svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

ส่องปัจจัยเสี่ยงต่อ "ค่าเงินบาท" มีอะไรบ้าง

25 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แบงก์กรุงศรีอยุธยาประเมินเงินบาทสัปดาห์หน้าเคลื่อนไหวในกรอบ  34.90-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จับตาความเห็นของเจ้าหน้าที่เฟด-ตัวเลข PCE สหรัฐฯ-ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อทิศทางเงินบาทมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

น.ส. รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยกับ Nation Online ว่า  ค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า ให้กรอบ 34.90-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐติดตามความเห็นเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดเพิ่มเติม ตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพ.ค.ของไทย และราคาค่าใช้จ่ายบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนพ.ค.ของสหรัฐฯ ทั้งนี้ยังมองสิ้นปีนี้อยู่ที่ระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ บนสมมุติฐานเฟดใกล้ยุติวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น  

ปัจจัยเสี่ยงต่อทิศทางค่าเงินบาท

- เศรษฐกิจจีนที่ฟื้นช้ากว่าคาด

- การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในไทยขาดความชัดเจน

ส่องปัจจัยเสี่ยงต่อ \"ค่าเงินบาท\" มีอะไรบ้าง

ส่วนการเคลื่อนไหวของสกุลเงินในภูมิภาค ตั้งแต่ 1 มิ.ย.-23 มิ.ย. พบว่า ริงกิต-มาเลเซียอ่อนค่ามากสุด 1.33%  รองลงมาเป็นบาท-ไทย 1.23%  หยวน-จีน 0.99% ดอลลาร์-ไต้หวัน 0.52% ดอง-เวียดนาม  0.13%

ขณะที่สกุลเงินที่แข็งค่าคือ วอน-เกาหลีใต้  1.80% เปโซ-ฟิลิปปินส์  0.97% รูปี-อินเดีย 0.84% ดอล ลาร์-สิงคโปร์  0.19%  รูเปียห์-อินโดนีเซีย 0.05%  โดยภาพรวมสกุลเงินภูมิภาคผสมผสาน มีทั้งแข็งค่าและอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม เดือนนี้ต่างชาติขายหุ้นไทย 9.7 พันล้านบาท มียอดขายพันธบัตรสุทธิ 2.3 หมื่นล้านบาท โดยเกิดจากตราสารครบอายุเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำตลาดโลกดิ่งลงสู่จุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 เดือนเช่นเดียวกับเงินบาทที่อ่อนค่าหลุด 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ  ส่วนบอนด์ยิลด์ของกลุ่มเศรษฐกิจชั้นนำดีดตัวสูงขึ้น โดยตลาดไม่แน่ใจว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 1-2 ครั้งในปีนี้หรือไม่ ท่ามกลางเงินเฟ้อพื้นฐานที่ลดลงช้า

ส่องปัจจัยเสี่ยงต่อ \"ค่าเงินบาท\" มีอะไรบ้าง

น.ส.กาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า  กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้าอยู่ที่  34.85-35.55 บาทต่อดอลลาร์ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของประธานและเจ้าหน้าที่เฟด ทิศทางเงินทุนต่างชาติ สถานการณ์การเมืองเครื่องชี้เศรษฐกิจและตัวเลขการส่งออกเดือนพ.ค.ของไทย

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ รายได้และการใช้จ่ายส่วนบุคคล อัตราเงินเฟ้อที่วัดจาก PCE/Core PCE Price Index เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองของผู้บริโภคเดือนมิ.ย. ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 1/66 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี PMI เดือนมิ.ย. ของจีนด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมาเงินบาทแตะระดับ 35.28 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง  ก่อนจะกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 35.21 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามทิศทางสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาค หลังเงินดอลลาร์ฯแข็งค่าขึ้นท่ามกลางแรงหนุนจากสัญญาณคุมเข้มนโยบายการเงินของเฟด

ซึ่งสะท้อนว่า เฟดอาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือของปีหากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวได้สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของเฟด 

 

logoline