นอกจากนี้โยเกิร์ตยังนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคทางช่องท้อง หรือระบบย่อยอาหาร ป้องกันมะเร็งบางชนิด และอาหารชนิดนี้ยังเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัวอีกด้วย
ประโยชน์ของโยเกิร์ตที่อาจได้ผลจริง
ป้องกันการติดเชื้อราในช่องคลอดจุลินทรีย์มีชีวิตในโยเกิร์ตนั้นมีประโยชน์ในการป้องกันหรือรักษาช่องคลอดอักเสบ อันเกิดจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย จมีงานวิจัยและการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์บางส่วนระบุว่า โยเกิร์ตอาจเป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยและได้ผลต่อการป้องกันการติดเชื้อในช่องคลอด ดังงานวิจัยหนึ่งที่แนะนำว่าการรับประทานโยเกิร์ตโพรไบโอติกช่วยลดการเพิ่มจำนวนเชื้อราในช่องคลอดของหญิง 24 คน ได้มากกว่าการไม่รับประทานอาหารที่เป็นโปรไบโอติกเลยและยังช่วยลดอัตราการติดเชื้อในช่องคลอดของหญิงผู้ป่วยโรคติดเชื้อเอชไอวีได้อย่างมีนัยสำคัญ
ภาวะแพ้แลคโตสผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยเอนไซม์แลคโตสในนม บางคนเลือกรับประทานโยเกิร์ตแทนนมเพื่อหลีกเลี่ยงอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือท้องเสีย และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บางส่วน คาดว่าเป็นเพราะในโยเกิร์ตมีแบคทีเรียที่จะช่วยในการย่อย ทำให้ร่างกายสามารถย่อยแลคโตสในโยเกิร์ตได้ดีกว่าแลคโตสที่พบในในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากนม
รักษาอาการท้องเสียของทารกหรือเด็กเล็กด้วยคุณประโยชน์จากจุลินทรีย์มีชีวิต โยเกิร์ตอาจช่วยป้องกันหรือรักษาอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นกับทารกและเป็นสาเหตุให้น้ำหนักตัวลดลง มีการทดลองให้เด็กอายุ 6-24 เดือนที่มีอาการท้องเสียมาน้อยกว่า 4 วันจำนวน 80 คน แบ่งกลุ่มรับประทานโยเกิร์ตนมวัวพาสเจอไรซ์เพิ่มเติมจากการรักษาตามปกติ หรือรับการรักษาตามปกติจากโรงพยาบาล ผลลัพธ์ปรากฏว่าโยเกิร์ตมีส่วนช่วยลดความถี่ของการถ่ายท้องและทำให้น้ำหนักของทารกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ไม่เพียงแต่อาการท้องเสียชนิดเฉียบพลัน การทดลองกับเด็กที่ท้องเสียอย่างต่อเนื่องเองก็มีเช่นกัน เช่น การให้เด็กอายุ 3-36 เดือน ที่มีปัญหานี้รับประทานนมหรือโยเกิร์ตที่ทำจากนมสูตรเด็กแรกเกิดที่หมักแลคโตบาซิลลัสบัลการิคัสแทนนมซึ่งก็พบว่าเด็กที่รับประทานโยเกิร์ตมีอาการท้องเสียลดน้อยลงกว่าอย่างน่าจะได้ผล ผู้วิจัยจึงให้ความเห็นว่าโยเกิร์ตอาจเป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการท้องเสียต่อเนื่องของทารกในเบื้องต้นได้
อาการท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะโยเกิร์ตยังอาจช่วยลดอาการท้องเสียซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาบางชนิด โดยมีการทดลองกับผู้ป่วยในโรงพยาบาล 202 คน อายุเฉลี่ย 70 ปี ที่ต้องรับประทานยาปฏิชีวนะหรือให้ยาโดยการฉีดเข้าเส้นเลือด ผลพบว่าการรับประทานอาหารเสริมโยเกิร์ตที่ประกอบด้วยโยเกิร์ต 227 กรัม เป็นเวลา 8 วัน หลังจากได้รับยาปฏิชีวนะ มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะได้อย่างมีนัยสำคัญ
อีกงานวิจัยที่ทดลองกับเด็กอายุมากกว่า 1 ปีที่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 1 สัปดาห์ กลับได้ผลไปในทางตรงกันข้าม หลังจากบริโภคโยเกิร์ตรสสตรอว์เบอร์รี่ที่มีจุลินทรีย์มีชีวิต 150 มิลลิลิตร นาน 12 วัน เริ่มตั้งแต่วันแรกที่เริ่มใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่พบว่ามีประสิทธิภาพลดอาการท้องเสียจากการรับประทานยาปฏิชีวนะแต่อย่างใด
ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันของ 2 งานวิจัยนี้ อาจเป็นปัจจัยจากอายุที่ต่างกันของกลุ่มผู้ทดลองหรือสาเหตุอื่นคงต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต้องการรับประทานโยเกิร์ตเพื่อลดผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะบางชนิดยังควรระมัดระวังด้วยการไม่รับประทานในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะโยเกิร์ตอาจส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ไม่เต็มที่
ดังงานวิจัยหนึ่งที่สนับสนุนประโยชน์ข้อนี้ของโยเกิร์ต โดยชี้ว่าเมื่อเปรียบเทียบระหว่างการรับประทานนม โยเกิร์ตที่ผ่านการพาสเจอไรซ์ และโยเกิร์ตที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์มีชีวิต 12 กรัม พบว่าเด็กที่แพ้แลคโตสมีอาการแพ้ลดน้อยลงหลังจากรับประทานโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์มากกว่ากลุ่มที่ดื่มนม
รักษาโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจุลินทรีย์โปรไบโอติกในโยเกิร์ตอาจช่วยรับมือกับแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. pylori) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารเมื่อใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันอย่างยาแลนโซพราโซล อะม็อกซีซิลลิน และคลาริโธรมัยซิน โดยจากการศึกษาชี้ว่าการผสมโยเกิร์ตที่มีจุลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสหรือไบฟิโดแบคทีเรียมเข้ากับยาเหล่านี้น่าจะช่วยให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้การรักษาและกำจัดแบคทีเรียเอชไพโลไรมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่าการรับประทานโยเกิร์ตเพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ช่วยกำจัดการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ โยเกิร์ตจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคนี้ในรูปแบบใด คงต้องติดตามผลการวิจัยในอนาคตต่อไป
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลบางงานวิจัยเผยว่าโยเกิร์ตอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง เช่น การศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 44 คนที่มีไขมันชนิดไม่ดีสูง ด้วยการให้รับประทานโยเกิร์ตโปรไบโอติกที่ประกอบด้วยแลคโตบาซิลลัสแอซิโดฟิลัสและไบฟิโดแบคทีเรียมแลคติส วันละ 300 กรัม นาน 8 สัปดาห์ เทียบกับการรับประทานโยเกิร์ตธรรมดา ปรากฏว่ากลุ่มที่บริโภคโยเกิร์ตโพรไบโอติกมีสัดส่วนระหว่างไขมันไม่ดีต่อไขมันดีมากขึ้น โดยมีระดับไขมันดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของไขมันไตรกลีเซอไรด์และไขมันคอเลสเตอรอลโดยรวม
โยเกิร์ตเป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัยจริงๆ และนอกจากนี้ยังรับประทานคู่กับ ผลไม้ ซีเรียล หรือถั่วต่างๆเพื่อเพิ่มรสชาติให้กับโยเกิร์ตถ้วยโปรดของใครหลายๆคนอีกด้วย