ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา เกิด "ปรากฏการณ์ลานีญา" อย่างต่อเนื่อง กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ค่าเฉลี่ยปกติของความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง (mslp) และฝนรายเดือน 6 เดือน ล่วงหน้า (ก.ค.-พ.ย.2566) ยังคงต้องติดตามความกดอากาศสูงจากซีกโลกใต้ ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบต่อฝนบริเวณประเทศไทย โดยเฉพาะภาคใต้ ฤดูฝนดูจะสั้นลง ช่วงเดือน ต.ค.66 ปีนี้ ฝนหายไปเร็ว อาจจะเนื่องด้วย "ปรากฏการณ์เอลนีโญ" เริ่มแรงขึ้น ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพฝนในปีนี้
ทำความรู้จัก ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” กับ “ลานีญา” แตกต่างกันอย่างไร
เอลนีโญ ในภาษาสเปน คำว่า เอลนีโญ (el niño) หมายถึง เด็กชาย หากเกิดเอลนีโญ ปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เอลนีโญมีขนาดรุนแรง ผลกระทบดังกล่าวจะชัดเจนมากขึ้น
ลานีญา ในภาษาสเปน คำว่า ลานีญา (La Niña) หมายถึง เด็กผู้หญิง ในปีลานีญา ปริมาณฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่สูงกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนเป็นระยะที่ลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยชัดเจนกว่าช่วงอื่น และพบว่าในช่วงกลางและปลายฤดูฝนลานีญามีผลกระทบต่อสภาวะฝนของประเทศไทยไม่ชัดเจน สำหรับอุณหภูมิปรากฏว่า ลานีญามีผลกระทบต่ออุณหภูมิในประเทศไทยชัดเจนกว่าฝน โดยทุกภาคของประเทศไทยมีอุณหภูมิต่ำกว่าปกติทุกฤดู และพบว่าลานีญาที่มีขนาดปานกลางถึงรุนแรงส่งผลให้ปริมาณฝนของประเทศไทยสูงกว่าปกติมากขึ้น ขณะที่อุณหภูมิต่ำกว่าปกติมากขึ้น
อ่านข่าวสิ่งแวดล้อม "รักษ์โลก" ที่เกี่ยวข้อง >>
เตือน "เอลนีโญ" เสี่ยงทำเศรษฐกิจโลกเสียหายยาวถึง 2029
ความน่าจะเป็นที่จะเกิดปรากฎการณ์เอลนีโญ ทะลุ 90% เเละคาดว่าจะลากยาวถึงอย่างน้อย มี.ค. ปี 2567 เป็นสัญญาณเตือนให้ต้องเตรียมรับมือสภาพอากาศที่มีแนวโน้มร้อนและแล้งกว่าปกติซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค สัญญาณนี้จะเริ่มชัดเจนตั้งแต่ ต.ค. ปีนี้เป็นต้นไป
นักวิทยาศาสตร์จากองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า ปรากฏการณ์ "เอลนีโญ" เริ่มขึ้นแล้ว หลังจาก 3 ปีที่ผ่านมาเกิดปรากฏการณ์ลานีญามาอย่างต่อเนื่อง
ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า เอลนีโญ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้นทะลุ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ถือว่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นระดับนี้เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมอย่างหนัก เกิดภัยแล้ง ไฟป่า และเกิดการขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง
แต่สำหรับความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกคาดว่าจะมีถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปจนถึงปี 2029 นี่คือข้อมูลที่อ้างอิงจากการศึกษาใน วารสารวิทยาศาสตร์ ที่บอกว่า
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว แม้ว่าปรากฏการณ์จะผ่านพ้นไปแล้ว โดยวิเคราะห์จากสถานการณ์หลังเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ในปี 1982-1983 ในช่วง 5 ปีหลังจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทั่วโลกสูญเสียรายได้ 4.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ในปี 1997-1998 ทั่วโลกสูญเสียรายได้ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
เอลนีโญ คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร
จะเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยทุก ๆ 2-7 ปี เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น
ปรากฏการณ์เอลนีโญ สำหรับประเทศไทยเจอแน่ แม้จะมีกำลังอ่อน แต่ก็ควรเตรียมรับมือกับ “ภัยแล้ง” ที่จะมาถึงในปีนี้ให้ดี ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอาหาร เพราะอาจจะทำให้ปริมาณผลผลิตลดลง
ที่ผ่านมา กรมชลประทาน ได้เตรียมแผนรับมือลดผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง เฝ้าระวัง ติดตาม ประเมินสถานการณ์ เพื่อวิเคราะห์และปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญให้เร่งเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุด
ติดตามอ่านข่าวสิ่งแวดล้อมในหมวด "รักษ์โลก" ที่เกี่ยวข้อง >>
ขอขอบคุณที่มา : ฐานเศรษฐกิจ และข้อมูลดีๆ จาก : theverge
Supplementary Materials for Persistent effect of El Nino on global economic growth