svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"อนุทิน"เซ็นแล้ว ยกระดับ"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์"เป็น"เทศบาลนครบุรีรัมย์"

มท.1 "อนุทิน " ลงนามประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกระดับ"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์" เป็น "เทศบาลนครบุรึรัมย์" มีผลตั้งแต่ 31 ต.ค. 67 นี้ เผยเป็น "เทศบาลนครแห่งที่ 6" ของภาคอีสาน

8 กันยายน 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567  "ราชกิจจานุเบกษา" เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะ"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์" อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์เป็น"เทศบาลนครบุรีรัมย์"

 

โดยที่เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนคร ซึ่งกระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงฐานะเพื่อประโยชน์ในการจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชน ประกอบกับมีราษฎรตั้งแต่ห้าหมื่นคนขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชญัติเทศบาล(ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ สมควรให้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒) พเศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์

 

\"อนุทิน\"เซ็นแล้ว ยกระดับ\"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์\"เป็น\"เทศบาลนครบุรีรัมย์\"

ให้เทศบาลเมืองที่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครตามประกาศนี้ มีแนวเขตตามคำบรรยายและแผนที่ท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบเลิกเทศบาลตำบลอิสาณ รับพื้นที่บางส่วนขององค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดมารวมกับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์และเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ และให้พ้นสภาพแห่งการเป็นเทศบาลเมืองนับแต่วันที่ได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนครเป็นต้นไป บรรดาทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและสิทธิเรียกร้องของเทศบาลเมืองให้โอนไปเป็นของเทศบาลนครที่เปลี่ยนแปลงฐานะในขณะเดียวกันนั้นและบรรดาเทศบัญญัติที่ได้ใช้บังคับอยู่ก่อนแล้วให้คงให้ใช้บังคับต่อไป ตามมาตรา ๑๓แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ๑๒)พ.ศ. ๒๕๔๖

ขอบคุณภาพ จากเทศบาลเมืองบุรีรัมย์

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลง เทศบาลเมืองบุรีรัมย์  เป็นเทศบาลนครบุรีรัมย์ นั้น  นับเป็นนครแห่งที่ 6 ของภาคอีสาน ( 1. เทศบาลนครนคราชสีมา  2. เทศบาลนครอุดรธานี  3. เทศบาลนครขอนแก่น  4. เทศบาลนครอุบลราชธานี 5. เทศบาลนครสกลนคร )  ที่มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง ทั้งตำบล ตำบลอิสาณทั้งตำบล และบางส่วนของตำบลเสม็ด ( เฉพาะหมู่ 9,11,13,16) อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร, สถานศึกษา, สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 75.44 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 47,150 ไร่ มีประชากรในปี พ.ศ. 2564 ประมาณ 71,974 คน

คลิกอ่าน ฉบับเต็ม >>> ประกาศกระทรวงมหาดไทยยกระดับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์เป็นเทศบาลนคร

 

\"อนุทิน\"เซ็นแล้ว ยกระดับ\"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์\"เป็น\"เทศบาลนครบุรีรัมย์\"

\"อนุทิน\"เซ็นแล้ว ยกระดับ\"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์\"เป็น\"เทศบาลนครบุรีรัมย์\"

\"อนุทิน\"เซ็นแล้ว ยกระดับ\"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์\"เป็น\"เทศบาลนครบุรีรัมย์\"

\"อนุทิน\"เซ็นแล้ว ยกระดับ\"เทศบาลเมืองบุรีรัมย์\"เป็น\"เทศบาลนครบุรีรัมย์\"

ขอบคุณภาพ เทศบาลเมืองบุรีรัมย์

ในประเทศไทย เทศบาลนคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไปและมีรายได้พอเพียงต่อการให้บริการสาธารณะตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ การจัดตั้งเทศบาลนครกระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนครตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับล่าสุด) ปัจจุบันมีเทศบาลนครอยู่ 31 แห่งทั่วประเทศ (ไม่นับรวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) เทศบาลนครแห่งแรกของไทย 3 แห่งคือเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี และเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2478

 

ต่อมาเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีได้ถูกยุบรวมกันเป็นเทศบาลนครหลวงในปี พ.ศ. 2514 และในปี พ.ศ. 2515 เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบพร้อมกับจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเพื่อจัดตั้งกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นเทศบาลนครจึงเหลือแต่เพียงเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเทศบาลนครแห่งแรกในส่วนภูมิภาค จนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 จึงมีการจัดตั้งเทศบาลนครแห่งที่สองในส่วนภูมิภาคคือเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และเทศบาลนครอื่น ๆ มาตามลำดับ - ที่มาวิกีพีเดีย