svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น"นวัตกรรมจากทุ่งนา"

อุตรดิตถ์ - อาจารย์-นักศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เจ๋ง คิดค้น-ประดิษฐ์เฟอร์นิเจอร์ไม้อัด กระดาษจากซังข้าว นวัตกรรมจากทุ่งนา ลด PM 2.5

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ลานตากข้าวสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ กลุ่มเกษตรกรทำนาตำบลบ้านหม้อ ต่างให้ความสนใจกับนวัตกรรมที่ทำจากซังข้าว หรือฟางข้าว วัสดุที่เหลือใช้จากทุ่งนาหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่ทางอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ คิดค้น ประดิษฐ์ เป็นได้ทั้งเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ แผ่นไม้อัด และกระดาษจากฟางข้าว พร้อมต่อยอดขยายผลลงสู่ชุมชน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเพื่อสร้างรายได้จากฟางข้าว ที่เกษตรกรมักเผาทิ้ง


มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมอาจารย์ที่ปรึกษา คือ ผศ.ดร.อังกาบ บุญสูง ,ผศ.สิงหา ปรารมภ์ และผศ.ดร.ไสยเพ็ญ เฉิดเจิม นำนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนักศึกษาหลักสูตรศิลปกรรม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จัดโครงการพันธกิจสัมพันธ์ตามยุทธศาสตร์สู่อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ การยกระดับคุณภาพการผลิตบัณฑิตด้วยกระบวนการอาสาประชารัฐในพื้นที่ต.บ้านหม้อ อ.พิชัย ขึ้น 



มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"


เนื่องจากเกษตรกรร้อยละ 90 ทำนาปีละ 2 ครั้ง เริ่มจากการชี้แจงเหตุและผล ก่อนจะร่วมเรียนรู้กระบวนการทำกระดาษจากจากข้าว แต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อให้เกษตรกรทำได้จริง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ลดมลพิษจากการเผาฟางได้รับความสนใจจากตัวแทนสมาชิกเกษตรกรของสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด



มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"



 นายพสิษฐ์ จัดการ และ น.ส.ศศิธร มีท่วม ตัวแทนนักศึกษา หลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวว่าจากปัญหามลภาวะโดยเฉพาะหมอกควัน หรือ PM 2.5 ที่สูงเกินมาตรฐานจนกลายเป็นปัญหาระดับประเทศไปแล้วนั้น สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากการเผาจากภาคการเกษตร ทั้งนี้จังหวัดอุตรดิตถ์ส่วนใหญ่ทำนามากถึงปีละ 2 ครั้ง และยังพบการเผาตอซังข้าวเป็นประจำ ดังนั้น จึงร่วมกับคิดค้นการสร้างประโยชน์จากฟางข้าว ที่ชาวนาสามารถต่อยอดทำได้จริง และสร้างรายได้เสริมหลังเก็บเกี่ยวข้าว กลายเป็นที่มาของการทดลองทำกระดาษจากฟางข้าว ขั้นตอนคล้ายการทำกระดาษสา สามารถผสมสีที่หลากหลายได้ ไม่ยุ่งยาก


มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"




"เริ่มจากแช่ฟางข้าว 1 คืน นำมาต้มให้เปื่อย และบดให้ละเอียด โดยขั้นตอนนี้จะผสมกระดาษเหลือใช้จากกล่องนมที่แช่น้ำจนเปื่อยยุ่ย กาวน้ำ เละสารบางตัวตามสูตร จากนั้น นำฟางข้าวและกระดาษกล่องนมที่บดละเอียด ขึ้นรูปกระดาษลงในแผ่นเฟรมที่ตีกรอบตามขนาดที่ต้องการไว้ นำไปตากแดดให้แห้ง ประมาณ 3 ชั่วโมง และรมควันเพื่อป้องกันเชื้อรา จะได้กระดาษซังข้าว หรือกระดาษฟางข้าว ที่สามารถนำไปห่อของขวัญ งานประดิษฐ์ ดอกไม้ หรือ ดอกไม้จัน ก็ยังได้ ซึ่งต้นทุนในการทำกระดาษฟางข้าวไม่สูงมากเพราะอุปกรณ์และวัตถุดิบมีในชุมชน โดยเฉพาะฟางข้าว ซึ่งขั้นตอนการทำกระดาษอย่างละเอียด ชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถติดต่อมายัง วิชาเอกหลักสูตรเทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ พร้อมที่จะให้คำแนะนำ


มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"





มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"


ด้านผศ.ดร.อังกาบ บุญสูง ที่ปรึกษา กล่าวว่า นวัตกรรมจากทุ่งนา เพื่อลดมลพิษจากการเผาฟางข้าว ในภาคเกษตรกรนอกจากการทำกระดาษจากฟางข้าวแล้ว ยังเตรียมต่อยอดการประดิษฐ์ภาชนะปลอดภัยจากฟางข้าว ทั้งจาน ถ้วย เครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้านจากฟางข้าว และที่สำเร็จเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมคือ เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด จากฟางข้าว ซึ่งใช้ทดแทนไม้ต่างๆ มีความแข็งแรง ทนทาน รับน้ำหนักได้มากกว่า 100 กิโลกรัม ที่ประสบผลสำเร็จคือ ชุดที่นั่ง เก้าอี้ ชั้นวางของ และแผ่นไม้อัดฟางข้าว ซึ่งเป็นขั้นตอนการขยายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม



มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"


นายบัญชา เมฆนุ้ย ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด กล่าวว่า กลุ่มเกษตรกรสมาชิก ของสหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด มีสมาชิกกว่า 490 ราย มีพื้นที่ทำนากว่า 1 หมื่นไร่ ทำนาปีละ 2 ครั้ง จากภาคราชการรณรงค์หยุดเผาตอซังก่อนทำนา จึงได้ประสาน ม.ราชภัฎอุตรดิตถ์ มาให้ความรู้สร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากการเผา และให้ชาวนาได้ร่วมกลุ่มเรียนรู้ ทั้งนี้สหกรณ์ฯสนับสนุนงบประมาณเริ่มต้น รวมกลุ่มสร้างมูลค่าเพิ่มจากฟางข้าว และสร้างรายได้เสริมหลังทำนาได้ด้วย



มรภ.อุตรดิตถ์ เจ๋งคิดค้น\"นวัตกรรมจากทุ่งนา\"