นายอภัย สุทธิสังข์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ เปิดเผยในรายการเก็บตกจากเนชั่นฯ ว่า กรมหม่อนไหม กับทีมวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค้นพบว่าหนอนไหม 2 สายพันธุ์ไทยคือ น้อยศรีเกษ เหลืองสุรินทร์ มีสารที่เรียกว่า ซิลเดนาฟิล ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่ใช้ผลิตยาไวอากร้า หลังจากที่ไม่ได้ตั้งใจที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับไวอากร้า แต่ว่าสังเกตเห็นว่าครอบครัวชาวอีสานที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งทำงานหนัก ฐานะไม่ได้ร่ำรวย แต่ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรงและมีบุตรหลายคน จึงไปสอบถามชีวิตแต่ละวันและพบว่าอาหารที่กินอย่างหนึ่งคือ ตัวดักแด้จากหนอนไหม จึงได้รวบรวมพันธุ์หนอนไหมพื้นบ้านทั้งหมดมาวิจัยคุณค่าทางอาหาร ร่วมกับภาควิชาเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และพบว่าหนอนไหมนี้มีสารซิลเดนาฟิล ซึ่งเป็นชื่อสามัญทางยาไวอากร้า
เมื่อถามว่า การไปวิจัยเจอสรรพคุณที่คาดไม่ถึงในตัวหนอนไหมเกิดขึ้นโดยบังเอิญหรือไม่ อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าวว่า แท้จริงอยู่ในกรอบการวิจัยอยู่แล้ว เพราะเพราะในตอนแรก ทราบแค่ตัวดักแด้มีคุณค่าทางอาหารสูง คือมีทั้งโปรตีน ไขมัน และอื่นๆเยอะมาก จึงวิจัยแต่ละตัวแล้วก็ไปเจอว่ามันออกฤทธิ์มันสารซิลเดนาฟิล จึงไปดูสมมติฐานคนภาคอีสานเขากิน ดูแล้วแข็งแรง ก็เลยศึกษาต่อ ต้องขอเวลาอีกสักพัก โดยรายละเอียดในด้านอื่นๆมีแล้ว แต่ตัวที่จะเปรียบเทียบกับซิลเดนาฟิลยังไม่ละเอียดมากนัก โดยเบื้องต้นอย่างที่เป็นข่าว คือ ดักแด้หมอนไหม 22 ตัวจะเทียบเท่ากับไวอากร้า 100 มิลลิกรัม
"ในเบื้องต้น ได้ข้อสรุปว่ากรมจะร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลิตเป็นสารบำรุงสุขภาพ ซึ่งจะมากกว่าไวอากร้าที่ขายกันตามท้องตลาดทั่วไปที่มีสารอาหารอย่างอื่นด้วย เช่น มีกรดอมิโนต่างๆมากมายไม่ใช้" อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าว
ส่วนกรณีที่วิตกกันว่าจะมีคนฮือฮาไปจับพวกหม่อนไหมหรือดักแด้มากิน นายอภัยกล่าวว่า ตอนนี้เเชื่อว่ามีสารอย่างน้อยเทียบกับซิลเดนาฟิล ซึ่งดักแด้มีขายทั่วไปตามรถเข็นขายแมลง คือพวกที่ทอดขาย และขอแนะนำว่าให้กินที่ทอดขาย เพราะการที่จะกินดักแด้ดิบมีโอกาสน้อยมาก เพราะตัวดักแด้จะเกิดมาจากการสาวไหม ซึ่งต้องต้ม จึงเหลือเพียงดักแด้สุกแล้ว ดังนั้น ที่พ่อค้าขายดักแด้ทอด ก็คือผ่านกระบวนการทำสุกมาแล้ว แต่ขอแนะนำว่าอย่ากินมากนัก เพราะไขมันเยอะ กินพอสมควร และอย่าลืมเรื่องความสะอาด
ส่วนกรณีที่มีการนำมาทอดแล้วความร้อนทำลายสารซิลเดนาฟิล หรือไม่นั้น จากการวิจัยพบว่าจะมีคุณค่าหายไปไม่ถึง 10% แต่ต้องวิจัยต่ออีกนิด ซึ่งหลังจากที่ครั้งแรก กรมหม่อนไหมวิจัยร่สวมกับกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนที่จะมาร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อไม่นานมานี้ คือไม่ถึงปี และคาดว่าทุกสายพันธุ์มีสารซิลเดนาฟิลแน่นนอน เพราะว่าหนอนพวกนี้สารอาหารในดักแด้ไหม ไม่ใช้หนอนนะครับ ในกระบวนการของตัวหนอนไหมนี้มันก็เริ่มจากเป็นตัวหนอนมาลอกคราบมาเรื่อยๆแล้วก็ทำรังอย่างที่เห็นกัน
สำหรับการกินดักแด้หม่อนไหมนั้น อธิบดีกรมหม่อนไหมกล่าวว่า ตัวดักแด้นี้ การกินไม่ได้หมายถึงจะได้ผลทัน แต่จะไปบำรุงร่างกายและสะสมบำรุง ก่อนจะไปขยายหลอดเลือด แต่อย่ากินมากเกินไป เพราะมีกรดอมิโนถึง 18 ชนิด จึงช่วยเสริมร่างกายต่างๆ และอนาคตอาจจะเป็นอาหารหลักตัวหนึ่งของมวลมนุษย์ชาติ ซึ่งแตกต่างจากไวอากร้า ที่มีคำเตือนเช่น คนเป็นโรคหัวใจห้ามกิน แต่ดักแด้หม่อนไหในเบื้องต้น อยากเตือนว่าคนที่กินแล้วเกิดอาการแพ้ ก็ขอให้เลิกกิน
นานอภัยกล่าวตอบคำถามถึงการวิจัยว่ากำลังเร่งทำ ส่วนจะผลิตมาเป็นยาหรือไม่นั้น ยอมรับว่าต้องทำออกมาเป็นแคปซูล เป็นดักแด้บริโภค เหมือนถังเช่าที่นำมาผลิตในเมืองไทย ซึ่งก็ใช้ตัวดักแด้หม่อนไหมเป็นตัวปลูกให้เชื้อราถังเช่าขึ้นในตัวดักแด้ ซึ่งจะเห็นความเชื่อมโยงกัน เพราะพบว่าถังเช่าที่ธิเบต จะขึ้นบนตัวหนอนชนิดหนึ่ง ในไทยก็เอามาปลูกบนดักแด้หม่อนไหมนั่นเอง