svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คืนป่าลุ่มน้ำน่าน | สืบสวนความจริง | 01 เม.ย. 66 | PART 3

คืนป่าลุ่มน้ำน่าน | สืบสวนความจริง | 01 เม.ย. 66 | PART 3

คืนป่าต้นน้ำน่าน


ป่าต้นน้ำน่าน กำลังถูกคุกคามจากฝีมือมนุษนย์ ทั้งการแผ้วถางปลูกพืชเชิงเดี่ยว การใช้สารเคมี และยังเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดไฟป่า และหมอกควันพิษ ห่างจากหมู่บ้านปางยาง ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน ไม่ถึง 1 กิโลเมตร ควันไฟป่าสีขาว พวยพุ่งขึ้นเหนือยอดไม้ ทั้งหมู่บ้าน ปกคลุมด้วยหมอกควัน ฟ้องต่อสายตาว่าปัญหาหมอกพิษ PM 2.5 จะยังไม่หมดสิ้นไปในห้วงเดือนเมษายน นี้ 

 

และที่นี่คือไร่ของ "ลุงทับ" ชาวบ้านปางยาง แปลงที่ดินผืนนี้ ได้ปรับแปลงนาแบบขั้นบันได และทำนาไปเมื่อฤดูที่ผ่านมา ตอซังข้าว มัดฟาง ที่เห็นอยู่นี้ บอกกับเราว่า นาผืนนี้ได้ผลดี

 

เมื่อปี 2564 กองทุนป.ป.ช. เข้ามาสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาชนชาวตำบลศิลาเพชร อ.ปัว ให้ลุกขึ้นทวงคืนป่าต้นน้ำย่าง ท้้งในระดับอำเภอ และระดับจังหวัด

 

เมื่อปี 2565 กรมสอบสวนคดีพิศษ เข้ามาทำกระบวนการยุติธรรมสมานฉันท์ จน ชาวบ้านปางยาง 13 ครอบครัว ยินยอมที่จะออกจากพื้นที่ทำกินบริเวณป่าต้นน้ำย่าง และส่งมอบคืนพื้นที่ให้กับรัฐ จำนวน 150 ไร่เศษ จัดทำโครงการปลูกป่าบริเวณต้นน้ำย่าง ต้นกำเนิดแม่น้ำน่าน 

 

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ใช้ "ซอฟพาวเวอร์" ประสานหน่วยงานต่างๆ เข้ามา ส่งเสริมการปลูกไม้ผลเมืองหนาว และทำปศุสัตว์ ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ต้องใช้สารเคมีอันตราย 
 

วัชรินทร์ พนาสิน  ผู้ใหญ่บ้านปางยาง กล่าวว่า จะเห็นแนวตัวอย่างของพื้นที่ของบางยาง โครงการสนับสนุนเห็นผลประจักษ์ขึ้นมาชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเชื่อมั่นในตัวของโครงการว่าสามารถทำได้จริงได้ประโยชน์จริงทำให้พื้นที่เล็กๆสร้างรายได้เพิ่มขึ้น


การส่งมอบพื้นที่ป่าของชาวบ้านปางยาง ได้กลายมาเป็นโมเดล ให้ชาวบ้านขุนกูน 16 ครอบครัว ยินยอมคืนพื้นที่ป่าต้นน้ำกูน อีกกว่า 150 ไร่ โดย ขอให้ DSI ขยายผลการพัฒนาในลักษณะเดียวกันกับบ้านปางยาง มาที่บ้านขุนกูน


ลักษ์ อินปา  นายกอบต.ภูคา กล่าวว่า ผมจะนำแนวทางนี้ไปพยายามพูดคุย สร้างความเข้าใจกับญาติพี่น้องว่ากระบวนการที่ทางดีเอสไอมาร่วมบูรณาการ เราจะพลิกวิกฤตตรงนี้ให้เป็นโอกาส ครบวงจรในการปลูกพืช มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดสร้างความเข้าใจว่าเราจะเดินทางยังไงบ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จะทำยังไงให้วงจรของไร่หมุนเวียนกระชับลง


วิชัย อินปา ชาวบ้านขุนกูน กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนบ้านขุนกูลชาวบ้านรู้สึกดีใจที่หน่วยงานต่างๆที่มีส่วนร่วมมาช่วยในการให้ชาวบ้านรู้จักในการคืนพื้นที่ป่า  ชาวบ้านตระหนักว่าหากยิ่งบุกรุกป่ามากขึ้นน้ำก็จะลดลง ถ้าผืนป่ามีเยอะน้ำก็จะมีมากขึ้น


ที่บ้านขุนกูน ดีเอสไอ ได้ประสานการดำเนินการปรับปรุงพื้นดิน เป็นแปลงนาขั้นบันได 13 แปลง กับ 1 โรงเรือน ซึ่งชาวบ้านทั้งหมดอยู่มาก่อนประกาศเขตป่า ดังนั้น การจะบังคับใช้กฎหมายย่อมไม่เป็นธรรม กับชาวบ้าน  ดีเอสไอ จึงมุ่งทำให้ประชาชนได้รับสิทธิ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนโยบายยุติธรรมสร้างสุข ของกระทรวงยุติธรรม


พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ในพื้นที่ตำบลภูคาบ้านบางยางจังหวัดน่านมีการเข้าไปถึงคลองพื้นที่ป่า จากการที่เราลงพื้นที่เราพบว่ากลุ่มชาวบ้านได้มีการเข้าไปถึงคลองพื้นที่ป่าและมีการเข้าไปทำประโยชน์ก่อนหน้าที่จะมีการประกาศกฎหมายให้เป็นพื้นที่ป่าเราก็เลยพิจารณาว่าการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่จะบังคับกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ก็คงจะไม่เป็นธรรม ภารกิจของกรมสอบสวนคดีพิเศษภายใต้กระทรวงยุติธรรมเรามีโครงการอำนวยความเป็นธรรมด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิชุมชน ซึ่งเราต้องอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนได้รับสิทธิ์เราก็เลยพิจารณาพูดคุยหารือกับทางหน่วยที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางกรมอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานทั้งสองหน่วยงานเป็นอย่างดีที่จะร่วมกันหาทางออกด้วยกัน  ภาครัฐจะประสบความสำเร็จไม่ได้หากไม่สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนในพื้นที่ถึงประโยชน์ที่เขาควรจะได้รับ  ซึ่งโครงการนี้เพราะประชาชนในพื้นที่เห็นประโยชน์ว่ามันสามารถสร้างรายได้และทำให้พี่น้องประชาชนอยู่ร่วมกับป่าได้ก็ทำให้จะมีการขยายเฟสขยายโครงการไปยังพื้นที่ต่อเนื่อง
 


ก่อนหน้านี้ ดีเอสไอ เคยดำเนินคดีบุกรุกป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ระกา ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร  พื้นที่ 512 ไร่ โดย รับเป็นคดีพิเศษ ที่ 36/2552 สู้กันถึง 3 ศาล กระทั่ง 2 กันยายน 2563 ศาลฎีกา ตัดสินจำคุก อดีตส.ส.กำแพงเพชร พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภารัตน์ 50 ปี คดีดังกล่าวสู้คดีนาน 10 ปี ใช้เงินงบประมาณไป 8 ล้านบาท 

แต่สำหรับ ป่าต้นน้ำน่าน ดีเอสไอ ใช้กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ใช้เวลาเพียง 1 ปี งบประมาณเพียง 3 แสนบาท แต่รัฐได้ป่าต้นน้ำน่าน กลับคืนมา 300 ไร่


พ.ต.ต.สุริยา สิงหกมล อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ตรงนี้คำนวณจากการใช้จ่ายเราคำนวณต้นทุนจากที่เราเคยดำเนินคดีมา  ในหนึ่งถึงคดีพิเศษเราใช้ มาตรการบังคับใช้กฎหมาย ใช้งบประมาณประมาณ 8,000,000 บาท และมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้คืนผืนป่า แต่ในส่วนของคดีนี้เราใช้งบประมาณ 300,000 บาททำให้เราประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบให้ขยายไปยังพื้นที่อื่นถือว่าเป็นการดำเนินงานที่คุ้มค่า