svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"อดีตเลขาธิการ สมช." เผยปัญหาการศึกษาของเด็กและเยาวชนมี 4 ข้อใหญ่ๆ

"พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร" เผย "กลุ่มสวัสดีคนไทย" จัดกิจกรรม "พูดคิดพูดคุย" เนื่องในวันเด็ก หาข้อสรุปปัญหาการศึกษาของเด็กและเยาวชน ทำให้เด็กไทยไม่เทียบเท่านานาประเทศ มี 4 ข้อใหญ่ๆ พร้อมเสนอทางแก้ปัญหา 9 ข้อ ให้ผู้มีอำนาจในรัฐบาลไปปรับใช้

12 มกราคม 2568 พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้เผยถึงสรุปผลกิจกรรม "พูดคิดพูดคุย" เนื่องในโอกาสวันเด็กและวันครู เมื่อ 12 มกราคม 2568

 

\"อดีตเลขาธิการ สมช.\" เผยปัญหาการศึกษาของเด็กและเยาวชนมี 4 ข้อใหญ่ๆ

ประเด็น : "ครู นักเรียน หลักสูตร : นำเด็กไทย ไปสากล" ของ "กลุ่มสวัสดีคนไทย"

 

โดย พล.ท.ภราดร , ดร.พิศุทธิ์  จำเริญรวย, ดร.จรัสโรจน์ บถดำริห์ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำและอดีตผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักนายกรัฐมนตรี,ทนายชัชวาลย์  บำรุงวงศ์, ครูป้อ ( ณัชกร งามจามรีกุล ), ดร.รัฐกานต์ วิชัยดิษฐ และคุณนฤมล ตลึงสัตย์ ( โค๊ชน้ำมนตร์ ) กับ "คนรุ่นใหม่" นายธณัชย์ปกรณ์ สุทธิเดช  (เตรียมอุดมศึกษา / ป.ตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี (หลักสูตรนานาชาติ, BBA international programme) เกียรตินิยมอันดับ 1 : ป.โท MSc Strategic Marketing, Imperial College London. เกรด distinction และติด the Dean's list ปี 2023-2024 )

 

 

\"อดีตเลขาธิการ สมช.\" เผยปัญหาการศึกษาของเด็กและเยาวชนมี 4 ข้อใหญ่ๆ

 

และมีข้อสรุปว่าปัญหาการศึกษาของเด็กและเยาวชน แบ่งได้เป็น 4 ประเด็น คือ

\"อดีตเลขาธิการ สมช.\" เผยปัญหาการศึกษาของเด็กและเยาวชนมี 4 ข้อใหญ่ๆ

 

 

 1. "การใช้งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ"  ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไม่เคยตรงกับผลลัพธ์ที่ชาติต้องการ เพราะใช้งบประมาณไปใน "เชิงปริมาณ" ด้านค่าใช้จ่ายและวัสดุอุปกรณ์ มากกว่าใน “เชิงคุณภาพ“ ที่เป็นการลงทุนในตัวหลักสูตร เทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์ โดยตรงคือ ”นักเรียน“(ผู้รับ)และ ”ครู“(ผู้ให้)

 


 2. การกระจาย ”ทรัพยากรและงบประมาณ“  ไม่ทั่วทุกพื้นที่ ไม่เหมาะสม  ทำให้ ”โอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้“ มีความแตกต่างเกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงคุณภาพการศึกษา ระหว่าง ”ลูกหลานสามัญชน“ คนต่างจังหวัด และ ”ลูกหลานอภิสิทธิ์ชน“ คนเมืองใหญ่  ทั้งๆที่ เด็กพื้นที่ใดก็ตามควรต้องมีโอกาสและทรัพยากรสนับสนุนที่ใกล้เคียงกัน

 


 3. เรื่อง ”ภาระงานเกินพอดีของครู“  รายได้และสวัสดิการของครูที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดภาระหนี้สิน ทำให้พลังของ “ครู” ลดลง จากพันธกิจ ” แม่ของแผ่นดิน“ ที่ทำหน้าที่แทน พ่อแม่  / ผู้ปกครอง ที่ต้องใช้เวลาไปกับการประกอบสัมมาชีพในแต่ละวัน

 


 4. เรื่อง ”หลักสูตร“  ที่เน้นค่านิยม การเรียนเยอะ ท่องจำ ทำคะแนน เพื่อวัดผล / ยิ่งเรียนมาก ยิ่งเรียนสูง ยิ่งดี ซึ่งไม่สอดคล้องกับ ”บริบทโลกสากล “ เพราะเป็นความรู้ในเอกสารที่ไม่ทันปัจจุบันและอนาคต ไม่เป็นข้อมูลทางเทคโนโลยีเพื่อให้สอดคล้องกับโลกในอนาคตที่มีความเป็นสากลและเปลี่ยนแปลงหมุนเร็วขึ้นมาก

 

…..“ผลร้ายจากปัญหาทั้ง 4  ข้อ”  จึงไปตกที่ ”เด็กและเยาวชน“  ซึ่งในช่วงต้นของชีวิตการศึกษาในโรงเรียน ที่ควรสนุกสนาน กับการเรียนรู้ มีจินตนาการ เกิดปัญญาและนำไปใช้ ทั้งด้าน hard skill และ soft skill ในโลกอนาคต แต่กลับต้องมาเรียนหนัก ให้จำ ให้ทำคะแนน  แต่ไม่สามารถใช้เป็น ”ฐานของปัญญา“ เพื่อนำไปใช้ในโลกสากลแห่งการแข่งขันในทุกระดับ

 

…..ในความเป็นจริง “เด็กไทย”

 

มี ”ต้นทุนศักยภาพและพรสวรรค์“  ไม่ได้ด้อยกว่าเด็กชาติอื่นๆ ไม่ว่าจะเปรียบเทียบในด้านวิทยาศาสตร์หรือศิลปศาสตร์ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าโดยพื้นฐาน เด็กไทย มีศักยภาพที่เป็นต้นทุนที่สูงมาก

 


….ดังนั้น ปัญหาจึงไม่ใช่ ”จุดด้อยของเด็ก“ แต่เป็นปัญหา ”จุดด้อยของผู้ใหญ่“ ที่ไม่ส่งเสริมให้ศักยภาพของเด็กไทย พัฒนาให้กลายเป็น “พลังของชาติ” ในทุกมิติ และในระดับสากล

 

 

ข้อเสนอของ “กลุ่มสวัสดีคนไทย”

 

 

 1. ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารการศึกษาของชาติ และเปลี่ยนวิธีคิด วิธีจัดสรรงบประมาณ โดยใช้ “ผลสัมฤทธิ์ของเด็กและเยาวชน” ผ่านการศึกษา เป็นเป้าหมายสูงสุดของชาติ ( Ultimate goal ) รวมทั้งกระจาย ”ทรัพยากรและโอกาสทางการศึกษา“ ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยเร็ว ผ่านการกำหนด วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ ด้วยคนรุ่นใหม่ ทุกเพศ ทุกวัย

 


 2. ควบคุมและสนับสนุน ”การใช้งบประมาณ“ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า และคุณค่า โดยเฉพาะในส่วนการสนับสนุน ปัจจัยการเรียนรู้ของนักเรียน และการพัฒนาศักยภาพ ของครู

 


 3. ”นักเรียน“ ต้องเรียนให้น้อยลง  รู้ให้มากขึ้น   มีเป้าหมาย ความฝันและ จินตนาการ รวมทั้งมีทักษะทางอารมณ์และการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเชิงบวก โดยเฉพาะ การมีจริยธรรม คุณธรรม และสามัญสำนึก

 


 4. ”ครู“ต้องสั่ง “การบ้านเชิงท่องจำ”ให้น้อยลง แต่สอนและสนับสนุน ”ความคิดเชิงปฏิบัติและการประยุกต์ใช้“ ให้มากขึ้น เพื่อให้เด็กได้ค้นหาความชอบและความถนัด เพื่อพัฒนาเรียนรู้ตามศักยภาพตนเองจากพรสวรรค์ / พรแสวง / พรซ่อนเร้น 

 


 5. ”รัฐบาล“  ต้องสนับสนุน แก้ปัญหาให้ครูเป็น “แม่ของแผ่นดิน”  ที่ไม่มีภาระหนี้สิน และพัฒนาศักยภาพครู ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็น ”แม่พิมพ์ระดับสากล“

 


 6. ปรับปรุง แก้ไข ”หลักสูตร“  ให้ตอบสนอง “หลักคิดและหลักชีวิต” ให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตการเรียนและชีวิตจริงในโลกสากลให้มากขึ้น เพื่อให้รู้เท่าทันโลกและสอดคล้องกับ สถานะการณ์โลก ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  

 


 7. ลดภาระ ”ผู้ปกครอง“ ทั้งเรื่อง ค่าใช้จ่าย และเวลาที่เสียไปในการ แข่งขันที่เน้นแค่คะแนน เช่น การกวดวิชา ที่คิดว่า คะแนนสูงคือเก่ง หรือ ระดับการศึกษา ที่คิดว่า ยิ่งสูง ยิ่งดี

 


 8. เปลี่ยน ”ค่านิยม“ เรื่อง การศึกษาที่ดี / เด็กดี  / เด็กเก่ง คืออะไรกันแน่ ? ในการพัฒนา ส่งเสริม เด็กเหล่านั้น ให้เข้าสู่ การศึกษาขั้นอุดมศึกษา ต่อไป เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ ตลาดงาน ทั้งในประเทศและสากล

 


 9. ”นักการเมืองและข้าราชการ“ ทุกระดับ ที่มีตำแหน่ง หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย แผน และโครงการด้านการศึกษา ต้อง ”ละ ลด เลิก การทุจริต คอรับชั่น“  เพราะ ท่านกำลัง ”ปล้นเงิน  ของเด็กและพ่อแม่”

 

….”การพัฒนาเด็กไทย“
ให้มีการศึกษาและมีศักยภาพ 
ในระดับสากล
คือ   ”การพัฒนาชาติ ทางตรง“
ด้วย ”ขุมกำลังของคนรุ่นใหม่“ 
ที่ ”รัฐบาลและนักการเมือง“
ต้องมี วิสัยทัศน์ มีความสามารถ
มีความเข้าใจ 
มีความจริงใจ จริงจัง
ในการปฏิรูป ปรับปรุง
เปลี่ยนแปลง บริหารจัดการ
ระบบการศึกษาทั้งระบบ แบบ องค์รวม
ด้วย ”วิสัยทัศน์สากลทางการศึกษา“
……..ถ้าคิดไม่เป็น และทำไม่ได้ ประเทศก็จะหยุดนิ่ง และถอยหลัง ถ้าไม่อายโลก ก็ต้องอายเด็ก ! …….

 

 

 

to be continued….