ข่าวที่เกี่ยวข้องจับจริง ปรับจริง! นั่งท้ายกระบะ "บ่ให้บรรทุกคน..บรรทุกได้แต่ของ"
ยอมถอยแล้ว!กลับสงกรานต์ นั่งท้ายกระบะ-แคปได้
ส่วนกรณีรถกระบะมีแคป ขณะนี้พบว่าประชาชนเกิดความสับสนว่า สามารถนั่งได้หรือไม่ พล.ต.ท.วิทยา ชี้แจงว่า ทางบช.น.ได้ถือปฏิบัติตามคำสั่งของสตช.คือ ห้ามรถกระบะมีแคปบรรทุกคนโดยเด็ดขาด หากพบเห็นจะดำเนินการปรับทันที เพราะในการจดทะเบียนของรถกระบะนั้น จะจดทะเบียนเป็นรถกระบะบรรทุกส่วนบุคคลไม่เกิน 7 นั่ง จะมีป้ายทะเบียนกำกับประเภทรถ เป็นป้ายสีขาวตัวอักษรสีเขียว
ผู้ช่วยผบ.ตร. อธิบายว่า วัตถุประสงค์ของแคปคือ มีไว้เพื่อตั้งวางสิ่งของเท่านั้น ที่ผ่านมากลับมีการใช้บรรทุกคนจนเคยชิน ซึ่งแคปนั้นไม่มีอุปกรณ์สำหรับความปลอดภัยของผู้ที่นั่งอยู่ในแคป และไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนนั่ง
ทั้งนี้ ในการจับปรับรถกระบะที่บรรทุกคนโดยสารในแคปนั้น เจ้าหน้าที่ไม่ได้จับปรับในข้อหาไม่รัดเข็มขัดนิรภัย แต่จะปรับในข้อหา ใช้รถยนต์ผิดประเภท ซึ่งถือว่าผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ 2522 มาตรา 21 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถไม่ตรงตามประเภทที่จดทะเบียนไว้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท นอกจากนี้กรณีที่ให้ผู้โดยสารนั่งข้างหลังกระบะก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน
พล.ต.ท.วิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ประชาชนที่มีรถกระบะและต้องการบรรทุกคนโดยสาร จะต้องนำรถไปต่อเติมหลังคาและติดตั้งที่นั่ง 2 แถว และนำรถยนต์ไปจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก เป็นรถโดยสารสาธารณะ 7 ที่นั่งขึ้นไป แต่ไม่เกิน 12 ที่นั่งจึงจะถือว่าไม่ผิดกฎหมาย
สำหรับรถยนต์กระบะ 4 ประตู สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ตามปกติ แต่จะต้องรัดเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งเพราะรถกระบะ 4 ประตูจดทะเบียนเป็นรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ที่ผ่านมาประชาชนใชรถผิดประเภทมาโดยตลอด ส่งผลให้เกิดความเข้าใจผิดว่าแคปมีไว้สำหรับนั่ง