svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

สรท. ชี้สงครามการค้าระเบิดเวลาส่งออกไทย คาดทั้งปีโต 1-3%

สรท. ชี้สงครามการค้าระเบิดเวลาส่งออกไทย คาดทั้งปีโต 1-3%
04 มีนาคม 2568
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือฯ ชี้สงครามการค้า ทรัมป์ 2.0 ระเบิดเวลาผู้ส่งออกไทย แนะปรับตัว หาตลาดทดแทนรองรับ เร่งรัฐเจรจาเอฟทีเอ คาดทั้งปีส่งออกโต 1-3%

ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)  ระบุว่า ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมกราคม 2568 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 25,277.0 ขยายตัวร้อยละ 13.6 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 862,367 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 11.8  (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือนมกราคมขยายตัวร้อยละ 11.4) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 27,157.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.9 และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 938,112 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.3 ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม 2568 ขาดดุลเท่ากับ 1,880.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขาดดุลในรูปของเงินบาท 75,746 ล้านบาท

สรท. ชี้สงครามการค้าระเบิดเวลาส่งออกไทย คาดทั้งปีโต 1-3%

สรท. คาดการณ์ส่งออกปี 2568 เติบโตที่ร้อยละ 1-3 (ณ มีนาคม 2568) โดยมีปัจจัยเสี่ยงและความผันผวนเสมือนระเบิดเวลาที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย ในประเด็นสำคัญ ได้แก่ 

1) การส่งเสริมการลงทุนในประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้น ดุลการค้าเพิ่ม แต่สัดส่วนการใช้ Local Content น้อย ประกอบกับมีความเสี่ยงที่จะถูกสหรัฐฯ ใช้มาตรการทางภาษีกดดันจากการส่งออกกลุ่มสินค้าดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นจนเกินดุลการค้า ผลกระทบจึงตกไปยังผู้ประกอบการในประเทศทั้งต้นน้ำจนถึงปลายน้ำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

2) สินค้าจีนทะลัก ขาดระบบควบคุม (Overcapacity) จากมาตรการทางภาษีของสหรัฐฯ เพื่อกีดกันสินค้าและลดการเกินดุลการค้ากับจีน ส่งผลให้สินค้าจำนวนมากที่ไม่ได้ส่งออกไปยังสหรัฐฯ ถูกกระจายมายังภูมิภาคอาเซียนรวมถึงไทยเป็นแหล่งรองรับสินค้า ส่งผลให้ SME ไทยแข่งขันด้านราคาไม่ได้และอาจต้องปิดกิจการ รวมถึงทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับจีนมากขึ้น 

3) Soft Loan เข้าถึงยาก ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องและไม่สามารถยกระดับ พัฒนาอุตสาหกรรมให้ทันกับทิศทางเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลง ทำให้การลงทุนและการเติบโตในทางธุรกิจทำได้ช้า 
 

สรท. ชี้สงครามการค้าระเบิดเวลาส่งออกไทย คาดทั้งปีโต 1-3%

4) การผลิตสินค้าล้าสมัย รับจ้างผลิต ขาดเอกลักษณ์ของตนเอง อุตสาหกรรมของไทยยังพึ่งพาการผลิตสินค้ารูปแบบ รับจ้างผลิต (OEM) ขาดงบประมาณสนับสนุนด้าน R&D ส่งเสริมการสร้างแบรนด์อัตลักษณ์ของคนไทยอย่างจริงงจัง ทำให้มีความเสี่ยงสูงจากการพึ่งพารูปแบบ OEM มากเกินไป 

5) Skill labour ไม่ปรับตัว ไทยยังขาดแรงงานที่มีฝีมือในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้ไทยเสียโอกาสในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ประกอบกับแรงงานขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้เทคโนโลยีและทักษะดิจิทัล ทำให้ปรับตัวไม่ทันสำหรับการเปลี่ยนแปลง ทักษะไม่ตรงกับความต้องการภาคการผลิต 

และ 6) ขาด SINGLE POLICY อุตสาหกรรมไทยและภาคการผลิตขาดทิศทางที่ชัดเจนในการขับเคลื่อน ทำให้ขาดประสิทธิภาพแม้มีแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจมากมาย เช่น Thailand 4.0, BCG Economy และ EEC แต่ไม่มีนโยบาที่เป็นแกนหลัก (Pivot policy) ที่ทุกภาคส่วนต้องปฏิบัติตามอย่างเป็นระบบ

สรท. ชี้สงครามการค้าระเบิดเวลาส่งออกไทย คาดทั้งปีโต 1-3%

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 

1) ผู้ส่งออกไทยที่ทำการค้ากับสหรัฐฯ ควรมีแผนรองรับความเสี่ยง (Derisking) มองหาตลาดอื่นทดแทนเพื่อกระจายสินค้า หารือผู้นำเข้า/ฑูตพาณิชย์ อย่างต่อเนื่องเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและเตรียมการรับมือร่วมกัน  

2) เร่งใช้ประโยชน์จากกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีอยู่และใช้ประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ที่มีอยู่ให้เต็มที่ เช่น กรอบ RCEP รวมถึงเร่งเจรจา FTA Thai – EU และ ASEAN – Canada ให้บรรลุผลโดยเร็ว 
 

logoline