svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

"หมัดน้ำ" หนึ่งวิธีบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ ช่วยดูดซับสารพิษ 

หมัดน้ำ เปรียบเสมือนเครื่องดูดฝุ่นชีวภาพ สำหรับทำความสะอาดแหล่งน้ำ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่สามารถกำจัดมลพิษออกจากน้ำได้ทั้งหมด น้ำที่ถูกบำบัดยังมีสารเคมีตกค้างอยู่ สารตกค้างเหล่านั้นยังคงอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างมลพิษให้กับอาหารและน้ำดื่ม

นักวิจัยเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่หมัดน้ำจะมีส่วนเข้ามาปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากพวกมันมีความสามารถในการปรับตัวและมีชีวิตรอดในน้ำเสียได้ อีกทั้งยังควบคุมจำนวนประชากรของพวกมันเองได้ตามสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำ การบำบัดน้ำเสียด้วยหมัดน้ำมีประสิทธิภาพและยังมีราคาถูก

\"หมัดน้ำ\" หนึ่งวิธีบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ ช่วยดูดซับสารพิษ 

หมัดน้ำ เป็นแพลงก์ตอนสัตว์ในสกุล Daphnia ซึ่งมีขนาดเล็กมากประมาณ 0.4 - 1.8 มิลลิเมตร พบได้ในน้ำจืดทั่วโลก จากศึกษาวิจัยของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมในสหราชอาณาจักร พบว่า หมัดน้ำ หรือ Daphnia สามารถบำบัดน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนเครื่องดูดฝุ่นที่ทำความสะอาดน้ำให้สะอาด

หมัดน้ำ สามารถกำจัดและกรองสารเคมีในน้ำได้ เช่น ไดโคลฟีแนคได้, สารหนู, อะทราซีน และกรองสาร PFOS ได้ถึง 50% สามารถบำบัดน้ำเสีย โดยเฉพาะการกรองสารตกค้างจากยาฆ่าแมลง และสารเคมีจากโรงงานอุตสาหกรรมออกจากน้ำได้ ทำให้แหล่งน้ำมีความปลอดภัยมากขึ้น

งานวิจัยนี้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Science of the Total Environment ซึ่ง Karl Dearn หนึ่งในทีมวิจัยเผยว่า หมัดน้ำเปรียบเสมือนเครื่องดูดฝุ่นชีวภาพสำหรับทำความสะอาดแหล่งน้ำ ซึ่งที่ผ่านมาโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่สามารถกำจัดมลพิษออกจากน้ำได้ทั้งหมด น้ำที่ถูกบำบัดยังมีสารเคมีตกค้างอยู่ และมักถูกปล่อยลงตามแม่น้ำ ลำคลอง ซึ่งน้ำที่ได้ยังมีสารตกค้างเหล่านั้นยังคงอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างมลพิษให้กับอาหารและน้ำดื่ม

\"หมัดน้ำ\" หนึ่งวิธีบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ ช่วยดูดซับสารพิษ 

นักวิจัยเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่หมัดน้ำจะมีส่วนเข้ามาปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากพวกมันมีความสามารถในการปรับตัวและมีชีวิตรอดในน้ำเสียได้ อีกทั้งยังควบคุมจำนวนประชากรของพวกมันเองได้ตามสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำ การบำบัดน้ำเสียด้วยหมัดน้ำมีประสิทธิภาพและยังมีราคาถูก และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย

\"หมัดน้ำ\" หนึ่งวิธีบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติ ช่วยดูดซับสารพิษ 

ขอขอบคุณที่มา:  The Guardian