7 ตุลาคม 2567 ที่อาคารรัฐสภา "กลุ่มธรรมาภิบาลเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านทุจริตและคอรัปชั่น" เข้ายื่นหนังสือ ถึง"นายมงคล สุระสัจจะ" ประธานวุฒิสภา เพื่อขอให้ตรวจสอบนางสาวนันทนานันทวโรภาสสมาชิกวุฒิสภาว่ามีพฤติกรรมที่ อาจเขาขายผิดต่อมาตรฐานจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาหรือไม่
โดย"นายดิษเดช หิรัญจิรคุณ" รองประธานกลุ่มธรรมาภิบาลเครือข่ายภาคประชาชนต่อต้านทุจริตและคอรัปชัน กล่าวว่า สืบเนื่องจากการให้สัมภาษณ์ของ "นางสาวนันทนา" ต่อสื่อมวลชนถึง การเลือกกรรมาธิการพัฒนาการเมืองที่ตนเองไม่ได้ถูกรับเลือก แต่ได้ "คนขายหมู" เข้ามาในกรรมาธิการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นการพูดในลักษณะดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในเชิงด้อยค่าผู้อื่น หรือได้ค่าสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดผู้หนึ่งที่มีอาชีพเป็นแม่ค้าขายหมู ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมาธิการพัฒนาการเมืองการมีส่วนร่วมของประชาชนสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
"การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายกระทำผิดฐานดูหมิ่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 ที่ระบุว่าการกระทำที่เป็นเรื่อง ที่ผู้กระทำแสดงความรู้สึกต่อผู้ถูกดูหมิ่นในลักษณะที่ไม่ได้มุ่งต่อการทำให้เสียชื่อเสียงแต่เป็นการกระทำเพื่อเหยียดหยามสบประมาท หรือดูถูก"
ดังนั้น จึงอยากให้"วุฒิสภา"ได้มีการตรวจสอบพฤติกรรมของนางสาวนันทนา ว่าเข้าข่ายการกระทำฐานดูหมิ่นตามมาตรา 393 หรือไม่ และขอให้ตรวจสอบผู้จัดการที่อาจขัดต่อข้อบังคับ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ 2563 รวมถึงอาจขัดต่อมาตรฐานจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระฯ พ.ศ. 2561 ที่ให้ใช้บังคับแกสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญพ.ศ 2560 มาตรา 219 วรรค 2 หมวด 2 มาตรฐานทางจริยธรรมอันเป็น ค่านิยมหลัก
ทั้งนี้ หากตรวจสอบและพบว่าเป็นกรณีที่กระทำการผิดต่อกฎหมายอาญาและมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาขอให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือส่งเรื่องต่อให้หน่วยงานที่มีอำนาจเพื่อดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
ขณะที่ "นายสุนทร บุญยิ่ง" หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมายกลุ่มธรรมาภิบาล กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนตัวไม่เคยรู้จักกับนางนันทนามาก่อน การยื่นร้องเรียนครั้งนี้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ได้มีอคติส่วนตัว ส่วนจะผิดหรือไม่ผิดก็อยู่ที่ประธานวุฒิสภาพิจารณา