จากการกินและการใช้ชีวิต เช่น การนอนหลับพักผ่อน เพราะไขมันในเลือดไม่ได้มีผู้ร้ายมาจากอาหารทั้งหมด แต่ที่จริงมีสาเหตุจากอาหารอยู่ที่ประมาณ 20% เท่านั้นซึ่งเรื่องนี้วารสารการแพทย์ของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดมีรายงานว่า โคเลสเตอรอลในเลือดเรามีสาเหตุมาจากอาหารเพียง 20% เท่านั้น นั่นแปลว่าส่วนใหญ่มาจากการใช้ชีวิตทุกเมื่อเชื่อวันของเรา
"เอาง่ายๆ ให้หลายท่านสังเกตว่าเราก็คุมอาหารอย่างหมอสั่งแต่เจาะเลือดก็ยังพบไขมันสูงเพราะอวัยวะที่ผลิตไขมัน "โคเลสเตอรอล" เป็นหลักถึง 80% คือ "ตับ" กับทางเดินอาหาร ดังนั้นการดูแลตับและคุมการบริโภค "น้ำตาล" กับ "โปรตีน" ให้ดีจึงมีส่วนช่วยควบคุมประชากรไขมันในเลือดให้เราได้มาก ซึ่งแม้บางครั้งเราจะบำรุงตับดีไปสักหน่อยด้วยการกินดีอยู่ดีตามที่ชอบจนทำให้เกิดภาวะ "ไขมันแทรกตับ (Non-alcoholic fatty liver)" แต่มันก็สามารถย้อนวัยตับกลับไปดีได้ด้วยการกินและวิถีชีวิตที่ไม่เพิ่มไขมันเช่นกัน" นายแพทย์กฤษดา กล่าว
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ แนะนำถึงการทำตัวอย่างไรเพื่อควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายว่า มีหลักสำคัญที่ทุกท่านนำไปใช้ปฏิบัติได้ง่าย ๆ 6 ข้อคือ
1) อย่ากลัวโคเลสเตอรอลจนเกินไป เพราะไขมันก็มีประโยชน์ เราอาจใช้วิธี "กินมันลดไขมัน" ได้โดยการเลือกรับประทานไขมันดีที่มีมากในปลาทู,ทูน่า,แซมมั่นหรือปลากระป๋องก็ยังได้ อีกทั้งยังมีน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์,คาโนล่า,น้ำมันมะพร้าว,อะโวคาโดและบรรดาพืชน้ำมันต่างๆ รวมถึงไข่แดงที่หลายท่านกลัวก็ยังคงรับประทานได้ในปริมาณที่เหมาะสมเพราะมันช่วยสมองกับกระดูกของเรามาก
2) ให้ระวังไขมันทรานส์ดีกว่า อย่าลืมว่าไขมันที่ร้ายไม่ใช่ไขมันอิ่มตัวเสมอไปแต่เป็นไขมันในรูป "ทรานส์" ที่ทำให้เพิ่มโคเลสเตอรอลแอลดีแอลในร่างกายแต่ไปกดไขมันดีอย่างเอชดีแอลให้ต่ำลง ซึ่งไขมันทรานส์มีมากในเนยเทียม,คุกกี้,แครกเกอร์,วิปครีม,มันฝรั่งทอด,โดนัทและเบเกอรี่อีกหลายชนิด
3) อย่าอดนอนหรือนอนมากไป มีการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร Sleep ว่าสุภาพสตรีที่นอนหลับน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อคืนและที่นอนมากกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืนนั้นพบว่ามีระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูงและไขมันดีตกต่ำ นอกจากนั้นนักวิจัยยังพบว่าการ "กรน" ยังสัมพันธ์กับระดับของไขมันดีที่ต่ำลงด้วย ซึ่งเรื่องนี้ผมขอช่วยเสริมไว้ว่าขออย่ากินมื้อดึกด้วย
4) ให้ใส่ใจเลี่ยงน้ำตาล โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่ฉลากบอกว่ามี ฟรุกโตส,ซูโครสหรือ HFCS(High-Fructose Corn Syrup) เพราะมันอาจเป็นความเสี่ยงใหญ่หลวงต่อการเกิด "ไขมันแทรกตับ(Non-alcoholic fatty liver disease)" ที่หลายท่านเรียกว่ามันพอกตับ ซึ่งที่จริงแล้วแนวทางปฏิบัติด้านโภชนาการแนะว่าถ้าลดการเพิ่มน้ำตาลลงได้เพียง 5% ของพลังงานทั้งหมดต่อวันก็จะช่วยลดความชุกของไขมันแทรกตับและผลร้ายตามมาของมันได้
5) โปรดเลี่ยงเมรัย ขอให้ใส่ใจเรื่อง "อัลกอฮอล์" ด้วยเพราะจะช่วยคุมโคเลสเตอรอลได้ เพราะอัลกอฮอล์ที่บริโภคเข้าไปทำให้ร่างกายได้แคลอรี่เพิ่มซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นน้ำหนักตัวหรือภาวะ "ลงพุง" ที่นำมฤตยูมาอยู่ใกล้ตัวขึ้น การที่น้ำหนักตัวเพิ่มสามารถแกล้งให้ค่าโคเลสเตอรอลแอลดีแอลสูงขึ้นได้ ในขณะที่ทำให้ไขมันดีต่ำลง อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจกับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์จุกตับได้อีก
6) ให้เจาะเลือดตรวจไขมัน โดยสมาคมโรคหัวใจแห่ง สหรัฐอเมริกา(American Heart Association,AHA)ได้แนะนำไว้ว่าผู้ใหญ่ทุกคนที่มีวัยตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไปควรได้รับการตรวจคัดกรองภาวะไขมันสูงอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งผู้ที่มีความเสี่ยงไขมันสูงควรต้องได้รับการตรวจเช่นกันได้แก่ ความดันโลหิตสูง,ชายอายุตั้งแต่ 45 ปี, หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป,ผู้สูบบุหรี่และผู้ที่มีประวัติไขมันสูงในครอบครัว