svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

วงการสื่อตื่นตัว ถก"นิยามศัพท์สื่อมวลชน" มึน "ผู้ประกาศข่าว" "คนเล่าข่าว"

"สภาสื่อฯ"ระดมความเห็นยกร่าง "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน" มึนศิลปิน ดารา อ่านข่าว หรือ เล่าข่าว พร้อมหนุนบัญญัติศัพท์อื่น "ข่าวแจก", "ข่าวฝาก" "นักข่าวผี" , "ซองขาว" ฯลฯ

เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567  ที่ห้องบุษบงกช บี โรงแรมรอยัลริเวอร์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ "สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ" ได้จัดให้มีการระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารและผู้แทน องค์กรสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ ออนไลน์ และแพลทฟอร์มอื่นๆ ในการร่วมกันจัดทำร่าง "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน"

วงการสื่อตื่นตัว ถก\"นิยามศัพท์สื่อมวลชน\" มึน \"ผู้ประกาศข่าว\" \"คนเล่าข่าว\"

การยกร่าง "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน" นั้น เพื่อเป็นการรวบรวมและให้ความหมายคำศัพท์ในวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ สร้างความชัดเจน ป้องกันการคลาดเคลื่อนในการตีความ และให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สามารถใช้เป็นมาตรฐานกลางในการอ้างอิงทั้งในภาควิชาชีพ วิชาการ และภาคส่วนอื่นๆ ของสังคม ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบัน

วงการสื่อตื่นตัว ถก\"นิยามศัพท์สื่อมวลชน\" มึน \"ผู้ประกาศข่าว\" \"คนเล่าข่าว\"

เปิดพิมพ์เขียว ร่างนิยามศัพท์สื่อมวลชน มี 4 หมวด

 

สำหรับร่าง "นิยามศัพท์สื่อมวลชน" ที่จัดทำขึ้นเป็นร่างแรกครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 หมวดด้วยกัน

  • หมวดที่ 1 สื่อสารมวลชนและวิชาชีพสื่อมวลชน
  • หมวดที่ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
  • หมวดที่ 3 ข้อมูลข่าวสารในวิชาชีพสื่อสารมวลชน 
  • หมวดที่ 4 คำศัพท์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

"นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี" ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ  (ขวามือ) รับฟังความคิดเห็น "การยกร่างนิยามศัพท์สื่อสารมวลชน"

อย่าง หมวดที่ 1 การนิยามคำศัพท์ "สื่อสารมวลชนและวิชาชีพสื่อมวลชน" มีเป้าหมายเพื่ออธิบายคำศัพท์พื้นฐานสำคัญเกี่ยวกับวิชาชีพสื่อมวลชนในภาพกว้าง ประกอบด้วยบริบท องค์ประกอบ อุดมการณ์ และจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชน รวมถึงกลไกที่เกี่ยวข้องในการกำกับกันเองของสื่อมวลชน ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจการนิยามศัพท์ในหมวดอื่นต่อไป

ทั้งนี้ "สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ" โดย "นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี" ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้จัดให้มีการตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบตัวตัวแทนจากสภาการสื่อ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และผู้ทรงคุณวุฒิสื่อสารมวลชน ร่วมกัน ยกร่าง "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน" ขึ้นมาเป็น ร่างแรก

วงการสื่อตื่นตัว ถก\"นิยามศัพท์สื่อมวลชน\" มึน \"ผู้ประกาศข่าว\" \"คนเล่าข่าว\"

จากนั้น ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งวันนี้ (26 กันยายน 2567 ) เป็นการจัดเวทีวีรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรสมาชิก และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

"ผู้ประกาศข่าว", "คนเล่าข่าว" คืออะไร

ในการให้"คำศัพท์เกี่ยวกับสื่อ"ครั้งนี้ ได้มีการศึกษาและจัดทำนิยามสื่อแต่ละประเภทชนิดครอบคลุม พร้อมกับมีการปรับปรุงความหมายให้ทันยุคสมัยและสภาพภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งก็มีทั้ง นิยาม "หนังสือพิมพ์" ,"สื่อสิ่งพิมพ์" ,"วิทยุโทรทัศน์", "สื่อดิจิทัล", "จริยธรรมสื่อ","จรรยาบรรณสื่อ" ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นในส่วนนี้ ดูไม่ค่อยมีการอภิปรายแสดงความเห็นสักเท่าไหร่นัก

 

แต่เมื่อมาถึง หมวดที่ 2 ว่าด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ในหัวข้อ "ผู้นำเสนอรายการข่าว" , "ผู้ประกาศข่าว" , "ผู้ดำเนินรายการข่าว", "ผู้เล่าข่าว", "พิธีกรข่าว" ปรากฏว่ามีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง พร้อมกับตั้งข้อสังเกต ถึงศิลปินดารา ที่มาอ่านข่าว มาจัดรายการ และอ่านข่าว อย่างนี้จัดอยู่ในประเภทไหน เป็นต้น

 

อย่างเช่น ในร่างฉบับดังกล่าว ระบุ "ผู้ประกาศข่าว" หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่อ่านข่าวตามเอกสารข่าวที่เตรียมไว้แล้วโดยไม่ได้แสดงข้อคิดเห็นและไม่แสดงอารมณ์ประกอบการอ่าน ก็มีนักวิชาการสื่อสารมวลชนท่านหนึ่งตั้งคำถามว่า ปัจจุบัน ผู้ประกาศข่าวไม่ได้อ่านตามเอกสารข่าวอย่างเดียว หรือถ้าอ่านตามเอกสารข่าว อาจมีข่าวรวมการเฉพาะกิจ ข่าวสำนักพระราชวัง เท่านั้น

นอกนั้น อ่านข่าวตามเอกสารแล้ว มีการแสดงความคิดเห็น แสดงสีหน้า ถ่ายทอดอารมณ์  อย่างนี้จะให้นิยามว่าอะไร หรือ "ศิลปินดารา" ที่มาอ่านข่าวด้วยจัดอยู่ในประเภทไหน ที่ประชุมเห็นว่า การให้นิยาม กับบุคคลเหล่านี้ ดูจะยังเป็นภาพเบลอๆ ที่ไม่ชัดเจน ฉะนั้น เมื่อจะทำให้เป็นมาตรฐาน สมควรรับข้อสังเกตไปพิจารณาปรับปรุง

 

ชง นิยาม “ซองขาว” คืออะไร

 

ขณะที่ หมวดที่ 4 คำศัพท์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตามร่างฉบับนี้ มีการให้ความหมายของคำสมัยใหม่ เช่น "คอนเทนท์คูเรเตอร์" คือ บุคคลที่ทำหน้าที่รวบรวม ตรวจสอบ แยกแยะ เรียบเรียง ข้อมูลจำนวนมาก หรือ คำว่า "อินฟลูเอนเซอร์" คือ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจของผู้อื่น หรือ "เคโอแอล" ที่กำลังพูดถึงกันเยอะ หมายถึง บุคคลที่ได้รับความเชื่อถือว่ามีความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง หรือ "เคโอซี" คือ บุคคลที่เป็นผู้มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค เป็นต้น

 

อย่างไรก็ดี มีความเห็นหลากหลายจากตัวแทนสื่อมวลชนที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคสนาม ว่า ควรเพิ่มเติม คำอื่นๆ เข้าไปด้วย เช่น นิยามของ"ข่าว" ที่ปรากฎอยู่ในหมวด 3 ว่าด้วย ข้อมูลข่าวสารในวิชาชีพสื่อสารมวลชน  ยังมี "ข่าวแจก" , "ข่าวประชาสัมพันธ์""ข่าวหมู่""ข่าวซีฟ", "ข่าวเดี่ยว" หรือแม้แต่ หมวด 4 คำศัพท์อื่นที่เกี่ยวข้อง เมื่อให้ความหมายของ "นักข่าวผี" ,"นักข่าวปลอม" ,"ข่าวลวง" ก็ควรให้นิยามความหมายคำว่า "ซองขาว", "สินน้ำใจ" เข้าไปด้วย โดยคณะทำงานรับข้อสังเกตเหล่านี้บันทึกไว้ในรายงานการประชุม

"นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี" ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ

เปิดรับฟังความเห็น “ศัพท์สื่อ” ถึง 15 ต.ค.67

 

"นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี" ประธานสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ เปิดเผยด้วยว่า ในวันนี้สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ ได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นร่าง "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน" โดยในช่วงเช้าสำหรับองค์กรสมาชิกและสื่อมวลชน ช่วงบ่ายสำหรับนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เพื่อให้เกิดความหลากหลายและความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น จึงเห็นว่าควรเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อสาธารณะ ผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นผ่าน [email protected] โดยขอให้แจ้งชื่อ นามสกุล ในทุกความคิดเห็น ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2567

ชมคลิป >>> เวทีรับฟังความเห็น "นิยามศัพท์สื่อมวลชน"

วงการสื่อตื่นตัว ถก\"นิยามศัพท์สื่อมวลชน\" มึน \"ผู้ประกาศข่าว\" \"คนเล่าข่าว\"

ประธานสภาการสื่อมวลชนฯ กล่าวว่า การจัดทำ "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน" เพื่อรวบรวมและให้ความหมายคำศัพท์ในวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างเป็นระบบ สร้างความชัดเจน ป้องกันการคลาดเคลื่อนในการตีความ และให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สามารถใช้เป็นมาตรฐานกลางในการอ้างอิงทั้งในภาควิชาชีพ ภาควิชาการ และภาคธุรกิจ ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการวางแนวทางพัฒนามาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน และการกำกับดูแลกันเองในด้านจริยธรรมของสื่อมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบัน

หลังจากนี้ คณะทำงานร่าง "นิยามศัพท์สื่อสารมวลชน" จะนำความเห็นรวมทั้งข้อเสนอแนะไปปรับแก้ไข และเสนอให้คณะกรรมการสภาการสื่อมวลชนแห่งชาติพิจารณาเห็นชอบต่อไป

 

วงการสื่อตื่นตัว ถก\"นิยามศัพท์สื่อมวลชน\" มึน \"ผู้ประกาศข่าว\" \"คนเล่าข่าว\"