ในช่วงก่อนหน้านี้ เรา-เคยดีใจไปกับการค้นพบที่น่าทึ่งของหนอนที่สามารถกินพลาสติกและย่อยสลายได้ ซึ่งพอจะทำให้เราชุ่มชื้นหัวใจ ว่าพลาสติกยังมีวิธีการกำจัดที่เป็นดีต่อโลกได้ โดยไม่ต้องรีไซเคิล
แต่ล่าสุด เราค้นพบวิธีใหม่ที่จะทำให้มนุษย์สามารถรับผิดชอบกับขยะของตัวเองได้ “ด้วยการกิน” Eleonora Ottolani ออร์โตลินี นักศึกษาปริญญาโท สาขา Material Futures จากโรงเรียนออกแบบ Central Saint Martins ต้องการทำโปรเจกต์จบของเธอ
ออร์โตลินี สังเกตเห็นว่า เพื่อน ๆ นักออกแบบของเธอใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิตผลงานผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้ว ผลงานนั้นก็ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกต่อไป เนื่องจากพลาสติกมักจะถูกหลอมด้วยเรซิน หรือวัสดุอื่น ๆ
ดังนั้น เธอจึงมองหาวิธีที่แตกต่างออกไปในการผลิตผลงาน ว่ามีวิธีใดบ้างที่มนุษย์จะสามารถกินพลาสติกและกำจัดมันทิ้งไปตลอดกาลได้
ออร์โตลานี ทำงานร่วมกับ Hamid Ghoddusi ผู้นำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารของ London Metropolitan University และ Joanna Sadler นักวิทยาศาสตร์การวิจัย ซึ่งทีมงานของมหาวิทยาลัย Edinburgh
เพื่อนำพลาสติกจำนวนเล็กน้อยมาลองย่อยสลายในห้องแล็บ แล้วเปลี่ยนมันให้กลายมาเป็นวานิลลิน โมเลกุลของรสชาติวานิลลา และเมื่อเธอนึกถึง วานิลลา สิ่งที่เธอนึกถึงต่อมาคือไอศกรีม ของหวานที่เธอชื่นชอบ
ในที่สุดพวกเขาก็ทำมันได้ โดยใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อสังเคราะห์วานิลลินออกจากพลาสติก แต่ผลงานนี้ยังไม่สามารถทานได้ และยังไม่เคยมีใครได้ลิ้มลองเลยสักครั้ง แม้จะเป็นเจ้าของอย่างออร์โตลินีเองก็ยังไม่เคยได้ลิ้มลอง
ปกติแล้ว วานิลลินสังเคราะห์มีขายให้บริโภคได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาเก็ตอยู่แล้ว เนื่องจากมีราคาถูกกว่าวานิลลินธรรมชาติ ซึ่งวานิลลินสังเคราะห์มักจะผลิตจากน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก
ออร์โตลานีอธิบายว่า
พวกเธอได้ออกแบบเอนไซม์ที่จะใส่ไว้ในแบคทีเรีย E.coli เพื่อให้สามารถตัดการเชื่อมโยงโมเลกุลของพลาสติก อันเป็นหนึ่งในกระบวนการเผาผลาญของมัน จากนั้นก็ใช้เอนไซม์อีกตัวหนึ่งสังเคราะห์โมเลกุลที่ไม่ได้เชื่อมโยงกัน กลั่นออกมาให้เป้นวานิลลิน
ดังนั้น เมื่อเอนไซน์ตัวแรกไม่มีการเชื่อมโยง มันก็จะไม่ใช่พลาสติกอีกต่อไป และมันจะกลายเป็นโมโนเมอร์ เธอได้จำลองกระบวนการสังเคราะห์ที่ได้รับสิทธิบัตรในนามนักวิทยาศาสตร์ ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด จากการทดลองเธอได้สารที่ให้กลิ่นเหมือนวานิลลาทุกประการ
แม้ว่า โมเลกุลที่ค้นพบนี้ จะมีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมาะกับวานิลลาสังเคราะห์ทุกประการ แต่ก็ถือว่าทั้งหมดนี้คือส่วนผสมใหม่ที่จะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหาร และนักวิทยาศาสตร์ไม่แนะนำให้เธอชิมจนกว่าจะผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้วมีประกาศออกมาว่า กินได้อย่างปลอดภัย
และเพราะกินไม่ได้ ออร์โตลินีจำเป็นที่จะต้องโชว์มันไว้เฉย ๆ ในตู้เย็นที่ถูกล็อกไว้ในนิทรรศการบัณฑิตศึกษาของ CSM และหวังว่าโครงการของเธอจะเริ่มบทสนทนาที่น่าสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงในยุคที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง