24 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยว่า ภายหลัง เฟซบุ๊ค นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ Faculty of Law, Chulalongkorn University ซึ่งเป็นเพจเผยแพร่ความเคลื่อนไหว กิจกรรมวิชาการ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ ได้ออกแถลงการณ์ ชี้แจง กรณีหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต (นอกเวลาราชการ) ได้รับความเสียหายตามที่ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ไปแล้วนั้น
ปรากฎว่า ตลอดทั้งวัน ได้มีนักวิชาการ นักกฎหมาย ศิษย์เก่า - ศิษย์ปัจจุบัน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ รวมถึง สถาบันต่างๆ ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย น่าสนใจ โดยเฉพาะ การตั้งคำถาม ถึงช่องโหว่ที่ทำให้ข้อสอบรั่วสถาบันอุดมศึกษาที่มีชื่อเสียง และจะหาทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร
แถลงการณ์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568
อาทิ “ผมเป็นศิษย์เก่าที่จบด้วยความยากลำบาก ในเทอมสุดท้าย หลังจากสอบติดต่อกันห้าวันแทบไม่ได้นอน จนวิชาสุดท้ายนิ้วช้ำกำปากกาไม่ไหว ต้องเอาผ้าเช็ดหน้ามัดมือกับปากกาอดทนเขียนกระดาษคำตอบวิชาละสองเล่มจนจบวิชาสุดท้าย ขอได้โปรดเรียกคืนศักดิ์ศรีกลับมาให้ผมด้วยครับ"
++++++
ยังมีผู้เข้ามาแสดงความเห็นสะท้อนประสบการณ์ทำข้อสอบ คณะนิติศาสตร์ ด้วยความอุตสาหะ ยากลำบาก แต่ต้องมาเจอ แบบนี้ ว่า ...
"ไม่ว่าจะโกงในหลักสูตรไหน ก้อไม่ถูกค่ะ เห็นมีคอมเม้นท์หลายอันบอกอย่าเข้าใจผิด เป็นคนละหลักสูตร ไม่ใช่ ป.ตรี หลัก ของคณะศิษย์เก่า ป .โท เรียนจบมาด้วยความลำบาก สอบคอมพรีเฮนสีฟ อ่านหนังสือ และเขียนคำตอบรวดเดียว 6 -8 วิชา จนมือแทบกระดิกไม่ได้ นี่ รู้สึกเศร้ามากค่ะ"
สุภาพสตรี ท่านหนึ่ง ให้ความเห็นว่า " มั่นใจในหลักสูตรนะคะ ตอนเรียนต้องเรียนด้วยความอุตสาหะและตั้งใจมากๆ และวันนี้ก็ยังคงเชื่อมั่นในคุณภาพของหลักสูตรค่ะ คนที่คิดไม่ดี คิดทุจริต ก็จะหาช่องทางในการทำทุจริตไม่วิธีใดวิธีหนึ่งได้ หาใช่เรื่องของคุณภาพของหลักสูตรไม่ ส่วนคนโดยส่วนใหญ่นั้นย่อมเห็นคุณค่าและต้องการมีความภาคภูมิใจในใบปริญญาที่ได้รับมาว่าเราทำมาด้วยมือของเราเองค่ะ
ขอแสดงความเห็นในสิ่งที่ควรปรับปรุงดังนี้ค่ะ
1. เขตพื้นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่หละหลวม บุคคลภายนอกเข้าออกพื้นที่เก็บข้อสอบได้ ต้องมีมาตรการเข้มงวด ควรมีเขตพื้นที่ห้ามเข้าเด็ดขาด จำกัดผู้เข้าได้ ให้น้อยคนที่สุด
2. ที่ผ่านมา เนื่องจากมีบัณฑิตจากคณะเราต้องคำพิพากษาว่าทุจริตในหน้าที่ หลายคนแล้ว เป็นที่อับอายต่อพี่น้องร่วมสถาบัน สมควรหาวิธีคัดกรองผู้สมัครเข้าเรียนในเรื่องจริยธรรมอย่างเข้มข้น
โปรดพิจารณาค่ะ
+++++
มีผู้ตั้งข้อสังเกต คนที่นำข้อสอบไปทำ ก่อนส่งให้ "อดีตบิ๊กตำรวจ" ว่า กรณีนี้ นายอุด(นามสมมุติ) ทำไมเฉลยคำตอบของข้อสอบได้ถูกต้อง สมบูรณ์ นายอูด(นามสมมุติ) นี้ ต้องประกอบอาชีพทางกฎหมายแน่ๆ
+++++
ผู้ใช้เฟซบุ๊ค รายหนึ่ง แสดงความมั่นใจในหลักสูตรนิติศาสตร์ จุฬาฯ ระบุว่า มั่นใจในหลักสูตรนะคะ ตอนเรียนต้องเรียนด้วยความอุตสาหะและตั้งใจมากๆ และวันนี้ก็ยังคงเชื่อมั่นในคุณภาพของหลักสูตรค่ะคนที่คิดไม่ดี คิดทุจริต ก็จะหาช่องทางในการทำทุจริตไม่วิธีใดวิธีหนึ่ง ดัหาใช่เรื่องของคุณภาพของหลักสูตรไม่ ส่วนคนโดยส่วนใหญ่นั้นย่อมเห็นคุณค่าและต้องการมีความภาคภูมิใจในใบปริญญาที่ได้รับมาว่าเราทำมาด้วยมือของเราเองค่ะ
ส่วนท่านนี้ ตั้งคำถามว่า "จะเรียกคืนปริญญาบัตร หรือไม่"
"ถ้าคดีถึงศาลพิพากษาว่ามีความผิด จริง จะเรียกคืน ปริญญาบัตร จากผู้กระทำความผิดไหม คะ หรือผู้ร่วมคบคิดสมคบกันกระทำความผิด ตัวการร่วมผู้สนับสนุนการกระทำความผิด นะคะ ท่าน"
ส่วนท่านนี้ แสดงความเห็นในเชิงผิดหวัง …
เหตุการณ์นี้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันทุกคนจากทุกหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดคำถามถึงคุณภาพของใบปริญญาทุกใบ (ไม่ใช่เฉพาะหลักสูตรนิติศาสตร์ ภาคบัณฑิค (นอกเวลาราชการ)) ที่ได้รับจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากที่นี่มีคุณภาพหรือไม่
หวังว่า คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะสามารถแสดงความรับผิดชอบต่อศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันทุกหลักสูตรที่ได้รับผลกระทบโดยการกอบกู้ความน่าเชื่อถือของใบปริญญาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลับมา
… หากทำไม่ได้ … ใบปริญญาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอาจเป็นเพียงกระดาษที่ไม่มีคุณค่าอะไร รู้สึกโชคดีเหลือเกินที่ตัดสินใจศึกษาต่อจนได้รับใบปริญญาและใบประกาศด้านนิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยและสถาบันทางกฎหมายอื่น ที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและรับรองคุณภาพความรู้ด้านนิติศาสตร์ มิใช่มีเพียงใบปริญญาจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว
หลากหลายความคิดเห็น ได้มีผู้เข้ามากดไลค์ กดแชร์ สนับสนุนความคิดเห็นเหล่านี้จำนวนมาก