svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

นางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ แถลงชี้แจง พร้อมให้ข้อมูลต่อประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชา อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน หรือ OCA: Overlapping Claim Area ซึ่งเกี่ยวข้องกับ MOU44 และในโซเชียลมีเดีย ได้มีการกล่าวถึงและเกิดความเข้าใจผิด เกิดความคลาดเคลื่อนในหลายประเด็นว่า โดยยืนยันว่า MOU44 ไม่ได้ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนใด ๆ โดยเฉพาะพื้นที่เกาะกูด เพราะตามสนธิสัญญาที่สยาม ได้ลงนามร่วมกับฝรั่งเศสนั้น บัญญัติชัดเจนว่า ''เกาะกูดเป็นของไทย'' ซึ่งมีความชัดเจนอยู่แล้ว และตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ใช้อำนาจอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด 100% และ MOU44 ก็สอดคล้องกับพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย ปี 2516 เพราะมีการระบุพิกัดต่าง ๆ ตามแนวทางการประกาศเขตไหล่ทวีป ซึ่งไทยก็ยึดหลักการประกาศตามสนธิสัญญาเจนิวา ที่ทุกประเทศ มีสิทธิที่จะประกาศการอ้างสิทธิพื้นที่ทับซ้อน และเมื่อเกิดการทับซ้อน ก็จะต้องไปเจรจา และ MOU44 ก็เป็นความตกลงร่วมกัน เพื่อให้มีการเจรจาซึ่งเป็นไปตามแนวทางสากล โดยที่ประเทศไทยไม่ได้ใช้หลักการเจรจาที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ เพราะต่างฝ่ายต่างมีสิทธิอ้างพื้นที่ และผูกพันเฉพาะผู้อ้างเท่านั้น เมื่อมีการทับซ้อนพื้นที่ ก็จะต้องมีการเจรจา ดังนั้น ใน MOU ข้อ 5 จึงระบุว่า การเจรจาจะไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่ายผู้ทำสัญญา เมื่อมีข้อพิพาท จะต้องมีการพูดคุย และไม่ว่าการพูดคุยจะเป็นอย่างไร แต่เส้นการอ้างสิทธิของไทยยังคงมีอยู่ และไทยก็ไม่ได้ยอมรับการอ้างสิทธิของกัมพูชาเช่นเดียวกัน

กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

''มีการกำหนดไว้ในข้อ 5 ของ MOU ว่า ภายใต้เงื่อนไขการมีผลบังคับใช้ของการแบ่งเขต สำหรับการอ้างสิทธิทางทะเล ของภาคีผู้ทำสัญญาในพื้นที่ที่ต้องมีการแบ่งเขต บันทึกความเข้าใจนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อการอ้างสิทธิทางทะเลแต่ละภาคีของผู้ทำสัญญา หมายความว่า การอ้างสิทธิของแต่ละฝ่ายก็จะยังคงอยู่ตามกฎหมาย ผลสำเร็จของการเจรจาจะเป็นอย่างไร จะไม่เป็นการทำลายการอ้างสิทธิ ไทยจึงต้องรักษาสิทธิการอ้างสิทธินี้ ไทยไม่ต้องตกลงอะไรทั้งนั้น จนกว่าจะมั่นใจได้ว่า สิ่งที่ไทยได้ ได้สมประโยชน์ของไทย ดังนั้น ไทยจึงไม่เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิของกัมพูชา และกัมพูชาเอง ก็ไม่ได้ยอมรับการอ้างสิทธิของไทย''  อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ ยืนยัน

กต.การันตีเกาะกูดเป็นของไทย-ย้ำใช้ MOU44 แก้ข้อพิพาทไทย-เขมร

ส่วนที่หลายฝ่ายมองควรมีการยกเลิก MOU44 นั้น อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายฯ อธิบายว่า ในปี 2552 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เคยมีมติให้ยกเลิกไปแล้ว เพราะไม่มีความคืบหน้า และความพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ท้าทายทั้งการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร สถานการณ์ความตึงเครียดในพื้นที่ชายแดน กรเจรจาช่วงนั้นจึงยังลุ่ม ๆ ดอน ๆ ซึ่งการเจรจาให้สำเร็จ ก็จะต้องขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วย แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และคณะกรรมการพิเศษ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช., กระทรวงพลังงาน และคณกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้ใช้เวลาศึกษาทบทวน 5 ปี จึงได้ข้อสรุปว่า MOU44 ยังคงมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย เพื่อนำไปสู่การเจรจาให้ประสบความสำเร็จ ในปี 2557 จึงได้เสนอให้คณะรัฐมนตรี ทบทวน และยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีในปี 2552 และกระทรวงการต่างประเทศ สนับสนุนให้ทุกรัฐบาลใช้กรอบ MOU44 เป็นกรอบพื้นฐานในการเจรจา เพราะเป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย และเคยผ่านการหารือผ่านกรอบ MOU นี้มาแล้ว จึงน่าจะเป็นกลไกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ และใช้คณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee) หรือ JTC และคณะทำงานต่าง ๆ (SOM) Senior Officials' Meeting ในการเจรจาต่อไป ซึ่งสุดท้ายไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร แต่ MOU44 ได้ให้แนวทาง และความโปร่งใสในการดำเนินการไว้แล้ว และมีการรายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ จึงถือเป็นเอกสารที่ให้ได้จริง