สาร "ไซยาไนด์" เข้ามาเกี่ยวพันกับข่าวและคดีสะเทือนขวัญอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2566 เคสแรกคงหนีไม่พ้นวงแชร์มรณะ "แอม ไซยาไนด์" ที่ก่อเหตุวางยาเหยื่อ 15 ราย ในพื้นที่ 8 จังหวัด มาตั้งแต่ปี 2558 ก่อนเรื่องจะแดงขึ้นในปี 2566
ต่อมาเมื่อช่วงปลายปี 2566 ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ได้โพสต์เรื่องราวเตือนเป็นอุทาหรณ์ เมื่อหนูน้อยเผลอดื่มน้ำยาล้างเครื่องเงิน ที่ผสม "ไซยาไนด์" อาการวิกฤต แต่สุดท้ายโชคดีรอดชีวิตมาได้ เนื่องจากได้รับยาต้านพิษได้ทันท่วงที
นอกจานี้ยังมีคดีการเสียชีวิตปริศนาของ "พริตตี้โยโกะ" พริตตี้ตัวแม่แห่งมอเตอร์โชว์ เมื่อ 2 พ.ย. 2566 ผลชันสูตรออกมาพบว่า "ไซยาไนด์" ในร่างกาย ครอบครัวคาใจในหลายประเด็น ไม่เชื่อลูกปลิดชีพตัวเอง สงสัยแฟนหนุ่มที่ใกล้ชิดอาจจะมีส่วนในการเสียชีวิต เพราะพบพิรุธหลายอย่าง
ล่าสุด คดีการเสียชีวิตของชาวเวียดนาม 6 ศพ ในโรงแรมหรูกลางกรุงเทพ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นพบว่า มีสารไซยาไนด์ ในร่างของผู้เสียชีวิต
ทำความรู้จัก "ไซยาไนด์"
ไซยาไนด์ (Cyanide) เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง สารนี้อยู่ในหลายรูปแบบ ทั้งในรูปของแข็ง ของเหลว แก๊ส เช่น Hydrogen Cyanide, Potassium Cyanide, Sodium Cyanide
ทั้งนี้ มีการนำไซยาไนด์มาใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การสกัดแร่ ผลิตกระดาษ พลาสติก หนังเทียม
นอกจากนี้ ไซยาไนด์ ยังพบในพืชบางชนิด เช่น มันสำปะหลังดิบ หน่อไม้สด และถั่วบางชนิด ซึ่งหากนำมารับประทานแบบดิบในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการพิษจากไซยาไนด์ สารนี้หากมีการปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์ จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ไซยาไนด์ ยังเป็นสารที่สามารถพบได้ในบุหรี่ งานวิจัยพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วระดับของไซยาไนด์ในเลือดของผู้ที่สูบบุหรี่นั้นมีค่าสูงกว่าคนไม่สูบถึง 2.5 เท่า
ไซยาไนด์ มี 3 รูปแบบ
อาการของผู้ได้รับ "ไซยาไนด์"
อาการของผู้ได้รับ ไซยาไนด์ ขึ้นอยู่กับปริมาณ ซึ่งหากได้รับปริมาณน้อยอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่ได้สารพิษจะมีอาการปวดหัว การรับรสผิดปกติ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดท้อง และกระวนกระวาย การสูญเสียการมองเห็น โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
การสะสมของสารไซยาไนด์จากการรับประทานพืชบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไป เช่น มันสำปะหลัง ทำให้มีอาการชา สูญเสียการทรงตัว สูญเสียการได้ยิน ประสาทตาฝ่อ ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยการรับประทานวิตามิน B12
อาการของผู้ที่ได้รับไซยาไนด์ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สัมผัสกับสารพิษ และความปริมาณของสารพิษที่ได้รับ จะมีอาการ ดังนี้
ส่วนภาวะเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับไซยาไนด์เข้าไปในปริมาณมาก อาการมักจะเกิดขึ้นในทันที เริ่มจากปวดศีรษะ ใจสั่น หน้าแดง หายใจติดขัด ชัก วูบหมดสติ หยุดหายใจ และอาจมีภาวะหัวใจหยุดเต้นได้ภายในเวลา 10 นาที สังเกตสีบริเวณผิวหนังและเยื่อบุจะแดงคล้ายคนปกติ ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะมีภาวะหยุดหายใจก็ตาม
วิธีการปฐมพยาบาล หากสัมผัส "ไซยาไนด์"
ผู้สัมผัสกับไซยาไนด์ทางผิวหนัง
หากไซยาไนด์หกรดลงบนเสื้อผ้า
ผู้สัมผัสไซยาไนด์ทางดวงตา
ผู้ได้รับไซยาไนด์ผ่านการสูดดม หรือผ่านการรับประทานอาหาร
ทั้งนี้ ผู้กู้ชีพไม่ควรทำการผายปอด หรือเป่าปากโดยเด็ดขาดเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับไซยาไนด์ ระหว่างรอการช่วยเหลือทางการแพทย์ ให้ทำการกู้ชีพอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูล และอาการของผู้ป่วยให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
การรักษาพิษจาก ไซยาไนด์
การแก้พิษนั้่น ทำได้โดยแพทย์เท่านั้น โดยการให้ยา thiosulfate ร่างกายจะเปลี่ยนไซยาไนด์ เป็น thiocyanate ซึ่งไม่เป็นพิษและขับออกทางปัสสาวะได้ หรือให้สาร hydrocobalamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินบี 12 เพื่อเปลี่ยนเป็น cyanocobalamine ขับออกทางปัสสาวะเช่นกัน และบางส่วนขับออกทางการหายใจ เหงื่อ และปัสสาวะ การช่วยคนถูกพิษไซยาไนด์จึงห้ามช่วยหายใจแบบ mouth-to-mouth เพราะอาจได้รับพิษด้วย
นอกเหนือจากการรักษามาตรฐานผู้ถูกพิษแล้ว รวมถึงการให้ activated charcoal หากได้รับทางการกิน สามารถให้ยาแก้พิษ (Antidote) ได้เลยโดยไม่รอผลตรวจระดับไซยาไนด์ในเลือด ซึ่งคือยาฉีด Hydroxocobalamin คู่กับยาฉีด Sodium thiosulfate เป็นตัวเลือกแรก และยาฉีด Sodium nitrite เป็นตัวเลือกที่สองโดยยังมีโอกาสรอดชีวิตน้อย
หลังได้ยา Hydroxocobalamin มีผลข้างเคียง เปลี่ยนสีผิวหนัง เลือด และปัสสาวะเป็นสีแดง 2-3 วัน และการให้ sodium nitrite ทำให้เกิด methemoglobin ในร่างกายเพื่อแย่งจับกับตัวออกฤทธิ์ของสารไซนาไนด์ มีพิษเช่นกันแต่น้อยกว่า ทำให้ความดันโลหิตตก ชีพจรเร็ว ปวดเมื่อยตัว คลื่นไส้ เรียกว่าใช้พิษต้านพิษก็ไม่ผิดนัก
การสัมผัสกับไซยาไนด์เป็นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากไซยาไนด์เป็นสารเคมีที่มีพิษรุนแรง ดังนั้น การรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง และการนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด สามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตได้