่ความสำเร็จ
ท่าน ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานในการปิดและมอบนโยบาย บทบาทและเพิ่มความแข็งแกร่ง พร้อมปฏิบัติในพื้นที่ และข้อคิดที่นำไปปฏิบัติเมื่อศึกษานิเทศก์ไปโรงเรียน โดยให้ทุกคนย้อนนึกไปถึงเมื่อก่อนที่จะมาเป็นศึกษานิเทศก์ มีอะไรที่ทำให้โรงเรียนไม่ชอบ และมีอะไรที่ทำให้โรงเรียนชอบ นั่นแหละ คือ สิ่งที่ควรทำในสิ่งที่ รร. ชอบ และบทบาทที่ดีในการช่วยครู และการปฏิบัติ 3 ช คือ ชอบ เชื่อ และช่วย พร้อมเน้นย้ำนโยบายที่ลงสู่ผู้เรียน คุณภาพให้เกิดที่ห้องเรียน
ด้วยกระบวนการของการผลิต สพฐ.คาดหวังว่า บุคลากรที่ผ่านการพัฒนา จะเป็นบุคคลที่มีสมรรถนะที่จะเป็นศึกษานิเทศก์ และหวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา ในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้อย่างแน่นอน