svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวประชาสัมพันธ์

Tong Hua Media Lab: การปรับตัวธุรกิจเข้ากับสื่อในยุคอนาคต ผ่านแนวคิดของคนรุ่นใหม่

"หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว" นสพ.จีนชั้นนำของไทย ปรับตัวธุรกิจเข้ากับสื่อในยุคอนาคต เปลี่ยนชื่อเป็น “Tong Hua Media Lab” สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัท กับการเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ การนำเสนอสื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ผ่านแนวคิดของคนรุ่นใหม่

บริษัท หนังสือพิมพ์ตงฮั้ว จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 ตั้งแต่ยุคที่ อินเตอร์เน็ต (Internet) ยังไม่ถูกคิดค้นหรือเป็นที่รู้จัก และตั้งแต่นั้นมาบริษัท บริษัทได้สั่งสมประสบการณ์มากกว่า 60 ปีในอุตสาหกรรมสื่อ จนนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ภายใต้ชื่อ บริษัท ตงฮั้ว คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) เปลี่ยนเป็นชื่อ บริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) นับจนถึงปัจจุบันเกือบ 30 ปี โดยบริษัทเริ่มต้นจากการเป็นบริษัทหนังสือพิมพ์จีน และเติบโตจนกลายเป็นหนังสือพิมพ์จีนชั้นนำของประเทศไทย มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด สืบเนื่องจากการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเป็นหนังสือพิมพ์หลากสีแห่งแรกในประเทศไทยและเป็นบริษัทหนังสือพิมพ์จีนแห่งแรกที่นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดพิมพ์หนังสือพิมพ์

 

ล่าสุดคณะกรรมการบริษัทหนังสือพิมพ์ ตงฮั้ว จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในเครือของบริษัท ตงฮั้ว โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) มีมติคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 ให้เปลี่ยนชื่อบริษัท จาก บริษัทหนังสือพิมพ์ ตงฮั้ว จำกัด เป็น บริษัท ตงฮั้ว มีเดีย แล็บ จำกัด หรือ Tong Hua Media Lab  ซึ่งได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแล้ว ในการเปลี่ยนชื่อใหม่ครั้งนี้  เพื่อเป็นการรีแบรนด์ และเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลง

 

โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เล็งเห็นการพัฒนาของเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนมากมาย รวมไปถึงความล้มเหลวของธุรกิจที่ถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดเวลา แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนร่วม และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงอุตสาหกรรมของสื่อในรูปแบบต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่า นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น 

 

ตลอดสองสามปีที่ผ่านมา ทางทีมงานได้เฝ้าติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ของอุตสาหกรรมสื่อ (Media) ในหลากหลายรูปแบบ จากการวิจัยอย่างละเอียด สรุปได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานของสื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันถูกออกแบบให้มีผลเสียกับผู้บริโภคอย่างเห็นได้ชัด (corrupted by design) ซึ่งผลเสียเหล่านี้ควรที่จะถูกแก้ไขและเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีกว่า เพื่อสร้างสังคมของการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การระบาดใหญ่ของ Covid-19 ยิ่งทำให้สังคมโดยภาพรวมตระหนักถึงความด้อยประสิทธิภาพของสื่ออย่างชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบของการนำเสนอข่าวปลอม ข้อมูลเท็จและการถูกเซ็นเซอร์หรือห้ามแสดงความคิดเห็นในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคมจากรัฐบาล จากปัญหาที่มองเห็น ทางทีมงานได้ร่วมกันวิเคราะห์ และคิดค้นวิธีในการแก้ปัญหา เพราะเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้ควรถูกแก้ไขโดยเร็วที่สุด

 

การเปลี่ยนแปลงกำลังจะเริ่มต้น ณ. จุดนี้ ทางบริษัทฯ และทีมงาน มีความรู้สึกตื่นเต้นที่จะประกาศว่า Tong Hua Daily News กำลังรีแบรนด์เป็น Tong Hua Media Lab เพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัท ฯ ในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดใหม่ในการนำเสนอสื่อให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นด้วย “คุณค่า” และ” วิสัยทัศน์” ที่ชัดเจนของบริษัท

 

คำว่า Media (สื่อ) หมายถึงอะไร แต่ละบุคคลตีความหมายของสื่อไปในรูปแบบต่าง ๆ บางคนใช้สื่อเพื่ออธิบาย หนังสือพิมพ์ วิทยุ และ โทรทัศน์ สื่อในรูปแบบเหล่านี้เรียกรวมๆ ได้ว่า การสื่อสารมวลชน (Mass media) บางคนตีความสื่อในรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลเช่น เทป (tapes) ซีดี (CDs) เป็นต้น แต่ความจริงแล้ว “Media (สื่อ)” เป็นพหูพจน์ของคำว่า “Medium (ตัวกลาง)” ในภาษาละติน หมายถึง ตัวกลางซึ่งหมายถึงตัวเชื่อมต่อระหว่างของสองสิ่ง สำหรับบริษัทแล้ว สื่อหมายถึงช่องทางการสื่อสารที่ใช้ในการจัดเก็บและส่งต่อข้อมูลระหว่างผู้คน แต่ในอนาคตอีกไม่ช้าเมื่อแมชชีน (machine)มีความฉลาดในการเรียนรู้มากขึ้น สื่อจะกลายเป็นตัวกลางที่ช่วยในการสื่อสารและโต้ตอบกับแมชชีน

 

คำว่า Lab (ห้องทดลอง) ได้ถูกนำมารวมในชื่อเพื่อเน้นย้ำถึงแนวทางที่เน้นการวิจัยและพัฒนา และจะไม่เป็นเพียงบริษัทหนังสือพิมพ์อีกต่อไป แต่จะเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาของสื่อในยุคปัจจุบันผ่านการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

 

บริษัทฯ มุ่งมั่นเป็นอย่างมากที่จะทำให้วิสัยทัศน์ของการสร้างสื่อยุคอนาคตของบริษัทให้เกิดขึ้นจริงได้ โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาสื่อที่มีลักษณะดังต่อไปนี้:

  1. Semantic (การมีความหมาย): ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่แล้วคือแมชชีน ดังนั้นสื่อจึงไม่ควรที่จะถูกออกแบบมาเพื่อผู้คนเท่านั้น ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตควรที่จะถูกออกแบบและมีโครงสร้างในลักษณะที่แมชชีนสามารถเรียนรู้ได้เช่นกัน
  2. Decentralized (การกระจายอำนาจ): การถูกควบคุมของสื่อในรูปแบบต่างๆ ควรที่จะถูกกระจายออก - Power tends to corrupt and absolute power corrupts absolutely.
  3. Interactive (การโต้ตอบ): สื่อในยุคอนาคตควรใช้ความสามารถของการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication) ของอินเตอร์เน็ตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมไปถึงการใช้อุปกรณ์การสื่อสารให้ครอบคลุม ในหลากหลายประสาทสัมผัสเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการเสพสื่อรูปแบบใหม่ๆ
  4. Collaborative (การทำร่วมกัน): อินเตอร์เน็ตช่วยให้สามารถสื่อสารและเชื่อมต่อกับผู้คนได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันการเป็นผู้สร้างเพียงผู้เดียวอาจไม่เพียงพอในการสร้างสื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด การร่วมกัน สร้างสามารถพัฒนาและสร้างสรรค์สื่อได้เร็วและมีคุณภาพมากกว่า
  5. Customizable (ปรับแต่งได้): ผู้คนมีความต้องการที่แตกต่างกันอยู่เสมอ สื่อก็ควรที่จะสามารถปรับแต่งตามความต้องการของผู้คนได้เช่นกัน เพื่อตอบสนองความหลากหลายที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน
  6. Verifiable (ตรวจสอบได้): สื่อควรที่จะตรวจสอบได้เพื่อช่วยลดการเข้าถึงข้อมูลที่อาจผิดพลาดและช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้เสพสื่อรูปแบบต่าง ๆ

 

ก้าวต่อไปนับจากนี้บริษัท ฯ พร้อมจะลงทุนและสนับสนุน การดำเนินการ การวิจัย และการพัฒนา เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขและสร้างสรรค์อุตสาหกรรมสื่อที่ดีกว่าให้กับผู้บริโภค เพื่อตอบโจทย์ดังต่อไปนี้

  • Decentralized Discovery: การสร้างคอนเทนต์และเสพสื่อโดยไม่ต้องพึ่งพาบริการหรือแพลตฟอร์มแบบรวมศูนย์ (Centralized services)
  • Decentralized Filtering: การออกแบบวิธีการคัดกรองข้อมูลแบบกระจายอำนาจเพื่อต่อสู้กับข่าวปลอมและข้อมูลเท็จผ่าน Cryptoeconomics และ Web of Trust เพื่อสร้างสื่อที่น่าไว้วางใจและเชื่อถือได้
  • Verifiable Semantic Linked Data: การออกแบบโครงสร้างการเก็บข้อมูลสื่อที่สามารถตรวจสอบได้และอยู่ในรูปแบบภาษาที่แมชชีนสามารถอ่านได้ ผ่าน semantic และ cryptographic technology
  • Interactive experience: การออกแบบประสบการณ์เชิงโต้ตอบสำหรับผู้ใช้งานและแมชชีน เพื่อสร้างประสบการณ์การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์และเสพคอนเทนต์
  • Innovative monetization models: การสร้างรายได้ในสื่อปัจจุบัน เช่น การแสดงโฆษณาที่สร้างความรำคาญ และการนำข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ถือเป็นการล่วงล้ำสิทธิส่วนบุคคล ผู้บริโภคสื่อสมควรได้รับสิ่งที่ดีและยุติธรรมมากกว่านี้!
  • Confirmation Bias: การลดการเสพสื่อแบบอคติผ่านตัวชี้วัดที่นำเสนอให้ผู้บริโภคมองสิ่งต่าง ๆ ได้รอบด้านมากยิ่งขึ้น

 

การรีแบรนด์ครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการส่งสัญญาณเล็กๆของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ มาร่วมกันเตรียมตัวให้พร้อม แล้วร่วมตะโกนคำว่า 'Eureka' ไปด้วยกัน!