นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลงและเจอกับความท้าทายรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามการค้า สงครามทางเทคโนโลยี หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องรับมือและปรับตัวโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินต่อไปได้อย่างแข็งแกร่ง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมจับมือกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ด้วยการสานต่อการดำเนินงานในวาระปี 2567-2569 ภายใต้นโยบาย “ONE FTI” (ONE Vision, ONE Team, ONE Goal) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม (First Industries) ประกอบด้วย 47 กลุ่มอุตสาหกรรม (11 คลัสเตอร์) 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด (5 ภาค/คลัสเตอร์จังหวัด) ไปพร้อมๆ กับการยกระดับสู่อุตสาหกรรมใหม่หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต (Next-GEN Industries) ที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curves) การพัฒนาอุตสาหกรรมด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG รวมทั้งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศด้านสังคม เศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความร่วมมือไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายเดียวกันในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมไทย เพื่อประเทศไทยที่เข้มแข็งกว่าเดิม ซึ่งถือเป็นวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานวาระนี้
ทั้งนี้ การดำเนินงานของ ส.อ.ท. มีการวางยุทธศาสตร์ไว้ 5 ด้าน คือ 1. Industry Collaboration ผนึกกำลังอุตสาหกรรมไทยให้เข้มแข็ง 2. First 2 Next-Gen Industry ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคต 3. Smart SMEs ยกระดับ SMEs สู่สากล 4. Smart Service Platform พัฒนาการบริการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทย และ 5. Sustainability, Achieve ESG ส่งเสริมอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน
จากผลการดำเนินงานในรอบปี 2567 ในส่วนของ Industry Collaboration ส.อ.ท. ได้ผลักดันข้อเสนอเชิงปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรม 8 ด้าน อาทิ จัดทำข้อเสนอเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทย (Position paper) เพื่อมอบให้กับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลนำไปเป็นกรอบการทำงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทย ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมจังหวัดในลักษณะ 1 อุตสาหกรรม 1 จังหวัด อาทิ โครงการส่งเสริม Modular House โครงการศึกษาการใช้ประโยชน์หินฝุ่นจากโรงโม่ โครงการการจัดการความปลอดภัยทางอาหารตลอดซัพพลายเชน และโครงการความร่วมมือการใช้ของที่ระลึกจากกลุ่มอุตสาหกรรมหัตถกรรมสร้างสรรค์ เพื่อช่วยผู้ประกอบการเพิ่มศักยภาพในการผลิตและต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่ายิ่งขึ้น แก้ไขปัญหาอุปสรรคในการประกอบกิจการให้เกิดความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ (Ease of Doing Business) รวมถึงแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนสมาชิก อาทิ
ค่าไฟฟ้า การขอลดวงเงินและขอคืนเงินประกันไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง การแก้ไขปัญหาผลกระทบการส่งออกสินค้าไม้ท่อนไม้แปรรูปไม้ล้อมบางชนิด ตลอดจนการแก้ไขปัญหาสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ อาทิ การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจกับต่างประเทศ ผ่านการประชุมกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ต่อยอดโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ หรือ Smart Agricultural Industry (SAI) เพื่อพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร ยกระดับการเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมทุกจังหวัด โดยในปี 2567 ส.อ.ท. ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมและคลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ โดยจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ลำดับที่ 47 คือ กลุ่มอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ (Aerospace Industry Club) และจัดตั้ง 4 คลัสเตอร์ใหม่ ประกอบด้วยปิโตรเคมี ยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม และวัสดุก่อสร้าง
ในส่วนของ First 2 Next-Gen Industry ส.อ.ท. ได้ยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ผ่านโครงการอินโนเวชั่่นวัน (Innovation ONE) ซึ่่งเป็นโครงการที่่ได้รับการสนับสนุุนจากกองทุุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุุนส่งเสริม ววน.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีวัตถุุประสงค์เพื่่อพัฒนาธุุรกิจนวัตกรรมสตาร์ทอัพไทย และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงภาคอุตสาหกรรมรายสาขาของประเทศ โดยได้รับการสนับสนุุนในงบประมาณภายใต้วงเงิน 1,000 ล้านบาท โดย 1 ปีที่่ผ่านมา โครงการกองทุุนอินโนเวชั่่นวันได้พิจารณาการสนับสนุุนทุนให้แก่ผู้ประกอบการมากกว่า 360 ล้านบาท
ด้าน Smart SMEs ส.อ.ท. ส่งเสริมและพัฒนา SMEs ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) GO Digital & AI ผลักดัน SMEs ให้ปรับตัวสู่ดิจิทัลกว่า 1,700 ราย โดยการยกระดับอุุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีการดำเนินการภายใต้โครงการ “Digital One” (Digital One Starter Package) ซึ่งเป็นการยกระดับ SMEs ไทย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่รวบรวมโซลูชันเพื่อสนับสนุนการทำงานและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ 2) GO Innovation ผลักดัน SMEs ให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม 300 ราย โดยส่งเสริมให้ SMEs เข้าถึงนวัตกรรมและงานวิจัยมากขึ้นผ่านโครงการกองทุุนอินโนเวชั่่นวัน รวมถึงโครงการด้านนวัตกรรมต่างๆ โดยสนับสนุนSMEs และสตาร์ทอัพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
รวมทั้งช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ด้านการเงิน 3) GO Green ส่งเสริม SMEs ปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียวกว่า 351 ราย และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ SMEs ดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน หรือ ESG ตลอดจนสร้างแต้มต่อในการเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังส่งเสริมให้ SMEs เข้าร่วมการประเมิน SME Green Index เพื่อสามารถปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียว และส่งเสริมให้ SMEs ได้รับการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม (Eco Label) รวมทั้งหาแหล่งเงินทุนให้ SMEs เพื่อนำไปพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการผลิต เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4) GO Global ส่งเสริม SMEs เตรียมความพร้อมสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 600 ราย โดยผลักดันผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถผลิตและส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศในมาตรฐานที่ต่างประเทศยอมรับ รวมถึงการขยายโอกาสในการเข้าถึงตลาด ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศและต่างประเทศ
ในส่วนของ Smart Service Platform ส.อ.ท. ได้พัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่่อยกระดับการให้บริการสมาชิก ส.อ.ท. อาทิ การเพิ่่มช่องทางการค้าขายออนไลน์ ด้วย FTI e-Business Platform โดยในปี 2567 สามารถส่งเสริมให้เกิดการจับคู่ B2B ไปสู่ B2B2C ได้จำนวน 500 บริษัท นอกจากนี้้ ส.อ.ท. มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม FTI Academy ซึ่่งเป็นแหล่งรวบรวมหลักสููตร Upskill และ Reskill ของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานพันธมิตร รวมทั้้งสถาบันภายใน ส.อ.ท. ไว้จำนวน 83 หลักสูตร โดยในปี 2567 มีผู้ที่่สนใจลงทะเบียนเรียนใน FTI Academy จำนวน 15,704 คน อีกทั้งยังมีการพัฒนาระบบรับรองสินค้า Made in Thailand (MiT) เพื่่อสร้างความเชื่่อมั่่นให้กับผู้ขึ้้นทะเบียน MiT โดยปัจจุุบันสามารถออกใบรับรองสินค้า MiT ได้ 57,622 SKU และมีบริษัทที่ลงทะเบียนในระบบจำนวน 5,577 กิจการ
ด้าน Sustainability, Achieve ESG ส.อ.ท. ได้ยกระดับโรงงานอุุตสาหกรรมด้วยระบบการรับรองมาตรฐานที่่เป็นมิตรกับสิ่่งแวดล้อม อาทิ Eco Factory และ Water Footprint โดยปัจจุุบันมีโรงงานที่่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory รวม 516 ใบรับรอง โดยในปี 2567 มีโรงงานได้รับการรับรองใหม่จำนวน 95 แห่ง สำหรับการรับรอง Water Footprint มียอดสะสมรวม 400 ผลิตภัณฑ์ย่อยจาก 77 บริษัท โดยในปี 2567 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์
การจัดประชุมสามัญประจำปีในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่สมาชิก ส.อ.ท. รวมทั้งสื่อมวลชน ได้รับฟังผลการดำเนินงานของ ส.อ.ท. ในรอบปี 2567 เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยในอนาคตต่อไป และอีกหนึ่งกิจกรรมที่เรียกได้ว่าเป็นไฮไลท์ของการประชุมฯ คือ การปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Industry 5.0 ยกระดับอุตสาหกรรมไทย ก้าวข้ามความท้าทายเศรษฐกิจโลก” โดยนายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ นายเอกนัฎ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ท่ามกลางปัญหา อุปสรรคต่างๆ ที่บั่นทอนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่วันนี้ประเทศไทยยังมีโอกาสพลิกฟื้นภาวะเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 5.0 โดยอาศัยความได้เปรียบด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ควบคู่กับโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องนำมาเป็นจุดแข็งเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้กำหนดนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน เพื่อสร้างโอกาสและสร้างการเจริญเติบโตให้กับภาคอุตสาหกรรม โดยใช้หัวและใจในการทำงานเพื่อมุ่งสู่ “การปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” หรือนโยบาย 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง
ปฏิรูปที่ 1 จัดการกากสารพิษ ที่ทำร้ายชีวิตประชาชน โดยการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ เพื่อคืนน้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ให้ประชาชน เช่น การแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากการเผาอ้อยในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยส่งเสริมการเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตร สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากใบและยอดอ้อยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า สนับสนุนเงินทุนและสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการเผาอ้อย การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน เช่น การปรับปรุง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 โดยเพิ่มโทษการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม น้ำเสีย อากาศเสีย จากโทษปรับ เป็นจำคุกหรือทั้งจำทั้งปรับ เพิ่มอายุความจาก 1 ปี เป็น 5 ปี การจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ด้วยการผลักดันให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าประกอบการในเขตนิคมอุตสาหกรรม การคัดแยก/กำจัดขยะและกากอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง
ปฏิรูปที่ 2 สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SMEs ไทย ด้วยการปกป้องและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทย เช่น การป้องกันการนำเข้าสินค้าไม่ได้มาตรฐาน โดยสร้างความเท่าเทียมด้านกฎระเบียบและภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทย ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs และผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ ยกตัวอย่างการดำเนินงานที่กระทรวงฯ กำลังเร่งผลักดัน คือ การใช้ Big Data และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI ตรวจจับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานใน E-Commerce ของประเทศ การแก้กฎระเบียบ/บังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมในการตรวจสอบมาตรฐานสินค้า กระบวนการผลิตสินค้าและวัตถุอันตรายและการนำเข้าที่ต้องควบคุมเป็นการทั่วไปในเขต Free Zone การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยผลักดันมาตรการ “Made in Thailand” และ “SME GP” ส่งเสริม SMEs และสตาร์ทอัพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีและความรู้
ปฏิรูปที่ 3 สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การแปรรูปเกษตรมูลค่าสูง เครื่องมือแพทย์ ป้องกันประเทศ และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การขับเคลื่อนการสร้างเกษตรมูลค่าสูง โดยปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ยกระดับการพัฒนาสู่เกษตรอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ได้แก่ การกำหนดชนิดและคุณภาพวัตถุดิบในการผลิตของโรงงาน การส่งเสริมการทำเกษตรทันสมัย การเพิ่มผลิตภาพภาคการเกษตร การสนับสนุนเครื่องจักรที่ทันสมัย การบริหารต้นทุนของเกษตรกร และการสร้างนักธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม รวมถึงการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งจะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวของประเทศ (Green GDP) มีมูลค่าสูงขึ้น และปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรม (เฉพาะโรงงานจำพวก 3) ที่เข้าโครงการอุตสาหกรรมสีเขียวแล้วร้อยละ 91 ซึ่งเรามีเป้าหมายในปีนี้ ให้โรงงานอุตสาหกรรมต้องเข้าโครงการทั้งหมด 100% และในปี 2570 ครึ่งหนึ่งของสถานประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 หรือมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ และคาดหวังว่าธุรกิจจะสามารถยกระดับไปสู่ระดับ 5 ได้ในท้ายที่สุด หรือมีการสร้างเครือข่ายสีเขียวครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน
สำหรับ 3 แนวทาง ภายใต้นโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ แนวทางที่ 1 สร้างความร่วมมือ พันธมิตร ห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่สมบูรณ์แบบ เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปอุตสาหกรรม โดยการปรับมาตรการและสิทธิประโยชน์เพื่อดึงดูดการลงทุน ส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมหลักต่าง ๆ ของโลก แนวทางที่ 2 สร้าง Ease of Doing Business เช่น การปรับกฎหมายและภารกิจเข้าสู่ภาครัฐดิจิทัล โดยการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ แบบ One Stop Service ได้แก่ ระบบขออนุมัติ/อนุญาต (e-License) ระบบกำกับดูแล (e-Monitoring) ระบบรับชำระเงิน (e-Payment) และระบบรายงานข้อมูล (e-Report) รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวทางที่ 3 จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้ง Hard Skills และ Soft Skills โดยเฉพาะกำลังคนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในสายอาชีพและอาชีวศึกษา บุคลากรภาคอุตสาหกรรมและบุคลากรศักยภาพสูง เช่น นักพัฒนาเทคโนโลยีผู้เชี่ยวชาญทักษะ STEM เพื่อเตรียมพร้อมในการปรับตัวสู่การทำงานร่วมกับ AI ในยุคของการปฏิรูปอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม มีความมุ่งมั่นในการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก นำพาอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 5.0 เร่งดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุน เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศและผู้ประกอบการและก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นภายในประเทศ โดยได้จัดทำมาตรการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกและเติบโตได้อย่างยั่งยืน
“ประเทศเราจำเป็นต้องมีการปฏิรูปครั้งใหญ่ เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมภายใต้บริบทความท้าทายในยุคอุตสาหกรรม 5.0 (Industry 5.0) ที่มีความซับซ้อนทางเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งเป็นภารกิจใหญ่ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้เพียงข้ามคืน และไม่สามารถทำได้เพียงลำพัง แต่จำเป็นต้องมีการสานพลังจากทุกภาคส่วน ซึ่งจะเป็นพลังหนึ่งที่สำคัญอย่างมากที่ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยของเราสามารถก้าวสู่ประเทศที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมที่จะจับมือพาทุกคนฝ่าฟันวิกฤต และหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เพื่อก้าวเดินไปด้วยกันสู่การสร้างเศรษฐกิจใหม่ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจโลกต่อไป และทั้งหมดนี้ คือ นโยบายและมุมมองของกระทรวงอุตสาหกรรมในการเดินหน้าประเทศไทย เพื่อก้าวข้ามความท้าทายเศรษฐกิจโลก” นายเอกนัฎ กล่าวทิ้งท้าย