จุดธูป 1 ดอก: ไหว้ศพ เจ้าที่ วิญญาณธรรมดาที่ไม่ได้ขึ้นชั้นเทพ
จุดธูป 2 ดอก: ใช้บูชาเจ้าที่
จุดธูป 3 ดอก: ใช้บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
จุดธูป 5 ดอก: ใช้บูชาพระรัตนตรัย บูชารัชกาลที่ 5 ธาตุทั้งห้า หรือทิศทั้งห้า ศาลพระภูมิ
จุดธูป 7 ดอก: ไหว้พระพรหม บูชาพระอาทิตย์ ถือคติคุ้มครองทั้ง 7 วันในสัปดาห์
จุดธูป 8 ดอก: บูชาเทพเจ้าของชาวฮินดู
จุดธูป 9 ดอก: บูชาแก้ว 9 ประการ พระพุทธคุณทั้งเก้า และพระเทพารักษ์
จุดธูป 10 ดอก: ใช้บูชาเจ้าที่ตามความเชื่อของชาวจีนบางกลุ่ม
จุดธูป 12 ดอก: บูชาเจ้าแม่กวนอิม บูชาพระคุณของแม่
จุดธูป 16 ดอก: บูชาเทพชั้นครู หรือพิธีกลางแจ้งที่มีการอัญเชิญเทวดา ที่สำคัญหมายถึงสวรรค์ 16 ชั้น
จุดธูป 19 ดอก: บูชาเทวดาทั้ง 10 ทิศ
จุดธูป 21 ดอก: บูชาพระคุณของพ่อ
จุดธูป 32 ดอก: ใช้สวดชุมนุมเทวดาทั้ง 4 ทิศ
จุดธูป 36 ดอก: (ไตรภูมิทั้ง 36 ชั้น) ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือขอขมาต่อเจ้ากรรมนายเวร บนบาน หรือแก้เคล็ด
จุดธูป 108 ดอก: บูชาสิ่งสูงสุดทั่วทั้งโลกทุกชั้นฟ้า
ความเชื่อลักษณะของธูปบูชาพระ ปกติมีความยาว 13 นิ้วโดยประมาณ ก้านธูปชุบสีแดง ตัวธูปสีขาวนวล เวลาจุดประมาณ 40 - 45 นาที นอกจากนี้ยังมีธูปหอมที่เป็นสีประจำวัน มี 7 วัน 8 สี ตามความเชื่อของพราหม์ คือ
วันอาทิตย์ - สีแดง
วันจันทร์ - สีเหลือง
วันอังคาร - สีชมพู
วันพุธ (กลางวัน) - สีเขียว
วันพุธ (กลางคืน) - สีดำ (ราหู)
วันพฤหัสบดี - สีส้ม
วันศุกร์ - สีฟ้า
วันเสาร์ - สีม่วง
ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา
ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม