โดย "หมอเนตร" ทิพย์รัตน์ แก้วใส นักกายภาพบำบัดประจำทีมวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ออกมาเล่าเบื้องหลังการฟื้นฟูร่างกายจากอาการบาดเจ็บของ "แนน" ทัดดาว นึกแจ้ง นักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ที่ได้รับบาดเจ็บที่หลังจากศึกเนชันส์ ลีก 2022 เมื่อเดือนมิถุนายน จนต้องเข้ารับการผ่าตัด และมีเวลาแค่ 6 สัปดาห์สำหรับการฟื้นฟูร่างกายให้หายทันไปลงแข่งขัน "วอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก 2022"
"หมอเนตร" โพสต์ผ่าน อินสตาแกรม tara_maya ระบุว่า "โพสต์นี้ขอโพสต์ถึงนักกีฬาคนเก่ง คนแกร่ง อีกคนที่ฝ่าฟันทั้งปัจจัย trauma ทั้งทางกายและทางใจ"
"หลังจากที่แนนได้รับบาดเจ็บแบบ rare case กระดูก transverse process ของ lumbar spine ร้าวหลายระดับเพราะของกล้ามเนื้อ iliopsoas กระชากตรงจุดเกาะอย่างรุนแรง (mri and ct scan) แนนได้พักฟื้นที่โรงพยาบาลปิยะเวทในการรักษาภาวะอักเสบและการร้าวของกระดูก ขอบคุณทางโรงพยาบาลปิยะเวทและแพทย์ในทีมวอลเลย์บอล และผู้ใหญ่ทุกฝ่ายที่จัดการกานรักษาขั้นแรกให้แนนเป็นอย่างดี"
"หลังจากออกโรงพยาบาลเรามีเวลา 6 อาทิตย์สำหรับการฟื้นฟูนักกีฬาให้ทันและพร้อมที่สุดในการแข่งขันชิงแชมป์โลกเดินทางวันที่ 20 ก.ย. 2022 โปรแกรมของแนนแน่นไปด้วยโปรแกรมเวตเทรนนิ่งที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับภาวะบาดเจ็บที่หลัง, โปรแกรมฟื้นฟูฯ เพื่อเตรียมซ้อม skill และระบบทีม ในโปรแกรมฟื้นฟู ประกอบด้วย mobility, flexibility, neuromuscular activity, core stability, strengthening - functional exercise และเข้าซ้อมสกิลพื้นฐานทางวอลเลย์บอล"
"2 week แรก แนนต้องมี progress อะไรบ้าง, 4 week แนนต้อง progress อะไรเพิ่ม, 6 week แนนต้อง progress อะไรเพื่อเข้าสู่ performance ของนักกีฬา และสามารถนำตัวเองไปสู่ high performance ของตัวเอง"
"แทบทั้งวันที่แนนต้องเดินวนฝึกที่ตึกวิทย์ห้องกายภาพบำบัด, ห้องพยาบาล, ห้องเวต, ห้องสรีระ, ห้องซ้อมตัวเอง ต้องขอบคุณทุกงานทุกฝ่ายของศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาที่เอื้อเฟื้อและดูแลนักกีฬาไปด้วยกันค่ะ"
"ในระหว่างทางที่ต้องเพิ่ม mobility ของ spine แนนก็ติดโควิดก็ต้องทำออนไลน์กัน แนนถึงได้รู้ว่าหลังแข็งมาก และความยืดหยุ่นหายไปหมด เราปรับให้แนนฝึก isokinetic ของกล้ามเนื้อขาในช่วง 2 อาทิตย์แรกที่เวต เพราะไม่อยากให้การเวตช่วงล่างส่งผลต่อหลังที่ยังแข็งๆ แน่นๆ อยู่555 ช่วงที่พี่ไม่อยู่ก็ได้นักกายภาพท่านอื่นคอยช่วยในโปรแกรมที่พี่ให้ไว้ผ่านไปด้วยดีทั้งน้องป๊อบและน้องเฟิร์น รวมไปถึงงานกายภาพบำบัดของ กกท. ขอบคุณมากๆ ขอบคุณมากๆ นะคะ"
"การฝึก mobility ช่วงแรกเราฝึก front-back line และ lateral line จนน้องทำได้ดี ส่วนที่ยากที่สุดของแนนคือท่าที่แนนบาดเจ็บมาคือ transvers plane หรือการ rotation ลำตัว การล้มหมุนตัวไปดีเฟนต์บอล สมองมันจำว่าการเคลื่อนที่แบบนี้ทำให้เจ็บ ตัวแนนแข็งไปหมด หมุนตัวด้านซ้ายไม่ได้ เราต้องประคองและช่วยไกด์ให้จนแนนรู้ว่าทำได้ ไม่เจ็บแล้ว ใช้ท้อง suck เข้าตลอดเวลา"
"เราดีใจมากๆ ที่เห็นแนนเริ่มซ้อมระบบกับทีมทั้งรับและบุก จนมาข้อเท้าพลิกก่อนเดินทางอาทิตย์นิดๆ นักกายภาพบำบัดใจสลาย ทีมใจสลาย นักกีฬาก็ใจสลาย"
โชคดีที่เป็นการบาดเจ็บ grade I ด้วยเครื่องมือที่ช่วยในเรื่อง healing process ได้รวดเร็วกว่าเมื่อก่อนทำให้แนนลงน้ำหนักเต็มๆ เท้าวันที่ 5 และก็เริ่มกระโดด(อีกครั้ง)ได้ภายหลังจากข้อเท้าพลิก แต่ยังมีข้อติด(จากหลังส่วนล่างที่ติดเพราะบาดเจ็บ และนอนพักฟื้น เปลี่ยนมาข้อเท้าติดเพราะข้อเท้าพลิก555555) ตอนนั้นมันเห็นถึงความหนักแน่น, มั่นคง แหละทะเยอทะยานของแนนว่าจะทำให้ได้ มันไม่มีข้อสงสัยในตัวเองเลยว่าทำไปทำไมวะ ทำไมอุปสรรคเยอะจังวะ "แนนมีแค่หนูไม่เจ็บมุมนี้แล้ว หนูขอกระโดดดูนะคะ วิ่งได้แล้วค่ะ"
"ข้อเท้าแนนเคลื่อนที่ได้เต็มช่วงจากทุกมุมวันที่ 13 หลังบาดเจ็บก่อนแข่งกับตุรกี 1 วัน คุณหมอมาตรวจร่างกายในส่วนที่บาดเจ็บทั้งหลังและข้อเท้าก่อนแข่ง วันที่แข่งใจก็ตุ๊บๆ ว่าแนนจะยืนระยะได้มั้ย และในที่สุดแนนก็ทำได้ และทำให้เห็นว่าร่างกายมันไม่ทรยศใคร การซ้อมมันไม่ทรยศใคร ทำอะไรไว้ก็ได้ในสิ่งที่ทำ ขอบคุณทุกความพยายามและความกล้าหาญของแนนต่อนักกายภาพบำบัดที่ทะเยอทะยานในโปรแกรมคนนี้นะคะ พี่รู้ว่าทั้งเหนื่อยทั้งยาก แต่แนนทำได้จริงๆ หมดทุกข์หมดโศกแล้วนะคะ ต่อแต่นี้ขอให้เจอแต่สิ่งที่ดีและนิสัยที่เข้มแข็งนี้นำพาแนนไปจุดหมายที่ตัวเองตั้งใจให้ได้ หนูเก่งมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณนะคะ"