svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ผมเป็น Techno Optimist" ปรากฏการณ์ AI ผ่านมุมมองประธาน กสทช.

สแกนวิสัยทัศน์เทคโนโลยี "ศาสตรารย์คลินิก นพ.สรณ" ประธาน กสทช. มองอย่างไร? ต่อพัฒนาการ AI กับนโยบายโทรคมนาคมความเร็วสูงทั่วถึงทุกตารางนิ้ว พร้อมหนุนกระทรวงดิจิทัลสร้าง LLM ภาษาไทยให้ระบบปัญญาประดิษฐ์ ดึงบริษัทดาวเทียมระดับโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

9 มกราคม 2567 ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมได้รับผลกระทบจาก AI ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในมุมมองของ "ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์" ประธาน กสทช. ผู้นำองค์กรกำกับกิจการ เขามองเห็นโอกาสที่มากกว่าของประเทศไทย

 

 

\"ผมเป็น Techno Optimist\" ปรากฏการณ์ AI ผ่านมุมมองประธาน กสทช.

"AI จะทำให้เราคิดได้ Beyond Ability" โดยประธาน กสทช. เชื่อว่า หากวิสัยทัศน์ทะยานไกลกว่าศักยภาพ จะนำไปสู่เศรษฐกิจใหม่ New S-Curve ด้านโทรคมนาคม การขนส่ง โลจิสติกส์ สุขภาพ และเทคโนโลยีอวกาศ ฯลฯ

สำหรับคนทั่วไป AI จะช่วยลดค่าใช้จ่าย สร้างความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม ต่อยอดอาชีพใหม่ๆ ไปจนถึงความสะดวกสบายในชีวิต เช่น ชมภาพยนตร์ที่ชื่นชอบ ผ่าน Netflix หรือ YouTube ได้

 

 

\"ผมเป็น Techno Optimist\" ปรากฏการณ์ AI ผ่านมุมมองประธาน กสทช.

 

 

 

“ผมคิดว่า สิ่งเหล่านี้อีก 5 ปีข้างหน้า เราแทบจำไม่ได้แล้วว่าของเดิมมันเป็นอย่างไร” ศาสตราจารย์คลินิก นพ.สรณ กล่าว และว่า “ผมเป็น Techno Optimist หวังว่าสิ่งใหม่ๆ จะทำให้เราทำงานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ”

 

 

\"ผมเป็น Techno Optimist\" ปรากฏการณ์ AI ผ่านมุมมองประธาน กสทช.

 

 

 

ประธานกสทช. มองพัฒนาการของ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่อาศัยฐานภาษาขนาดใหญ่ หรือ Large Language Models ภายใต้กระบวนการเรียนรู้ในเชิงลึก (Deep Learning) จดจำ โต้ตอบ และสร้างสรรค์องค์ความรู้ได้เหมือนมนุษย์

 

“Chat GPT เปรียบเสมือนคนที่เรียนหนังสือเก่ง สอบได้ที่ 1 คือท่องจำได้มาก ท่องแล้วท่องอีก จดจำอย่างแม่นยำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เพราะในสมองเค้าต้องมี Large Language Models ที่ใหญ่กว่าเรา” 

 

 

\"ผมเป็น Techno Optimist\" ปรากฏการณ์ AI ผ่านมุมมองประธาน กสทช.

 

 

ปัจจุบัน Large Language Models ในระบบที่กล่าวถึง แม้จะมีข้อมูลมหาศาลเพียงใด ยังก็ไม่กว้างพอหรือครอบคลุมเพียงพอที่จะรู้ทุกอย่าง หรือ ทำให้ระบบประมวลผล เที่ยงตรงไม่มีอคติใดๆ มาเกี่ยวข้อง รวมถึง LLM ภาษาไทยด้วย

 

“LLM ส่วนหนึ่ง มาจากวอชิงตันโพสต์ นิวยอร์คไทม์ Text Book ยังไม่ได้ถูก Feed เข้าไปมากนัก และ พระไตรปิฏก ก็ยังไม่ได้ถูก Feed เข้าไป ดังนั้น สิ่งที่ทาง รมว.กระทรวงดีอี กำลังทำอยู่ก็คือ ทำฐาน Large Language Models ภาษาไทย”

 

สำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อที่จะรองรับปรากฏการณ์ AI  และนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลนั้น ประธานกสทช. ยืนยันว่า ประเทศไทยเรามีความพร้อมมากพอสมควร 

 

ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตไฟเบอร์ออฟติกความเร็วสูง 200/200 Mbps คิดเป็นสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของครัวเรือนทั้งหมด ขณะที่โทรศัพท์มือถือมีเกือบ 100 ล้านเลขหมาย สามารถดาวน์โหลดได้ 48 Mbps 

 

“พูดง่ายๆ มีคนไทยจะเข้าถึง Netflix หรือ YouTube ถึง 90% ของประชากรทั่วประเทศ” 

 

ตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยมี Data ต้องใช้จำนวนมาก และเทคโนโลยีโทรคมนาคมปัจจุบันก็เป็นแบบ Data to Data แล้ว ระบบ 5G กำลังไปสู่ Wi-fi 6e สามารถส่งข้อมูลได้ 96 Gbps และ ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit) ที่ตอบสนองสัญญาณโทรคมนาคมอย่างรวดเร็ว 

 

“เราจะมีกลุ่ม OneWeb เข้ามา แล้วตามด้วย อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้ง Space X ในอนาคต” ประธาน กสทช.ระบุ 

 

เขาย้ำว่า ยุทธศาสตร์ของกสทช. คือต้องทำให้การ “เข้าถึง” AI ในอนาคต เป็นไปอย่าง “ทั่วถึง” ทุกคน ทุกบ้าน 

 

โดยกสทช.สนับสนุนให้ 7 หมื่นหมู่บ้านในประเทศไทย มีความเร็วอินเทอร์เน็ตสูงระดับ 200/200 Mbps ส่งเสริมให้เข้าถึงความรู้ใหม่ๆ พัฒนารายได้ และ อาชีพ

 

กสทช.จะทำให้ศูนย์อินเทอร์เน็ตสาธารณะ (USO Net) หมู่บ้านเป็นศูนย์ อี-คอมเมิร์ซ สอดรับกับ นโยบายรัฐบาล ส่งเสริม “ซอฟท์พาวเวอร์” ให้คนไทยมีศักยภาพ ยกระดับตัวเองตามความถนัดและความฝัน 

 

“บางคนอยากเป็น “เชฟหมู่บ้าน” ก็สามารถเรียนรู้การทำอาหารและนำเสนอความสามารถของตัวเอง แล้วเผยแพร่ออกไปสู่วงกว้างได้” 

 

กสทช.ยังสนับสนุน รพ.สต. ติดตั้งไฟเบอร์ออฟติก 500/500 Mbps ในปีนี้อีก 3,400 แห่ง และสามารถใช้ศูนย์ USO ใน การแพทย์ทางไกล (TeleMedecine) ให้กับประชาชน ช่วยวินิจฉัยโรค ดูแลสุขภาพดวงตา ฯลฯ นำแพทย์ไปสู่ครัวเรือนและชุมชน 

 

“นี่คือหนึ่งในยุทธศาสตร์กสทช.ที่ทำให้ AI ทั่วถึงและเท่าเทียม ผ่านระบบโทรคมนาคม วิทยุโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง” ประธานกสทช.กล่าวย้ำ