svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"สนธิ-ปานเทพ" ทวงถามข้อเรียกร้อง "รัฐบาล ยกเลิก MOU 44"

"สนธิ-ปานเทพ" ทวงถามข้อเรียกร้อง "รัฐบาล ยกเลิก MOU44 ขายชาติ" หลังครบ 15 วัน ขู่ลงถนนหากยังนิ่งเฉย ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ สุ่มเสี่ยงต่อการเสียเอกราชธิปไตยสิทธิอธิปไตย

24 ธันวาคม 2567 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล นายสนธิ ลิ้มทองกุล อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พร้อมคณะเดินทางไปยื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้รัฐบาลดำเนินการยกเลิก "MOU 44" และ "JC44" ที่มองว่าขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติกฎหมาย สุ่มเสี่ยงต่อการเสียเอกราชธิปไตยสิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป

 

 

\"สนธิ-ปานเทพ\" ทวงถามข้อเรียกร้อง \"รัฐบาล ยกเลิก MOU 44\"

โดยมีมวลชนคนเสื้อเหลืองรอต้อนรับปรบมือให้กำลังใจอย่างคึกคัก ก่อนที่นายสนธิจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ โดยมี นายสมคิด เชื้อคง เลขาธิการนายกรัฐมนตรี มารับหนังสือ 

 

 

\"สนธิ-ปานเทพ\" ทวงถามข้อเรียกร้อง \"รัฐบาล ยกเลิก MOU 44\"

สำหรับข้อเรียกร้องที่ได้ยื่นไปให้คณะรัฐมนตรี เสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีมีการเจรจากับประเทศกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU44 และ JC44

 

และระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิคจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย และขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนร่วมรับฟังข้อเท็จจริง โดยจะมาทวงถามคืบหน้าหลังจากครบ 15 วัน

 

ซึ่ง น.ส.แพรทองทาน ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับทราบข้อเรียกร้องดังกล่าวแล้ว แต่กลับมีท่าทีนิ่งเฉยไม่เคยพูดถึงข้อเรียกร้องผ่านสื่อแต่อย่างใด ทั้งยังไม่มีข้อตอบรับใด ๆ ว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจปัญหาของประเทศ

 

นายสนธิ กล่าวว่า การแสดงออกของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทำให้เห็นแล้วว่าจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตย บูรพาแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป

ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ซึ่งเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 

และทำการสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ประเทศไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องส่งไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ

และยังเห็นว่าคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการ ดูเหมือนคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ