25 กุมภาพันธ์ 2568 จับตาประเด็นร้อน "ฮั้ว สว." จากกรณี กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI มีหนังสือ ลับ ด่วนที่สุด ที่ ยธ 0824/0050 ลงวันที่ 3 ก.พ.2568 แจ้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอทราบรายละเอียด เกี่ยวกับคำร้องแต่ละคำร้องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไว้ดำเนินการ รวมทั้งขอทราบว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ ดำเนินการอยู่ในขั้นตอนใดแล้ว
ทั้งนี้ในเอกสารดังกล่าว แจ้งความคืบหน้าการสืบสวนสออบสวนปม "โพยฮั้ว สว." ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี 2567 โดยระบุชัดว่ามีพฤติกรรมฮั้ว ทำเป็นขบวนการ มีการจ่ายค่าจ้าง ความผิดเข้าข่าย "อั้งยี่" พร้อมเตรียมรับเป็นคดีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มสว. ได้ออกมาตอบโต้ ประกาศสงคราม เตรียมยื่นถอดถอน "รัฐมนตรี" ที่กล่าวหา อั้งยี่ พ่วงยื่นอภิปราย-แจ้งความ-เชิญสอบในกรรมาธิการ
ล่าสุดในช่วงบ่ายวันนี้ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี จะไปเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วย พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองประธานกรรมการ นางพงษ์สวาท นีละโยธิน ปลัดกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เจ้ากรมพระธรรมนูญ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย นายกสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิ ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง อีก 9 ราย ร่วมเป็นคณะกรรมการ
รวมทั้งมี พันตำรวจตรี ยุทธนา แพรดำ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เป็นกรรมการและเลขานุการ ในการประชุม มีวาระ การรายงานผลการดำเนินคดีสำคัญและการพิจารณารับคดีอาญาอื่นเป็นคดีพิเศษด้วย ที่ห้องแถลงข่าว ชั้น 2 อาคารกระทรวงยุติธรรม
เช็กเสียง คณะกรรมการคดีพิเศษ
คณะกรรมการมี 22 คน การพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ ในฐานความผิดที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติ ต้องเป็นการเสนอโดยอธิบดีดีเอสไอ ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (2) ใช้เสียง 2 ใน 3 = 15 เสียงขึ้นไป (2 ใน 3 คือมากกว่า 14 เสียง)
เช็กเสียงฝั่งที่ไม่น่าให้รับเป็นคดีพิเศษ ถ้าได้ถึง 7 เสียง โอกาสรับเป็นคดีพิเศษ = 0
กลุ่มที่มีแนวโน้มไม่รับเป็นคดีพิเศษ
รวม 5 เสียง
กลุ่มลังเล
รวม 2 เสียง
กลุ่มกรรมการตัวจริงขาดประชุม หรืออาจไม่เข้าประชุม แล้วส่งผู้แทน
รวม 4 เสียง ตามมารยาท ผู้แทนจะไม่ลงมติ หรืองดออกเสียง
บทสรุป โอกาสที่กรรมการคดีพิเศษจะลงมติรับคดี “ฮั้ว สว.” เป็นคดีพิเศษ โดยได้เสียงถึง 15 เสียงมีความเป็นไปได้น้อยมาก
แนวทางที่จะดำเนินการต่อไป ดังนี้
หน่วยงานตำรวจที่มีอำนาจหน้าที่ คือ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ซึ่ง กกต.ก็ขอความร่วมมือให้ตรวจสอบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการเลือก สว.ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวอีกด้านหนึ่งของการประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ ที่จะประชุมกันช่วงบ่ายวันนี้ ว่าจะรับคดี “ฮั้ว สว.” เป็นคดีพิเศษหรือไม่
หลังจากกลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา มีข่าวการล็อบบี้กันอย่างหนัก และมีความเคลื่อนไหวของ “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” เดินเกมด้วยตัวเอง ทำให้มีกระแสข่าวออกมาว่า มติของคณะกรรมการคดีพิเศษน่าจะยังไม่เคาะรับเรื่องนี้ไว้เป็นคดีพิเศษ ด้วยเหตุผล ดังนี้
ทว่าล่าสุด “เนชั่นทีวี” ได้ตรวจสอบไปยัง “หนึ่งในกรรมการที่เป็นฝ่ายการเมือง” ได้รับการเปิดเผยว่า ได้ทราบข่าวการล็อบบี้กันของบุคคลตามที่เป็นข่าวแล้ว แต่ทราบว่ากรรมการหลายคนไม่ได้หวั่นไหวไปตามแรงกดดัน เนื่องจากทางดีเอสไอได้นำเอกสารหลักฐานต่างๆ เข้าชี้แจงให้เห็นถึงความร้ายแรงของข้อกล่าวหาและการกระทำความผิด
“กรรมการหลายคนที่มีข่าวถูกการล็อบบี้ ก็โทรศัพท์กลับมายืนยันว่ายังจะลงมติเหมือนเดิม คือ รับเป็นคดีพิเศษ ฉะนั้นจึงต้องรอดู ยังมั่นใจว่าสุดท้ายมติจะออกตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ” หนึ่งในกรรมการซึ่งเป็นฝ่ายการเมือง ระบุ