22 เมษายน 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าว ถึงการ แถลงข่าว ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด (SKY) เมื่อวานนี้ (21 เม.ย.) ว่า สิ่งที่บริษัทแถลงชี้แจงฟังไม่ขึ้นเลยสักข้อ โดยเฉพาะการกล่าวหา ว่าสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เครื่องมือไม่ได้มาตรฐาน ตรวจสอบได้แค่ค่าโบรอนตั้งแต่ 9-25 ppm เป็นข้อกล่าวหาที่รุนแรงมาก ซึ่งผู้อำนวยการสถาบันได้ยืนยันว่า อุปกรณ์ของสถาบันมีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบค่ามาตรฐานของเหล็ก
โดยเฉพาะค่าโบรอนได้อย่างแน่นอน ซึ่งสามารถวัดได้ตั้งแต่ 1-140 ppm ซึ่งค่าโบรอนที่เกินของ ซิน เคอหยวน สูงกว่า 8 ppm และกระบวนการเก็บตัวอย่างก็เป็นไปตามมาตรฐาน มอก. โดยเฉพาะการเข้าไปตรวจครั้งแรกเมื่อเดือน ธันวาคม 2567 ก่อนจะมีการสั่งปิดโรงงานที่ผลิต
การที่บริษัทอ้างว่าไปฟังความคิดเห็นจากอดีตข้าราชการที่เกษียณแล้ว สำนักงาน มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ.) นั้น ขอให้ไปตรวจสอบดูให้ดี เพราะขณะนี้ตนก็จะตรวจสอบ ย้อนหลังไปให้ถึงปี 2561 ว่าบริษัท ซิน เคอ หยวน ได้ มอก. มาอย่างถูกต้องหรือไม่ เพราะเงื่อนไขการออก มอก.
หากผลิตด้วยเตา IF จะต้องมีกระบวนการปรับปรุงน้ำเหล็กให้บริสุทธิ์ ซึ่งจากการลงพื้นที่ของทีมสุดซอยยังพบว่ามีกระบวนการดังกล่าว แนะนำว่าใครที่ไปให้ข้อมูลให้คำปรึกษาก็ให้คำปรึกษาดีๆ รวมถึงทีมทนายควรจะไปซักลูกความให้ได้ข้อมูลทั้งหมดมาก่อน
พร้อมระบุว่าสิ่งที่ตลกคือ "ซิน เคอ หยวน" ได้ย้อนถึงวิธีการเก็บตัวอย่าง แต่จากการที่ตนไปตรวจสอบพบว่า มีจดหมายจาก "ซิน เคอหยวน" ถึง "สมอ." ให้เข้าไปตรวจสอบตัวอย่างซ้ำหลายครั้ง
แต่ผลก็ยังเหมือนเดิม ทั้งที่การรับรองมาตรฐานหากพบว่าค่าตกเพียงตัวเดียวก็ถือว่าตก
แต่การตรวจสอบนี้พบว่าตกทั้งสามตัวอย่าง จึงเห็นว่าสิ่งที่แถลงเมื่อวานเป็นการพูดไม่หมด พูดเฉพาะพูดเฉพาะบางช่วงบางตอน และยังไม่ตอบคำถามอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นฝุ่น ที่มีถึง 50,000 ตัน ทั้งที่แจ้งไว้แค่ 2,000 ตัน
ซึ่งสืบพบว่า "ซิน เคอ หยวน" มี ความเชื่อมโยงกับบริษัทที่ลักลอบนำเข้าฝุ่น จากต่างประเทศ แค่เนื่องจากที่ผ่านมา "ซิน เคอ หยวน" ไม่เคยให้การเป็นประโยชน์จึงต้องขอหมายศาล และให้ทีมสุดซอยร่วมกับดีเอสไอ เข้าไปเก็บหลักฐานสำคัญทั้งหมดมาแล้ว
ทั้งนี้ นายเอกนัฏ ตอบว่า สามารถผลิตได้ประมาณปีละ 4,000,000 ตัน แต่จากข้อมูลของสภาอุตสาหกรรมพบว่า มีความต้องการเหล็ก เฉพาะเตา EAF ซึ่งเป็นเตาไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคุมคุณภาพได้มากกว่า สามารถผลิตเหล็กได้เกินความต้องการของตลาดไปแล้ว
ดังนั้นการยกเลิกการผลิตเหล็กโดยเตา IF นอกจากจะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องมลภาวะแล้ว ยังช่วยอุตสาหกรรมเหล็กด้วย เพราะระบบเตา IF หลายประเทศมีการยกเลิกไปแล้ว