ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ ประธานฝ่ายวิชาการสมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งประเทศไทยใพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า ชายไทยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสเสี่ยงที่จะเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น โดยมีอุบัติการณ์อยู่ที่ 2.5-3 รายต่อแสนประชากร จากเดิมเป็นมะเร็งชายไทยอันดัน 7-8 ปัจจุบันสูงเป็นอันดับ 4 ของโรคมะเร็งทั่วไปในชายไทย ปัจจัยหนึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีนม เนย ชีสต์เพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ผู้ที่มีพ่อหรือพี่ชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นสูกงว่าคนทั่วไป 3 เท่า ซึ่งหากตรวจพบในระยะเริ่มต้นสามารถรักษาให้หายขาดได้ และการคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งตั้งแต่เริ่มแรกมีผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 21 และสามารถลดมะเร็งต่อมลูกหมากระยะลุกลามขณะวินิจฉัยได้
ศ.นพ.บรรณกิจ กล่าวอีกว่า ในการตรวจคัดกรอง ปัจจุบันมีการตรวจด้วย Prostate Health Index: phi หรือ พีเอชไอ ซึ่งเป็นชุดน้ำยาตรวจคัดกรอง โดยถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีความสุ่มเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งวิธีการจะทำการเจาะเลือดผู้ป่วย 5 ซีซีแล้วใช้ชุดน้ำยาและเครื่องตรวจอัตโรมัติเพื่อหาค่า 3 ตัว คือ PSA ,Free PSA และ [-2]pro PSA ทำให้มีความจำเพาะเจาะจงในการตรวจต่อโรคสูง มีความน่าเชือถือมากกว่าการตรวจแบบเดิม 3.5 เท่า
นวัตกรรมนี้เหมาะที่จะนำมาใช้ตรวจในผู้ป่วยที่มีค่า PSA อยู่ในช่วง 4-10 นาโนกรัมต่อมิลลิกรัม(ng/mL) ซึ่งถือเป็นโซนสีเทา หากใช้การตรวจด้วย phi แล้วพบว่าค่าphiน้อยกว่า 40 จะไม่ต้องตัดชิ้นเนื้อคนกลุ่มนี้ไปตรวจว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ จะช่วยให้ผู้ป่วยลดอัตราเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการตัดชิ้นเนื้อ
ส่วนผู้ที่มีค่า PSA สูงมากกว่า 10 ng/mL จะต้องตัดชิ้นเนื้อตรวจอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมนี้ในโรงพยาบาลเอกชนและโรงเรียนแพทย์บางแห่งเท่านั้น แต่คาดว่าในอนาคตจะมีการใช้ในโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการตรวจด้วยนวัตกรรมนี้อยู่ที่หลักหมื่นบาท แต่หากมีการผลิตมากขึ้นจนราคาถูกลง น่าจะมีการบรรจุในสิทธิประโยชน์ในกองทุนหลักประกันสุขภาพต่างๆ
"การตรวจคัดกรองผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก วิธีเดิมจะใช้วิธีตรวจ PSA เพื่อดูสารเคมีที่พบในเลือด เพื่อบ่งถึงความผิดปกติของต่อมลูกหมากร่วมกับวิธีการตรวจโดยสวมถุงมือคลำต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก(Digital Rectal examination :DRE) หากพบความผิดปกติเบื้องต้น คือ มีค่า PSA อยู่ระหว่าง 4.0 นาโนกรัมต่อมิลลิกรัม(ng/mL)ถึง 10 ng/mLจะต้องทำการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากมาตรวจเพิ่มเติม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกมาก หรือเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและทำให้ผู้ป่วยเสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น"ศ.นพ.บรรณกิจกล่าวศ.นพ.บรรณกิจ กล่าวอีกว่า ในการรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มี 2 แนวทาง ได้แก่ 1.ระยะที่1-2 มะเร็งยังไม่แพร่กระจายสามารถรัษษให้หายขาดได้ ด้วยการผาตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด การฝังแร่รังสี และ 2. ระยะที่ 3-4 เป็นระยะที่มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ตับ ไต ปอดและต่อมน้ำเหลือง อาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ บางรายถึงขั้นเป็นอัมพาต ทำการรักษาได้เพียงลดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งมียาบางชนิดช่วยฉีดประคับประคอง
สำหรับการสังเกตุความผิดปกติของต่อมลูกหมาก เช่นปัสสวาะตอนกลางคืนบ่อย ปัสสาวะลำยาก ปัสสาวะไม่หมด กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ ปวดเวลาปัสสาวะหรือมีเลือดปนออกมา รวมทั้ง ไม่มีแรง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดหลัง ปวดกระดูก น้ำหนักลด หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัย
"อยากให้ปรับเปลี่ยนพฤตกรรมการบริโภค ลดอาหารมัน ควบคุมคลอเรสเตอรอล หันมากินอาหารไทยที่อุดมด้วยพืช ผัก ผลไม้ที่มีไลโคปีน เช่น แตงโม มะเขือเทศสุก ผักตระกูลกำหล่ำ ผลิตภัณฑ์จากเต้าหู้และถั่วเหลือง ซึ่งจะสามารถช่วยยับยั้งโอกาสป้วยด้วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้"ศ.นพ.บรรณกิจกล่าว