การปรากฏตัวครั้งแรกในรอบปีของพระเอกหนุ่ม “อ๋อม อรรคพันธ์” หลังจากเข้ารับรักษาตัวเนื่องจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งบริเวณกล้ามเนื้อหัวใจ ทำเอาแฟนคลับส่งกำลังใจให้เจ้าตัวและหวังว่าจะได้เห็นผลงานการแสดงอีกครั้งในเร็ววัน ขณะที่หลายคนก็ตระหนักถึงเรื่องของสุขภาพมากขึ้น และโฟกัสไปที่ “โรคมะเร็งหัวใจ” ซึ่งมีโอกาสป่วยด้วยโรคนี้น้อยมาก หากเทียบกับสถิติของโรคมะเร็งอื่นๆ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก
สำหรับโรคมะเร็งหัวใจ (Cardiac Cancer หรือ Heart Cancer ) เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก ส่วนใหญ่พบว่าเป็นมะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่นอย่างเช่น ปอด เต้านม ลำไส้ เป็นต้น ซึ่งจะแพร่มาที่ผนังหัวใจด้านนอกและช่องเยื่อบุหัวใจ แต่มะเร็งที่เกิดในหัวใจเองมักเป็นในผนังชั้นกลาง จึงเป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือด หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ ที่เรียกว่า Angiosarcoma และ Rhabdomyo Sarcoma
ข้อมูลโดยกรมการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า โรคมะเร็งหัวใจ นับเป็นโรคร้ายที่สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่พบได้น้อยหรือเป็นโรคหายาก อีกทั้งยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่มีอาการผิดปกติที่มักสังเกตได้ ซึ่งจากสถิติพบผู้ป่วยมะเร็งหัวใจน้อยกว่า 2 ราย ต่อประชากร 100,000 รายต่อปี
ทั่วโลกพบผู้ป่วยมะเร็งหัวใจเพียง 1% เท่านั้น แต่ขณะเดียวกันอัตราการรอดชีวิตก็ต่ำด้วยเช่นกัน โดยพบอัตราการรอดชีวิตของจากผู้ป่วยมะเร็งหัวใจเพียง 3 ใน 10 คน
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เคยให้ข้อมูลว่า มะเร็งหัวใจส่วนใหญ่เกิดจากเซลล์ผนังหลอดเลือดที่เรียกว่า Angiosarcoma ส่วนที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจเรียกว่า Rhabdomyosarcoma ซึ่งมะเร็งหัวใจของทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ค่อยตอบสนองต่อการฉายแสงและยาเคมีบำบัด จึงต้องใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเอามะเร็งออกให้หมด
โรคมะเร็ง หัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
สำหรับอาการของ “มะเร็งหัวใจ” โดยทั่วไปไม่มีอาการเฉพาะ แต่เป็นอาการเช่นเดียวกับอาการของโรคหัวใจทุกโรค ร่วมกันกับอาการของโรคมะเร็งทุกๆ ชนิด
นายแพทย์จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ระบุว่า ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค รวมถึงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคที่แน่ชัด โดยอาการของมะเร็งหัวใจมักจะมาด้วยอาการเหล่านี้ ได้แก่
การตรวจวินิจฉัยมะเร็งหัวใจ
สำหรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งหัวใจทำได้โดยการตรวจประวัติทางการแพทย์ต่างๆ ที่สำคัญคือประวัติอาการของผู้ป่วย การตรวจสัญญาณชีพ การตรวจฟังเสียงเต้นของหัวใจด้วยหูฟัง การตรวจร่างกาย การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอคโคหัวใจ การตรวจสืบค้นอื่นๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
เช่น การตรวจภาพหัวใจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) และหรือเอ็มอาร์ไอ (MRI) การตรวจภาพและหลอดเลือดหัวใจด้วยการฉีดสีเข้าหลอดเลือดแดง (Cardiac angiography) และการตรวจก้อนเนื้อหรือรอยโรคด้วยการดูดเซลล์มาตรวจที่เรียกว่า การตรวจทางเซลล์วิทยา และ/หรือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
ทั้งนี้ การรักษาจะเป็นการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกให้หมดด้วยการผ่าตัดเปิดหัวใจโดยตรง (Open heart surgery) และรักษาต่อเนื่องด้วยการให้ยาเคมีบำบัดตามชนิดของแต่ละเซลล์มะเร็ง ซึ่งการรักษาร่วม ทั้งผ่าตัด การให้ยาเคมีบำบัด การฉายแสง จะขึ้นกับระยะของโรค ขนาดและชนิดของมะเร็ง อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป