svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์" คือใคร

กลายเป็นข่าวร้อนในโซเซียล กรณี "กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์" ซึ่งเฟซบุ๊คส่วนตัวของเขาถูกระงับการใช้งาน หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เข้าควบคุมตัวตามหมายจับที่บ้านพักย่านพหลโยธิน เมื่อคืน (7 ตุลาคม)

ในข้อหาความผิดมาตรา 14 ข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กรณีโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในต่างประเทศ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ที่ผ่านมา คุมตัวมาสอบปากคำที่บก.ปอท.
โดยตำรวจจะส่งตัวให้ศาลอาญา รัชดาภิเษก ตอน 11.00 น.วันนี้ ซึ่งทนายจะคัดค้านการฝากขัง และเตรียมหลักทรัพย์ยื่นประกันไว้ 3-4 แสนบาท น่าจับตาว่าศาลจะให้ประกันหรือไม่
ประเด็นหลายคนสนใจ "กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์" คือใคร และเคยเคลื่อนไหวอะไรมาบ้าง 
หากย้อนดูเส้นทางนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเกือบ 3 ปีที่แล้ว เขาเคยเคลื่อนไหวเรื่อง "เวทีวิชาการไม่ใช่ค่ายทหาร" ร่วมลงชื่อกับคณาจารย์และประชาชน 301 รายชื่อ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้กองทัพถอนฟ้องบุคคล 5 ราย ที่ถูกแจ้งความฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ในงานประชุมไทยศึกษาที่เชียงใหม่ พร้อมเรียกร้องให้ยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช. 3/2558 ยุติการคุกคามเสรีภาพทางวิชาการและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น

\"กาณฑ์ พงษ์ประภาพันธ์\" คือใคร

ปีถัดมา (2561) กาณฑ์หนุ่มนักศึกษาปี 4 วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มธ. ร่วมเคลื่อนไหวกับ "กลุ่มคนอยากเลือกตั้ง" ตกเป็นผู้ต้องหาร่วม 47 คน จัดชุมนุมทางการเมือง ที่มี เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตจุฬาฯ, อนุรักษ์ เจนตวนิชย์ (ฟอร์ด เส้นทางสีแดง) ,สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์, รังสิมันต์ โรม ชลธิชา แจ้งเร็ว และโบว์ ณัฎฐา มหัทธนา เป็นต้น ข้อหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 
และร่วมกันมั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คนในที่สาธารณะ ฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 3/2558 ซึ่งต่อมาทางศาลได้มีคำสั่งยกฟ้องไปในวันที่ 20 ก.ย. ที่ผ่านมาปลายปี 2561 กรณีย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ หรือ อนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช 2476 ตั้งอยู่กลางบริเวณวงเวียนหลักสี่ ย่านบางเขน กทม. "กาณฑ์" เป็นแกนในนำกลุ่มคนเข้าสังเกตการณ์จนถูกตำรวจเข้าควบคุมตัวก่อนเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 แม้ว่า "กาณฑ์" จะเคยเคลื่อนไหวกับ "รังสิมันต์" ที่อยู่พรรคอนาคตใหม่ แต่ท่าทีของกาณฑ์ มักไม่ชื่นชอบแนวทางของผู้บริหารพรรคดังกล่าวนัก หลังมีกรณีมีอดีตกรรมการสัดส่วนเครือข่ายเยาวชนคนรุ่นใหม่ (NGN) ลาออกจากการเป็นสมาชิกกรรมการบริหารพรรคและผู้สมัคร ส.ส.ซึ่งนั่นกลายเป็นเป็นความขัดแย้งกลุ่มคนที่เคยร่วมเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง ซึ่งนับตั้งแต่การตั้งรัฐบาลประยุทธ์2 สำเร็จนั้น การเคลื่อนไหวบนถนนของ "กาณฑ์" เงียบลง แค่การเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียลร้อนแรงและแหลมคมจนถูกจับตาจากพวกเดียวกันและฝ่ายตรงข้าม!!