svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

นอนอย่างไรให้ผอม

การควบคุมอาหารและการออกกำลังกายนั้นเป็นหัวใจสำคัญของการลดน้ำหนัก แต่มีผลวิจัยของนักวิจัยชาวเกาหลีที่ระบุว่าการนอนหลับเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินชีวิต และมีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักโดยตรง

เป้าหมายของการลดน้ำหนักทั่ว ๆ ไปคือการลดไขมันในร่างกาย และรักษามวลกล้ามเนื้อให้ได้มากที่สุด แต่จำนวนชั่วโมงของการนอนหลับที่ไม่ถูกต้องนั้น สามารถระบุได้ว่าร่างกายสูญเสียไขมันไปเท่าไหร่ และมวลกล้ามเนื้อที่คุณพยายามรักษาไว้ขณะจำกัดการรับประทานอาหารและการกำหนดปริมาณแคลอรี่
ผลการวิจัยที่ทำการเปรียบเทียบผลการนอนหลับระหว่างชั่วโมงการนอน 8.5 ชั่วโมงกับ 5.5 ชั่วโมงในแต่ละคืนในช่วงระยะเวลาตลอดสองสัปดาห์ พบว่าผลการนอนหลับ 8.5 ชั่วโมงต่อคืน มีผลทำให้ร่ากายเผาผลาญอาหารดีขึ้น มีการเผาผลาญไขมันมากกว่าการนอนหลับ 5.5 ชั่วโมงต่อคืน
นอกจากนี้ผลวิจัยยังระบุอีกว่า ถ้าการนอนหลับของคุณลดลงเพียงหนึ่งชั่วโมงในแต่ละคืนเป็นเวลาห้าคืนในหนึ่งสัปดาห์ หรือแม้ว่าคุณจะทำการชดเชยโดยการนอนหลับให้สนิทในช่วงสุดสัปดาห์ ก็ไม่เพียงพอที่จะเยียวยาผลเสียของการอดนอนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมแคลอรี่ในการรับประทานอาหารของคุณ

นอนอย่างไรให้ผอม

การนอนหลับมีผลโดยตรงต่อต่อฮอร์โมนกระตุ้นความอยากอาหารที่สำคัญสองชนิดในร่างกายของคนเรา คือฮอร์โมนเลปตินและฮอร์โมนเกรลิน- เลปติน (Leptin)หรือฮอร์โมนความอิ่ม ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ซึ่งหากร่างกายมีภาวะต้านฮอร์โมนเลปตินฮอร์โมนนี้ก็จะไม่สามารถส่งสัญญาณไปยังสมองได้ ทำให้เรารู้สึกหิวตลอดเวลา และกินเท่าไรก็ไม่รู้จักอิ่ม จึงนำมาซึ่งโรคอ้วนและน้ำหนักเกินในที่สุดโดยภาวะการขาดฮอร์โมนเลปตินนั้นเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้นหากเรายิ่งนอนน้อยก็จะยิ่งอยากกินอาหารเพิ่มมากขึ้น- เกรลิน (Ghrelin)หรือฮอร์โมนความหิว เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร ช่วยกระตุ้นความหิวทำให้เรารู้สึกอยากกินอาหารต่าง ๆ ซึ่งเกรลินจะหลั่งมากเป็นพิเศษในขณะที่เรารู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ทำงานหนัก นอนดึกหรือพักผ่อนน้อยส่งผลให้เรารู้สึกหิวง่ายและอยากกินนู่นกินนี่ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่กินจนอิ่มแล้ว
เลปตินเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดความอยากอาหารดังนั้นเมื่อระดับเลปตินสูงเรามักจะรู้สึกอิ่มในทางกลับกันเกรลินเป็น" ฮอร์โมนแห่งความหิว" การนอนหลับมีผลโดยตรงกับฮอร์โมนทั้งสองชนิดนี้

นอนอย่างไรให้ผอม

จากผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใหญ่จำนวน 1,024 คน พบว่าการนอนหลับในช่วงชั่วโมงที่สั้นมีความสัมพันธ์กับระดับเกรลินที่สูงขึ้นและระดับเลปตินลดต่ำลง ความสัมพันธ์ของฮอร์โมนนี้สามารถเพิ่มความอยากอาหารของแต่ละคนทำให้วิธีการจำกัดแคลอรี่ของร่างกายเป็นไปได้ยากขึ้นและอาจส่งผลทำให้คน ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะกินมากขึ้นด้วย
การบริโภคอาหารที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนความอยากอาหาร จะส่งผลโดยตรงทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นซึ่งหมายความว่าในระยะยาวการอดนอน ก็อาจส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความอยากอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นการนอนหลับให้เต็มอิ่มเป็นความสำคัญอย่างยิ่งในการควบคุมระดับฮอร์โมน
นอกจากเรื่องของฮอร์โมนความอยากอาหารแล้ว การนอนหลับที่ไม่เพียงพองยังส่งผลต่อการเลือกกินอาหารและวิธีการของสมองในการรับรู้เรื่องอาหารด้วย ซึ่งนักวิจัยพบว่าสมองจะตอบสนองต่อการมองเห็นและการกระตุ้นความอยากอาหารมากขึ้นหลังจากที่คุณนอนหลับไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่นอนหลับสนิทสิ่งนี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมคนอดนอนจึงทานอาหารว่างบ่อยขึ้น และมักจะเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ และส่งผลกระทบต่อการควบคุมน้ำหนักโดยตรง
อยากผอมลงและควบคุมน้ำหนักได้ก็ควรนอนไม่ต่ำกว่า 7-9 ชั่วโมงต่อวันนะครับ

นอนอย่างไรให้ผอม