svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สัมปทานเหมืองหินอ่อนในที่ดินนิคมฯ | สืบสวนความจริง | 10 มิ.ย. 66 | PART 1

สัมปทานเหมืองหินอ่อนในที่ดินนิคมฯ | สืบสวนความจริง | 10 มิ.ย. 66 | PART 1

สัมปทานเหมืองหินอ่อนในที่ดินนิคมฯ

 

ชาวบ้านในพื้นที่ ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ร้องเรียนกรมสอบสวนคดีพิเศษ และ ป.ป.ช. กรณีเจ้าหน้าที่รัฐอนุญาตให้เอกชน ทำเหมืองแร่หินอ่อนนอกเขตประทานบัตร และการออกประทานบัตรเหมืองแร่หินอ่อนอันเป็นเท็จ

 

29 พ.ค. 2566 สืบสวนความจริงลงพื้นที่ จ.นครราชสีมา กรณีข้อร้องเรียนของชูชีพ จิตบุณยโชติ เจ้าของที่ดินตามโฉนดที่ดิน เลขที่ 85848 เนื้อที่ 26-1-13 ไร่

 

พื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองลำตะคอง เป็นภูเขาที่ผ่านการระเบิดหิน ปัจจุบันมีสภาพเป็นที่ราบเชิงเขา ชาวบ้านทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง และ กล้วย เป็นอาชีพหลักดูแลครอบครัว

 

ชูชีพบอกกลับสืบสวนความจริงว่า เดิมพื้นที่ตรงนี้ บิดาที่ชื่อ จำรัส กลิ้งอาจ ได้มาซื้อที่ไว้เมื่อปี 2513 ก่อนนิคมสร้างตนเองลำตะคลองจะเข้ามาดูแลและจัดสรรพื้นที่

 

ชูชีพ จิตบุณยโชติ เจ้าของที่ดิน กล่าวว่า เมื่อปี 2512 พอไขที่นาจากอยุธยาจำนวนห้าไร่และมาซื้อพื้นที่ตรงนี้จำนวน 50 ไร่ทำมาหากินมาโดยตลอด จนกระทั่งมีการขอประทานบัตรซึ่งผู้เป็นพ่อไม่รู้ เพราะเค้ามาแอบขอไว้พ่อรู้ข่าวจากชาวบ้าน หากไปไม่ได้ให้เซ็นมอบอำนาจให้ลูกชายไปแทน

 

หลังจากครอบครองที่ดินและรัฐ ให้สามารถนำที่ นค3 ไปขอออกโฉนดได้ ชูชีพ ได้ดำเนินการขอออกโฉนดที่ดิน 50 ไร่ ตามสิทธิ์ แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่าออกโฉนดให้ได้เพียง 26 ไร่ส่วนที่เหลือมีการนำไปประกอบกิจการเมืองแร่หินอ่อน

 

ชูชีพ จิตบุณยโชติ เจ้าของที่ดิน กล่าวว่า ผมไปบอกกับนิคมว่าพอเป็นสมาชิกนิคมแล้วทำไมไม่ออกที่ดินให้เต็มแปลง นิคมบอกว่าต้องเอาพ่อมาถ้ามาไม่ได้ให้นำพอใส่รถเข็น พอพ่อทราบข่าวพ่อเป็นลมหน้ามืดกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ผมสงสารพ่อไปปรึกษาเจ้าหน้าที่นิคมว่าผมขอสมัครเป็นสมาชิกนิคมแทนพ่อได้หรือไม่

 

ทางนิคมบอกว่าสามารถทำได้เพราะเป็นบุตรโดยชอบธรรม ที่พ่อเราถ้าเราไม่เอาเราจะไปยกให้ใครคุณไปทำเรื่องสมาชิกสมัครเป็นสมาชิกนิคม ย้ายสำมะโนครัวเข้ามาอยู่ในตำบลหมูสี หากวัดพื้นที่ได้เท่าไหร่ให้ออกตามนั้นไปก่อน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเหมืองให้กันไว้ก่อนรอให้ประทานบัตรเมืองหมดอายุไปก่อน

 

ร่องรอยภูเขา คือส่วนที่หลงเหลืออยู่ของการทำ ประธานบัตรเมืองหินอ่อน  ซึ่งหมดอายุสัมปทานไปแล้ว แต่ปรากฏว่าเจ้าของสัมปทานเดิมมาฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดิน ตอนนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบของดีเอสและ ป.ป.ช. ถึงการออกการอนุญาตให้ทำประทานบัตรในพื้นที่หมู่ 12 แต่กลับมาทำในพื้นที่หมู่ที่ 6 ถูกต้องหรือไม่

 

อำนวย กลิ้งอาจ  น้องชายชูชีพ กล่าวว่า วันที่ดีเอสไอลงพื้นที่ได้ตรวจสอบ หลักสัมปทานตรวจสอบผู้ใหญ่บ้านทั้งสองหมู่บ้านหมู่ 6 และหมู่ 12 มีการแบ่งเขตหมู่อย่างถูกต้อง และได้มีการลงบันทึก

 

ประเด็นพิพาทในพื้นที่แห่งนี้คือการอนุญาตให้ทำประทานบัตรในพื้นที่หมู่ที่ 12 แต่เมืองหินอ่อนกลับมาทำในพื้นที่หมู่ที่ 6 ซึ่งเป็นพิรุธที่ทำให้ชูชีพต้องลุกขึ้นมาติดตาม และตรวจสอบการอนุญาตว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

 

ชูชีพ จิตบุณยโชติ  เจ้าของที่ดิน กล่าวว่า รอจน แต่อยู่อยู่เจ้าของสัมปทานเดิมของชายน้องชายก็ไม่เคยขึ้นศาล เอาหลักขึ้นไปปรากฏเป็นชื่อของผม ศาลชั้นต้นตัดสินว่าให้ยกที่คืนนิคม โดยที่ผมเป็นสมาชิกนิคมอยู่แล้ว พ่อก็เป็นสมาชิกอยู่แต่งงไปหมดว่ามันเป็นที่หมู่ 12 แต่กลับมาทำในพื้นที่หมู่ 6 ได้อย่างไร

 

สัมปทานเมืองแร่หินอ่อนที่อนุญาตให้กับนาง A ซึ่งนาง A อ้างว่านาง B เป็นเจ้าของพื้นที่ อนุญาตให้นำที่ดินไปขอประทานบัตร แต่จากการตรวจสอบแล้วพบว่าพื้นที่ที่นาง B อ้างถึงนั้นเป็นที่ดินของนาง C และนาย D ซึ่งอยู่ที่หมู่ 12 ไม่ใช่หมู่ 6 แต่การอนุญาตครั้งนี้เป็นการอนุญาตนอกพื้นที่และทำเหมืองนอกพื้นที่ประทานบัตรหรือไม่

 

กรณีดังกล่าวจึงอาจเป็นการทำเหมืองแร่นอกเขตประทานบัตรที่ได้รับอนุญาต และอาจเป็นการรังวัดและรับรองออกประทานบัตรอันเป็นเท็จ เนื่องจากเป็นการออกประทานบัตรโดยไม่ตรงกับพื้นที่จริง

 

อำนวย กลิ้งอาจ  น้องชายชูชีพ กล่าวว่า ผู้ใหญ่หมู่ 6 ยืนยันว่าเป็นของหมู่ 6 ผู้ใหญ่หมู่ 12 ก็ยืนยันว่าหมู่ 12 อยู่คนละที่กับพื้นที่ดังกล่าว คนละหมู่บ้านกัน ชาวบ้านเดือดร้อนไม่มีที่ทำกินมีการฟ้องร้องชาวบ้านแค่ศาลเดียวก็จนหัวทิ่มดินแล้ว จะไปสู้อะไรกับพวกบริษัท

 

เมื่อประทานบัตรหินอ่อนหมดอายุแล้วปรากฏว่านาง A ได้ฟ้องขับไล่อำนวย น้องชายของชูชีพ ซึ่งชูชีพมองว่าเป็นการฟ้องผิดตัวเพราะอำนวยเป็นผู้ดูแลพื้นที่แทนเท่านั้น ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน

 

ชูชีพ จิตบุณยโชติ  เจ้าของที่ดิน ผมไม่รู้จะไปร้องเรียนยังไงถูกเลย ผมรู้ว่าเป็นหมู่ 12 ตอนไปเห็นหลักฐานที่น้องชายขึ้นศาล ผมไปถามผู้รู้ผู้รู้บอกว่า กรณีนี้คือการฟ้องผิดคน

 

ประเด็นนี้ชูชีพเคยท้วงติงว่า ผู้ดูแลนิคมเคยสั่งให้เมืองยุติกิจการแล้วเมื่อปี 2526 แต่เหตุใดเมืองยังคงประกอบกิจการมาจนถึงปี 2559 และพอหมดอายุประทานบัตรกลับมาฟ้องขับไล่เจ้าของที่ดินเดิม

 

ชูชีพ จิตบุณยโชติ เจ้าของที่ดิน กล่าวว่า เจ้าหน้าที่คนที่ทำเรื่องนี้รู้แล้วเพราะเค้ารู้เค้าอาจจะแจ้งกับผู้บังคับบัญชา ปี 2526 การสั่งยกเลิกแปลงนี้ แต่ในเมื่อมีการยกเลิกแล้วทำไมถึงมีการขุดเจาะออกไปได้ ผมตามไม่ทันต้องอาศัยผู้รู้หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกิดมาในชีวิตผมไม่เคยคิดว่าตัวเองจะต้องขึ้นศาล ต้องอาศัยความเป็นธรรมจากหน่วยงานป.ป.ช.หน่วยงานที่พึ่งได้

 

ทางป.ป.ช. ได้ประมวลตามคำกล่าวหาที่ผู้ร้องได้มีการกล่าวหามา ประเด็นที่จะต้องตรวจสอบมีอยู่ประมาณห้าถึงหกประเด็น ในเบื้องต้นเป็นการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ทางฝ่ายผู้กล่าวหาได้ส่งมาให้ประกอบเรื่อง และกำลังรวบรวมหลักฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ เป็นความผิดฐานทุจริตหรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งเจ้าหน้าที่ราชการอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการป.ป.ช. ถ้ามีเกี่ยวข้องกับอิทธิพลอื่นที่เกี่ยวที่ไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ดีเอสไอก็สามารถดำเนินการต่อได้ตามอำนาจหน้าที่ของดีเอสไอ