หน่วยของสังคมที่เล็กที่สุด คือ “บ้าน” ลองคิดดูว่าถ้าทุกบ้านเปิดแอร์พร้อมกันจะเกิดอะไรขึ้น? คำถามชวนคิดวนไปถึงความร้อน ความเย็น บ้านเย็น โลกร้อน กลายเป็นการค้นหาแนวทางง่ายๆ ที่ทุกบ้านสามารถทำได้ ไม่ใช่การปิดแอร์ งดใช้ แต่หากทำความเข้าใจในเรื่องที่เราจะอธิบายต่อไปนี้ โลกร้อนก็จะไม่ร้อนมากขึ้น
อุตสาหกรรมการทำความเย็นมีความสำคัญมาก แต่ก็สร้างมลพิษกับโลกได้อย่างเหลือเชื่อ โดยคิดเป็นประมาณ 10% ของการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก นั่นคือ 3 เท่าของจำนวนที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมการบินและการขนส่งรวมกัน ดังนั้น ในสเกลอุตสาหกรรมจนถึงบ้านเรือน สารทำความเย็นจึงมีบทบาทสำคัญในระบบปรับอากาศและทำความเย็น ในขณะที่อุณหภูมิทั่วโลกยังคงสูงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ความต้องการในการระบายความร้อนก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ในอดีต นักเคมีได้คิดค้นหาสารทำความเย็นที่ระเหยได้เร็ว มีค่าความร้อนแฝงสูง เพื่อจะได้ความเย็นในเวลาที่รวดเร็ว จนพบว่าสารที่ประกอบด้วย คาร์บอน, ฟลูออรีน, คลอรีน และไฮโดรเจน มีคุณสมบัตินั้น จึงได้มีการสังเคราะห์สารทำความเย็น (Refrigerant) ออกมา หรือที่เราเรียกกันว่า “น้ำยาแอร์” ที่มีชื่อเรียกต่างๆ ตามองค์ประกอบที่ต่างกัน เช่น R11, R12, R22, R502 โดย R11, R12 มีใช้อยู่ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ รวมถึงรถยนต์ ,R-22 ใช้ในเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก และ R-502 ที่ใช้ในเครื่องเย็น
ต่อมามีการพบว่าสารเหล่านี้ ก่อให้เกิดปัญหากับโอโซนในชั้นบรรยากาศซึ่งห่อหุ้มโลกนี้ให้พ้นจากรังสีอุลตราไวโอเลต หรือ “Greenhouse” ที่เป็นชั้นก๊าซที่ทำหน้าที่กักเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ ที่สะท้อนผิวโลกขึ้นมา ทำให้ดาวเคราะห์ที่เรียกว่า "โลก" มีสิ่งที่มีชีวิตอาศัยอยู่ได้อย่างเป็นสุข
เมื่อมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่มากจนเกินไป ทำให้แสงอาทิตย์ที่เข้ามายังโลกสะท้อนกลับ ออกไปสู่นอกโลกได้น้อยลง หรือ Green house Effect ก๊าซเรือนกระจกไม่ได้เกิดขึ้นจากธรรมชาติที่สามารถสลายตัวเองได้ จึงทำให้เกิดการกักเก็บความร้อนที่มากจนเกินไป จนเป็นที่มาของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความตระหนักในเรื่องนี้ จึงเกิดข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า Montreal Protocal เพื่อจำกัดปริมาณการใช้สารทำความเย็นเหล่านี้ โดยเฉพาะสารที่มีองค์ประกอบของคลอรีน (Cl),ฟลูออรีน (F)และคาร์บอน (C) หรือที่เรียกกันว่า CFC เนื่องจากน้ำยาแอร์ตัวนี้สามารถตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศได้ยาวนาน ในขณะเดียวกันก็จะทำลายโอโซนไปได้เรื่อยๆ รวมถึงปัญหา climate change หรือการเกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศนั้น
เหล่านักวิจัยจึงมีการคิดค้นน้ำยาแอร์รุ่นใหม่เพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง ชะลอการเกิดภาวะโลกร้อน จากการใช้สาร CFC และ HCFs (Hydrochlorofluorocarbons) ในการผลิตเครื่องปรับอากาศและตู้เย็น จึงได้นำสาร HFCs (Hydrofluorocarbons) มาใช้ทดแทน ทว่า ถึงแม้ HFCs จะปลอดคลอรีนและมีผลต่อชั้นบรรยากาศเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่สารดังกล่าวกลับมีอานุภาพในการดูดความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 1,000 เท่า ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้อากาศร้อนในโลกขึ้น และเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นไปได้อย่างสอดคล้อง ฝั่งของอุตสาหกรรมเครื่องเย็นจึงมีการผลิตอุปกรณ์ใหม่ๆ เพื่อรองรับกับน้ำยาแอร์ตัวใหม่ด้วย เช่น เครื่องปรับอากาศระบบ invertor นอกจากจะช่วยวิกฤตของโลกแล้ว ยังช่วยให้ผู้ใช้งานประหยัดไฟเพิ่มขึ้นด้วย
... การล้างแอร์ ช่วยลดโลกร้อนได้หรือไม่?
หากตระหนักเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อนและมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการเกิดมลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่กำลังประสบปัญหามาอย่างต่อเนื่อง การใช้เครื่องปรับอากาศที่ด้อยประสิทธิภาพขาดการดูแลไม่ได้ทำความสะอาดเป็นเวลานานอาจทำให้มีฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปอุดตัน กลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนหมั่นดูแลเครื่องปรับอากาศ ล้างเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการและยืดอายุการใช้งานของแอร์ ช่วยให้แอร์สามารถระบายความร้อนและทำความเย็นได้ดียิ่งขึ้น ประหยัดไฟมากขึ้น มีส่วนช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศ ลดการสะสมของเชื้อโรค ช่วยฟอกอากาศให้สะอาด ลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ พร้อมช่วยลดโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกด้วย
... ล้างทุก 6 เดือน VS ล้างตอนแอร์ไม่เย็น แบบไหนถูกต้อง?
ล้างแอร์ทุก 6 เดือน : เป็นช่วงเวลามาตรฐานที่แนะนำ เพราะเมื่อใช้ไปสักระยะ พัดลมแอร์จะเริ่มมีฝุ่นเกาะจนทำให้ลมไม่สามารถพัดออกมาได้ ซึ่งนอกจากการล้างแอร์จะช่วยกำจัดฝุ่น ทำให้แอร์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่เป็นแหล่งสะสมของเหล่าเชื้อโรคแล้ว ยังช่วยยืดอายุการใช้งาน ที่สำคัญช่วยประหยัดค่าไฟได้ถึง 10% ทีเดียว
ล้างตอนแอร์ไม่เย็น : หลังจากที่ผ่านไปเกิน 6 เดือนแล้ว ก็ยิ่งสะสมฝุ่นละอองมากขึ้น ส่งผลกระทบทั้งตัวแอร์และสุขภาพของตัวเราอีกด้วย
...รู้หรือไม่ ? การเปิดแอร์ขนาด 12,000 บีทียู/ชม. ใช้กำลังไฟฟ้า 950 วัตต์ หากใช้งานตลอด 9 ชม. ในสภาพอากาศร้อน จะใช้ไฟมากถึง 133.38 หน่วยต่อเดือน
... หน้าร้อนแอร์ทำงานหนักต้องใช้งานอย่างไรให้ประหยัดไฟ?