จากเหตุการณ์ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้เกิดพังถล่มลงมาขณะแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และสูญหายจำนวนมาก ซึ่งจากการตรวจสอบพบข้อมูลว่าบริษัทที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการนี้ คือ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด วงเงินก่อสร้างกว่า 2.1พันล้านบาท และจากการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก ยังพบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 ได้รับงานของหน่วยงานรัฐอีกหลายแห่ง จึงเป็นที่มาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่เข้าไปทำการตรวจสอบอยู่ในขณะนี้ ว่าบริษัทดังกล่าว ดำเนินการถูกตามกฎหมาย มีความโปร่งใส หรือไม่อย่างไร
สำหรับ “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” ใช้โมเดลธุรกิจในลักษณะเป็น “กิจการร่วมค้า” กับเอกชนรายอื่น ๆ โดยเริ่มจากเข้าไป “ซื้อซอง” เอกสารการประมูลงานรัฐหลายแห่ง แต่ไม่ได้เข้าร่วม “ยื่นซอง” หรือ “ยื่นเสนอราคา” แต่กลับไปดีลกับเอกชนไทยที่ “ทุนหนา” เพื่อเข้าร่วมเป็น “กิจการร่วมค้า” ดำเนินการ “ยื่นซอง” ประมูลแทน
และนับตั้งแต่ปี 2561 หรือ ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเป็นต้นมา พบว่า “กิจการร่วมค้า” ที่มี “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” เริ่มประมูลงานรัฐขนาดกลาง วงเงินราว 100 ล้านบาทขึ้นไป จนถึงงานขนาดใหญ่หลัก 300-500 ล้านบาท จนมาถึงงานระดับสัมปทานรัฐหลัก 1 พันล้านบาท
โดยข้อมูลจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ทำการสืบค้นข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 (ดำเนินการ ต.ค. 2561 เป็นต้นไป) จนถึงปีงบประมาณ 2568 (ต.ค. 2567 เป็นต้นไป) พบว่า “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” เข้าเป็นกิจการร่วมค้า และคว้างานประมูลภาครัฐไปแล้วอย่างน้อย 13 แห่ง
โดยแห่งแรกที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วคือ โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สตง. (แห่งใหม่) พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ ตามสัญญาเลขที่ 021/2564 ลงวันที่ 23 พ.ย. 2563 จ้างกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด) ก่อสร้างอาคารแห่งใหม่ พร้อมสิ่งก่อสร้าง ประกอบ จํานวนเงิน 2,136 ล้านบาท
ปี 2562
ปี 2563
ปี 2564
ปี 2565
"เบ็ดเสร็จรวมวงเงินที่ ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เข้าไปร่วม “กิจการร่วมค้า” กวาดงานภาครัฐอย่างน้อย 13 โครงการข้างต้น (รวมสร้างตึก สตง.) ระหว่างปีงบประมาณ 2562-2565 มูลค่ารวม 7,232,098,777 บาท หรือราว 7.2 พันล้านบาท"
นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายสิบสัญญาที่ปรากฏชื่อ “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” เข้าไปร่วมประมูลงาน บางแห่งพร้อมกับ “บริษัทในเครือ” บางแห่งเข้าไปซื้อซอง แต่ไม่ยื่นเสนอราคา โดยมีบางโครงการที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า “ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10” เข้าไปร่วมกับ “กิจการร่วมค้า” แห่งใด เพื่อได้งานบ้าง
ขณะที่ โครงการอื่น ๆ ข้างต้น มีบางแห่ง เช่น โครงการของ กกท. และโครงการของ สทนช. ออกมายืนยันว่า ตึกที่ก่อสร้างไว้ หลังเกิดแผ่นดินไหวได้เข้าตรวจสอบแล้ว ไม่มีข้อบกพร่องแต่อย่างใด ส่วนโครงการที่เหลืออื่น ๆ ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า ภายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง
ทั้งนี้ ทั้ง 12 โครงการข้างต้น ยกเว้นโครงการสร้างตึกของ สตง. ยังไม่มีการร้องเรียนถึงปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแต่อย่างใด
ที่มา : ข้อมูล จาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ