ตับและไต สำคัญไฉน?
ทั้ง “ตับ” และ “ไต” เป็นอวัยวะที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญมากในร่างกายมนุษย์ โดย “ตับ” นับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในช่องท้อง มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ในแต่ละวันเลือดในร่างกายของคนเราซึ่งมีอยู่ราวๆ 5 ลิตรจะไหลผ่านตับรอบแล้วรอบเล่าถึง 360 รอบ ซึ่งหากวัดปริมาณเลือดที่ผ่านตับก็จะมากถึงวันละ 1,800 ลิตรเลยทีเดียว
หน้าที่หลักๆ ของตับจะเกี่ยวกับการควบคุมสารอาหาร สังเคราะห์โปรตีน และผลิตสารชีวเคมีที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็น
สำหรับ “ไต” จะมีลักษณะคล้ายเม็ดถั่วเหลือง ขนาดราวกำปั้นหรือโตกว่าเล็กน้อย ทำหน้าที่เป็นเหมือนเครื่องกรองของเสียโดยขับออกมาเป็นปัสสาวะ มีหน้าที่สำคัญ ดังนี้
เลือกกินอะไรช่วยล้างพิษตับ
นอกจากนั้นอย่าลืมที่จะกินอาหารให้ครบ 5 หมู่หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงอย่างแอลกอฮอล์และมลพิษทางอากาศหรือสารพิษต่างๆ
จำแนกอาหารสำหรับผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ 3 ประเภท ได้แก่
1 อาหารบำบัดโรคตับอักเสบ ขณะที่ผู้ป่วยเบื่ออาหารอาจช่วยได้โดยให้อาหารเหลวแต่มีคุณค่ามาก เช่น อาหารที่ทำจากไข่ นม น้ำตาล ไอศครีม เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น จัดอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนให้
2 อาหารบำบัดโรคตับแข็ง แพทย์จะสั่งเพิ่มหรือลดปริมาณโปรตีนให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
3 อาหารบำบัดโรคมะเร็งตับช่วงแรก ควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากเนื้อสัตว์ บริโภคไขมันแต่น้อย เพื่อป้องกันภาวะแน่นท้อง ท้องอืด เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร หากมีอาการบวมน้ำ รับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทข้าว น้ำหวาน (เพิ่มได้ในรายที่ไม่เป็นเบาหวาน) ไม่ควรบริโภคธัญพืช ผักใบเขียวมากเกินไป เพราะจะเกิดอาการแน่นท้องมากขึ้น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการทางระบบประสาทควรปรึกษาแพทย์
เลือกกินอาหารอย่างไร ช่วยถนอมไต ชะลอโรค
สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรได้รับพลังงาน 35-40 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทั้งยังต้องการสารอาหารโปรตีนสูงกว่าคนธรรมดาประมาณ 1.2-1.3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ขณะที่คนทั่วไปควรได้รับโปรตีนวันละ 0.8-1.0 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งอาหารจำพวกโปรตีนที่แนะนำให้ผู้ป่วยทานควรเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์และไข่ขาวประมาณร้อยละ 60 เนื่องจากโปรตีนจากเนื้อสัตว์นั้นเป็นโปรตีนชนิดที่มีกรดอะมิโนครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย เนื้อสัตว์ที่ผู้ป่วยควรทานต้องเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมันเพื่อหลีกเลี่ยงไขมันที่มาจากสัตว์
ผู้ป่วยต้องการดื่มนมแทนเนื้อสัตว์ก็ได้ แต่ควรดื่มมชนิดพร่องมันเนยที่มีไขมันต่ำแทน นมสดพร่องมันเนย 1 แก้ว หรือ 240 มิลลิกรัม จะได้โปรตีน 8 กรัม และพลังงาน 120 กิโลแคลอรี่
อาหารจำกัดโซเดียม การจำกัดโซเดียมใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง
อาหารที่มีโซเดียมมาก
แนวทางปฏิบัติ
หลีกเลี่ยงการใช้น้ำปลา โดยอาจเติมซีอิ้วขาวเพียงเล็กน้อยแทน ไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาหรือเครื่องปรุงะไรจากอาหารที่ปรุงเสร็จเพราะในอาหารปกติที่ทานอยู่ก็จะมีโซเดียมอยู่มากพอสมควรแล้ว โดยเฉพาะอาหารทะเล นม ไข่
อาหารจำกัดโปแตสเซียม
เนื่องจากโปแตสเซียมถูกขับออกทางไต ไตเสื่อมทำให้เกิดการคั่งของโปแตสเซียม ผู้ป่วยไตวายมักจะมีการคั่งของโปแตสเซียม ถ้าระดับโปแตสเซียมสูงมาก อาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ หากต้องการรับประทานผลไม้ ควรรับประทานก่อนการฟอกเลือด การจัดอาหารให้มีโปแตสเซียมน้อย กระทำได้ยากกว่าการจัดให้มีโซเดียมน้อย เพราะธาตุโปแตสเซียมมีในอาหารทั่วไปทั้งสัตว์และพืช ต่างจากโซเดียมซึ่งมีมากแต่ในสัตว์ เช่น เนื้อ นม ไข่ อาหารที่มีโปแตสเซียมมาก
แนวทางปฏิบัติ
เมื่อผู้ป่วยต้องกินอาหารจำกัดโปแตสเซียม ต้องจำกัดอาหารทั้งพวกเนื้อสัตว์ พวกผัก และผลไม้ประเภทที่มีโปแตสเซียมสูงๆ โปแตสเซียมเป็นของต้องห้ามสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีภาวะโปแตสเซียมสูง จึงต้องมีการควบคุมการทานโปแตสเซียมให้น้อยลง
อาหารประเภทไขมัน
ไขมันเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและให้พลังงานสูง ไขมันจากอาหารมีทั้งชนิดที่ดี เช่น ไขมันไม่อิ่มตัว (น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว) และไขมันที่ไม่ดี เช่น ไขมันอิ่มตัว (น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิ ไขมันวัวหมูสามชั้น เนย ชีส) ถ้ารับประทานไขมันชนิดไม่ดีมากเกินจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือด และหัวใจตามมาได้อาหารไขมันสูงที่ควรหลีกเลี่ยง น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน หมูสามชั้น หนังหมู หนังไก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก ปู กุ้ง หอยนางรม เนย
อาหารฟอสฟอรัส
ฟอสฟอรัส เป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่มีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก ไตที่ปกติจะขับฟอสฟอรัสออกได้ แต่เมื่อมีไตเสื่อมการขับฟอสฟอรัสจะลดน้อยลง ทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้น ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมระยะที่ 3 – 5 หรือ ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง
ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ นม นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เนย คุกกี้ ขนมปัง ไอศกรีม นมถั่วเหลือง เครื่องดื่มชง และน้ำอัดลมเป็นต้น
การดื่มน้ำน้ำเปล่า ถือเป็นสิ่งที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคไตมากที่สุด แต่หากเป็นไตวายระยะสุดท้ายที่มีปัสสาวะออกลดลงหรือมีอาการบวม ต้องจำกัดน้ำดื่ม ไม่ให้เกิน 700 – 1,000 ซีซี ต่อวัน เพราะความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้ป่วยโรคไตในระยะท้ายนั้นจะลดลง อาจกระตุ้นอาการบวมน้ำและน้ำท่วมปอดได้
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยไตเรื้อรังควรพบแพทย์และกินตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดในปริมาณที่เหมาะสมเพราะร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตามอย่าขาดการออกกำลังกาย และรับประทานอาหารที่หลากหลายหลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูงไขมันสูง ลดการปรุงให้ได้มากที่สุดเพื่อชะลอโรคไตไม่ให้ลุกลามรุนแรงได้