18 มกราคม 2568 ความคืบหน้าเหตุไฟไหม้บ่อขยะเอกชน ในเขตเทศบาลบางปู จ.สมุทรปราการ โดยวันนี้ กองบัญชาการกองทัพไทย ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ และ กรมการปกครองพื้นที่เมืองสมุทรปราการ หน่วยงานด้านสาธารณสุข ร่วมกันลงพื้นที่ เพลิงไหม้บ่อขยะ ภายในซอยเทศบาลบางปู 37 (ชำนิ) อุ่นอารี ต.ท้ายบ้านใหม่ สมุทรปราการอ.เมืองสมุทรปราการ หลังเกิดลุกไหม้ตั้งแต่ 02.00 น. เมื่อวันที่ (17 ธ.ค.68)
ขณะนี้ ผลกระทบที่เกิดขึ้นยังส่งผลเป็นบริเวณกว้าง ลมเปลี่ยนทิศทางตลอดเวลา และขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ค่ามลพิษเกินเกณฑ์มาตรฐาน กระทบชาวบ้าน เริ่มแสบตา เเสบคอ เเสบมูก ตาเเห้ง กระทบต่อการหายใจ ขณะนี้ ทางจังหวัดยังระดมดับเพลิงเข้าควบคุมสถานการณ์กลุ่มควัน ที่เกิดจากการปะทุใต้บ่อขยะ ชาวบ้านต้องสวมใส่หน้ากากอนามัย กันแทบจะทุกหมู่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบ
จากการตรวจสอบฝุ่นละออกขนาดเล็ก PM 2.5 พบว่า เกินค่ามาตราฐานเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน อยู่ในระดับสีเเดง ค่าดัชนี ฝุ่นละอองขนาดเล็กอยู่ที่ 156-174 ไมโครกรัม/ลบ.ม.
ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ เปิดเผยว่า ไม่กล้าย้ายออกไป เพราะกลัวสะเก็ดไฟ กระเด็นเป็นลูกๆ ตกใส่หลังคา กลัวไฟจะบ้าน
ขณะที่ นายวัฒนา เจริญจิตร นายอำเภอเมืองสมุทรปราการ นำเจ้าหน้าที่ ใช้โดรนบิน เพื่อดูจุดที่เพลิงไหม้ เพื่อสำรวจจุดความร้อน โดยเจ้าหน้าที่ที่บินสำรวจ ระบุว่า แนวโน้มจุดที่เกิดเพลิงไหม้ มีสารเคมีอะไรบางอย่าง และ มีพลาสติก ประเมินว่ามีโอกาสที่จะปะทุ อาจจะต้องใช้รถจาณ์ไว้ เป็นสัปดาห์ หล่อเลี้ยงน้ำ จะใช้โป๊ะ เพื่อให้เเบคโฮเข้าไป คาดใช้เวลาถึง 3 วัน ในการควบคุมให้สนิท
นายอำเภอเผยว่า ยังพบว่ามีจุดความร้อน แนวโน้มดีขึ้น เเต่ยังคงต้องเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ จะเร่งดำเนินการเพื่อให้ พร้อมประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูเเลผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ขณะที่ นายวัฒนา สาคร หน.สนง.ปภ.สมุทรปราการ เปิดเผยส่า ขณะนี้ ยังเป็นภัยระดับจับหวัด ทางจังหวัดเป็นผู้บัญชาเหตุการณ์ มั่นใจว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ล่าสุดยังใช้รถพ่นน้ำจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ส่วนการให้ความช่วยเหลือประชาชน เทศบาลบางปู ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนอพยพไปยังจุดพักพิงที่จัดไว้
นายศุภมิตร ชิณศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า สำหรับไฟไหม้บ่อขยะ ทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้ง PM10 PM2.5 และก๊าซพิษอื่นๆ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรเจนคลอไรด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ สารไดออกซินและฟูแรน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอันตรายต่อสุขภาพ และอาจมีน้ำเสียจากการดับไฟไหล ลงพื้นที่ใกล้เคียงหรือแหล่งน้ำสาธารณะ ส่งผลให้คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อม