25 กุมภาพันธ์ 2568 ราคาทองวันนี้ ตามประกาศจากเว็บไซต์ "สมาคมค้าทองคำ" เมื่อเวลา 09.01 น. ราคาทองแท่ง ราคาทองรูปพรรณ ราคาทองคำวันนี้ ปรับราคาขึ้น 100 บาทต่อบาททองคำ โดยค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.52 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 13.35 น. ปรับราคาทองคำลง 50 บาท ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 09.12 น. ปรับราคาทองคำขึ้น 50 บาท ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.66 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 14.47 น. ปรับราคาทองคำลง 50 บาท ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.67 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 15.37 น. ปรับราคาทองคำขึ้น 50 บาท ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
เมื่อเวลา 16.44 น. ปรับราคาทองคำขึ้น 50 บาท ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาทองคำ ดังนี้
ราคาทองคำแท่ง
ราคาทองรูปพรรณ
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อคืนที่ผ่านมา (24 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากรายงานที่ว่า SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองคำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ได้เพิ่มการถือครองทองคำ นอกจากนี้ นักลงทุนยังเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับมาตรการภาษีศุลกากรของโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ
ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเมษายน 2568 เพิ่มขึ้น 10.00 ดอลลาร์ หรือ 0.34% ปิดที่ 2,963.20 ดอลลาร์/ออนซ์
ราคาทองคำดีดตัวขึ้น หลังจากมีรายงานว่า กองทุน SPDR Gold Trust เพิ่มการถือครองทองคำสู่ระดับ 904.38 ตันเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ.) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566
นอกจากนี้ ตลาดทองคำ ยังได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจาก "ทรัมป์" ขู่ว่าอาจจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ นอกเหนือจากแผนเดิมที่จะเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และยา ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อและสงครามการค้า นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนมกราคมของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้
ทั้งนี้ ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)