World of Change EP.5 จุดเปลี่ยนโลกจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ กับ ภัยพิบัติโลก ข้อมูลรอบโลกที่จะมาอัปเดตกันทุกสัปดาห์
รับชมรายการได้ที่นี่ :
จุดเปลี่ยนทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ซึ่งภัยธรรมชาตินั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือฝีมือมนุษย์ที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป บางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินเรียกได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ กับภัยพิบัติโลก
“อุทกภัย” ที่สร้างความเดือดร้อน เกิดการพลัดพราก ทำลายระบบนิเวศน์และคร่าชีวิตมนุษย์มากมาย โดยอุทกภัยแบ่งได้ 2 ชนิด
1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันเกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต และทรัพย์สิน
2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร
จากภาพถ่ายทะเลทรายซาฮาราล่าสุดเผยให้เห็น ทะเลสาบขนาดใหญ่ท่ามกลางเนินทรายอันกว้างใหญ่ เนื่องจากสถานที่ที่แห้งแล้งและกันดารที่สุดในโลกเผชิญกับภัยพิบัติน้ำท่วมเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปี
ซีเอ็นเอ็น รายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 14 ต.ค. 2024 ว่า ทะเลทรายซาฮารามักมีฝนตกเกิดขึ้นบ้าง แต่โดยปกติในแต่ละปีจะมีปริมาณน้ำฝนเพียงไม่กี่นิ้วเท่านั้นแต่เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา ทะเลทรายซาฮาราบางแห่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของโมร็อกโก เกิดฝนตกหนักเป็นเวลา 2 วัน เนื่องจากความกดอากาศต่ำ เคลื่อนตัวผ่านทางตะวันตกเฉียงเหนือของซาฮารา
ข้อมูลเบื้องต้นจากดาวเทียมขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) แสดงให้เห็นว่า บางพื้นที่ในภูมิภาคมีปริมาณฝนมาก เมืองเออร์ราชิเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ของโมร็อกโก มีปริมาณฝนมากเป็นเพียงแค่ 2 วัน ซึ่งเมื่อเดือนกันยายนที่เกิดขึ้นตามปกติ 4 เท่าของพื้นที่ดังกล่าว
ฮูซีน ยูอาเบบ เจ้าหน้าที่จากกรมอุตุนิยมวิทยาโมร็อกโกเผยกับสำนักข่าวเอพีได้กล่าวว่า
เราไม่เคยมีฝนตกหนักขนาดนี้ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มานานกว่า 30-50 ปีแล้ว
โดย ซีเอ็นเอ็น ได้ระบุว่า เมื่อฝนตกในภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย น้ำฝนได้สร้างภูมิทัศน์ใหม่ทำให้พื้นที่เต็มไปด้วยน้ำท่ามกลางต้นปาล์มและพืชพรรณไม้พุ่ม และภาพแอ่งน้ำที่น่าตื่นตามากที่สุด คือบริเวณเมืองเมอร์ซูก้า ที่เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ จนทำให้เนินทรายกลายเป็นเหมือนทะเลสาบ
การเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในทะเลทรายซาฮารา เกิด พายุ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเหตุการณ์นี้เกิดจาก “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
ปีเตอร์ เดอ เมโนคาล ประธานและผู้อำนวยการสถาบันสมุทรศาสตร์วูดส์โฮล กล่าวว่า
เมื่อมีฝนตกหนักเป็นพิเศษ เนินทรายจะกลายเป็นทุ่งดอกไม้สีเขียวชอุ่ม พืชพรรณต่าง ๆ จะเติบโตในทันทีในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์จากฝน
ปกติแล้ว ปริมาณน้ำฝนทางตอนเหนือของแอฟริกาจะเพิ่มขึ้น พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นเรียกว่า “ร่องความกดอากาศต่ำแถบศูนย์สูตร” หรือ “ร่องมรสุม” เพิ่มมากขึ้น 2-6 เท่า
คาร์สเตน เฮาสไตน์ นักวิจัยด้านภูมิอากาศจากมหาวิทยาลัยไลพ์ซิกในเยอรมนีกล่าวว่า ด้วยกัน 2 สาเหตุ
1. การเปลี่ยนผ่านจากเอลนีโญเป็นลานีญาส่งผลต่อการเคลื่อนตัวไปทางเหนือของโซนนี้ในช่วงฤดูร้อนปี 2024 ทำให้มีอุณหภูมิมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตรสูงกว่าปกติ
2. “ภาวะโลกร้อน” ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว เฮาสไตน์ระบุว่าร่องมรสุม เป็นสาเหตุที่ทำให้แอฟริกาเขียวชอุ่มขึ้น เพราะร่องมรสุมจะเคลื่อนตัวไปทางเหนือมากขึ้น เมื่อโลกอุ่นขึ้น
“ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้ “น้ำแข็งขั้วโลก”ละลายมากขึ้น และทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาโดยคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกาแห่งสหราชอาณาจักร BAS ที่เผยแพร่ในวารสาร Nature Geoscience พบว่า น้ำทะเลอุ่น ได้แทรกซึมระหว่างแผ่นน้ำแข็งชายฝั่งและพื้นดิน ละลายช่องน้ำแข็ง และเปิดทางให้น้ำไหลเข้าไปในน้ำแข็งมากขึ้น ส่งผลให้น้ำแข็งละลายลงสู่มหาสมุทร
การวิจัยเน้นที่ เขตกราวดิ้งโซน (grounding zones) ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำแข็งบนพื้นดินบรรจบกับทะเล เมื่อน้ำทะเลอุ่นขึ้น น้ำแข็งจะเคลื่อนตัวและละลายเร็วขึ้น โดยระยะที่น้ำอุ่นส่งผลกระทบเพิ่มขึ้นจากไม่กี่เมตรเป็นหลายสิบกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม การรุกล้ำของน้ำทะเลยังไม่ได้ถูกรวมอยู่ในแบบจำลองของ (IPCC) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยอธิบายว่าเหตุใดน้ำแข็งในแอนตาร์กติกาและกรีนแลนด์จึงหดตัวเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ดร.อเล็กซานเดอร์ แบรดลีย์ จาก BAS ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัยกล่าวว่า
แบบจำลองที่ใช้กันอยู่อาจไม่ได้รวมการรุกล้ำของน้ำทะเลเข้าไปด้วย การศึกษาของเราเป็นจุดพลิกผันใหม่ที่ทำให้เรารู้ว่าเหตุใดแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาถึงได้ละลายเร็ว หมายความว่าการประเมินระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันอาจจะต่ำกว่าความเป็นจริงอย่างมีนัยยะสำคัญ
เอเวอเรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,849 เมตร เป็นยอดเขาที่ท้าทายนักปีนเขาทั่วโลก แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบศพบนยอดเขาแห่งนี้มากขึ้น พันตรี Aditya Karki ผู้นำทีมทำความสะอาดและกู้ภัยเปิดเผยว่างานนี้เต็มไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงในการทุบน้ำแข็งหรือละลายน้ำแข็งบนศพด้วยน้ำเดือด
ตั้งแต่เริ่มสำรวจเอเวอเรสต์ในปี 1920 มีผู้เสียชีวิตบนเขากว่า 300 ราย สำหรับนักปีนเขาที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงเพื่อพิชิตยอดเขา ทีมกู้ภัยเองก็ต้องใช้งบประมาณมากในการนำร่างไร้วิญญาณลงมา โดยศพหนึ่งศพต้องใช้คนถึง 8 คน ในการช่วยกันเคลื่อนย้าย ซึ่งรวมถึงน้ำหนักศพและอุปกรณ์ที่แต่ละคนต้องแบกกว่า 100 กิโลกรัม
ในปี 2554 ประเทศไทยเผชิญกับอุทกภัยรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี นับตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่ในปี 2485 โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดคือภาคเหนือและภาคกลาง มีผลกระทบรวม 74 จังหวัด 844 อำเภอ และ 5,919 ตำบล ประชาชนเดือดร้อน 16.2 ล้านคน หรือกว่า 5.2 ล้านครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1,026 คน บาดเจ็บ 33 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 11.8 ล้านไร่ และมูลค่าความเสียหายทั้งหมดประมาณ 23,839 ล้านบาท จากการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมพบว่า พื้นที่น้ำท่วมครอบคลุม 31.45 ล้านไร่ใน 72 จังหวัด 763 อำเภอ และ 5,296 ตำบล กระจายตัวทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
จากผลกระทบจากการที่มีปริมาณฝนสะสมสูงกว่าปกติ ทำให้เขื่อนมีน้ำมากเป็นประวัติการณ์ แต่ไม่สามารถระบายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จึงส่งผลให้ 21 จาก 33 เขื่อนเกิดสถานการณ์น้ำล้นเขื่อน โดยสรุปทั้งปีมีการระบายน้ำออกจากทุกเขื่อนรวมกันสูงถึง 56,241 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกันกับปริมาณน้ำไหลเข้าทั้งปี ถึงแม้จะมีการระบายน้ำออกไปในปริมาณมาก แต่ ณ สิ้นปี ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทุกเขื่อนยังคงเหลือมากถึง 61,097 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 87% ของความจุเขื่อน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
น้ำท่วมปี 2567 ส่งผลกระทบรุนแรงต่อหลายจังหวัดในภาคเหนือ เช่น เชียงราย แพร่ น่าน และพะเยา โดยคาดการณ์ว่าจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมหาศาล มวลน้ำเริ่มไหลลงสู่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ทำให้เกิดความเสี่ยงในพื้นที่เหล่านี้ด้วย
นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเมืองน่าน ประเมินว่าน้ำท่วมครั้งนี้รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของจังหวัดน่าน และคาดว่าจะมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท ขณะนี้มีการระดมกำลังช่วยเหลือผู้ประสบภัยและวางแผนฟื้นฟูพื้นที่อย่างเร่งด่วน