โดยระบุข้อความว่า "RSV ระบาดหนักมาก งดกอดงดหอมเด็กๆ งดพาเด็กๆไปห้าง ไปสัมผัสกับคนอื่นก่อนนะ ไม่ไหวแล้ว เทส RSV เจอขึ้น positive แทบทุกคนเลย พี่ไม่ไหวแล้วลูก พร้อมระบุลงท้ายว่าด้วยรักและห่วงใย"
ระบุต่ออีกว่า การติดต่อ มักเกิดจากการสัมผัสจะมือไปที่ตาหรือจมูก ผู้ที่ติดเชื้อ RSV จะมีการปล่อยเชื้อไวรัสออกจากสารคัดหลั่งประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนผู้ที่ได้รับเชื้อ RSV เข้าสู่ร่างกายมันจะมีระยะฟักตัว 3 ถึง 5 วัน ก่อนเริ่มแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจ
อาการ : อาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อ RSV มีความแตกต่างกันไปตามวัยของเด็ก 1.ทารกคลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงเดือนแรก จะมีอาการดูดนมน้อยลง ซึมลง บางรายมีอาการหยุดหายใจ บางรายอาจมีอาการคล้ายการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
2.เด็กช่วง 2 ขวบปีแรก มักเริ่มจากอาการไข้ต่ำๆ น้ำมูก จาม นำมาก่อน 1 ถึง 3 วัน ต่อมาเริ่มมีอาการไอ หายใจเร็วขึ้น หายใจลำบาก เด็กบางรายมีการติดเชื้อของระบบหายใจส่วนล่างได้แก่ ภาวะหลอดลมฝอยหรือหลอดลมส่วนปลายอักเสบ(Bronchiolitis) หากเชื้อลุกลามไปยังถุงลมจะเกิดภาวะปอดอักเสบได้ (pneumonia) บางรายที่มีอาการรุนแรงจำเป็นต้องรับการรักษาในไอซียู
3.เด็กอายุ 2 ถึง 5 ปี นอกจากเชื้อ RSV จะทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างแล้วยังทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและเกิดกลุ่มอาการ Croup (การอักเสบของกล่องเสียงและทางเดินหายใจส่วนบน) ได้
สำหรับการวินิจฉัยโรค 1. การตรวจทางไวรัสวิทยา ได้แก่ วิธี rapid antigen detection ตรวจโดยการป้ายจมูก , real time PCR , การเพาะเชื้อ (ไม่นิยมใช้ในทางเวชปฏิบัติ) และ 2.ภาพถ่ายรังสีปอด ส่วนด้านการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ RSV เป็นการรักษาตามอาการ ได้แก่การให้ยาลดไข้ ยาแก้ไอขับเสมหะ ยาลดน้ำมูก โดยเน้นการดูแลระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้
2.ผู้ปกครองที่มีลูกป่วยควรแยกเด็กออกจากเด็กปกติเพื่อป้องกันการไอจามแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นรอบข้าง ถ้าลูกเริ่มเข้าเนอสเซอรี่หรือโรงเรียน คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกหยุดเรียนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์จนกว่าจะหายเป็นปกติ
3.แยกเด็กป่วยและของใช้ของเด็กป่วยออกจากเด็กปกติ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค
4.ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งก่อนจับหรือดูแลเด็ก
5.หลีกเลี่ยงการจูบหรือหอมเด็กเพราะอาจเป็นการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว
6.ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันหากมีการสัมผัสผู้ป่วย
7.ดูแลบุตรหลานให้อยู่ห่างผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ
8.ไม่นำบุตรหลานไปในที่ชุมชนสถานที่ที่มีคนเยอะ
9.สำหรับการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในเด็กวัย 6-24 เดือน อยู่ระหว่างการวิจัยพัฒนา(ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค)
ขอบคุณเรื่องราวจาก Nunus Rattiya , คลินิกเด็กหมอณัชชา กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินหายใจ จ.อุบลราชธานี