svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ไวรัสโคโรนาเคยระบาดในเอเชียเมื่อ 20,000 ปีก่อน พบร่องรอยพันธุกรรมในดีเอ็นเอมนุษย์ปัจจุบัน

นักวิทย์พบหลักฐาน ไวรัสโคโรนาเคยระบาดในเอเชียเมื่อ 20,000 ปีก่อน เผยแพร่ในวารสารวิทยาศาสตร์ Current Biology วิจัยจีโนมของมนุษย์กว่า 2,500 คน จาก 26 กลุ่มทั่วโลก พบปฏิสัมพันธุ์ของไวรัสโคโรนา ที่ทิ้งร่องรอยพันธุกรรมเอาไว้ในดีเอ็นเอของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่อาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

วันนี้ (27 มิ.ย.64) สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงาน เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2564 ว่า นักวิจัยจากออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์ Current Biology ว่า พวกเขาพบหลักฐานว่าเคยมีการระบาดของไวรัสโคโรนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเมื่อ 20,000 ปีก่อน
ในผลการศึกษาดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยจีโนมของมนุษย์มากกว่า 2,500 คน จากประชากร 26 กลุ่มทั่วโลก และสามารถตีกรอบช่วงเวลาแรกสุดที่มนุษย์เคยมีปฏิสัมพันธุ์กับจีโนมของไวรัสโคโรนา ที่ทิ้งร่องรอยพันธุกรรมเอาไว้ในดีเอ็นเอของมนุษย์ยุคปัจจุบันที่อาศัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

นาย ยาสซีน โซอิลมี ผู้เขียนรายงานฉบับนี้กล่าวว่า จีโนมที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษา มีข้อมูลการวิวัฒนาการของมนุษย์ย้อนไปหลายแสนปี โดยไวรัสโคโรนาเมื่อเข้าไปในร่างของคน มันจะยึดเซลล์แล้วสร้างร่างก๊อปปี้ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งการทำเช่นนี้จะทิ้งร่องรอย ที่มนุษย์สามารถตรวจสอบได้แล้ว เอาไว้เป็นหลักฐานสำคัญว่า ครั้งหนึ่งบรรพบุรุษของเราก็เผยสัมผัส และปรับตัวเข้ากับไวรัสโคโรนา

นักวิทยาศาสตร์พบสัญญาณทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนาในประชากร 5 กลุ่มซึ่งอาศัยอยู่ที่ จีน, ญี่ปุ่น และเวียดนาม โดยการระบาดแพร่กระจายไปไกลกว่าประเทศเหล่านี้ แต่ภูมิภาคอื่นๆ มีข้อมูลไม่เพียงพอ จึงไม่มีทางที่จะรู้ขอบเขตทั้งหมดได้

แต่สำหรับประชากรทั้ง 5 กลุ่ม นักวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาด เกิดการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่เป็นประโยชน์ ซึ่งช่วยปกป้องพวกเขาจากไวรัสโคโรนา

ทั้งนี้ ผลการศึกษาระบุว่ด้วยว่า การระบาดของไวรัสโคโรนาเมื่อ 20,000 ปีก่อน เกิดขึ้นแยกเป็นเอกเทศในแต่ละภูมิภาค และแพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกในการระบาดครั้งใหญ่ แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้ว่า คนยุคนั้นเอาตัวรอดจากการระบาดอย่างไร และไม่ทราบแน่ชัดด้วยว่า การระบาดเกิดขึ้นเป็นฤดูกาลเหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือเกิดอย่างต่อเนื่องเหมือนโควิด-19

รายงานข่าวจาก ซีเอ็นเอ็น