svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ยุทธพร" ย้ำยังไร้ข้อสรุปปมผิด ม.112 เผยอนุกมธ.แบ่งช่วงเวลานิรโทษฯแล้ว

02 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ยุทธพร อิสรชัย" เผย "อนุ กมธ.นิรโทษกรรม" ชงแบ่ง 4 ช่วงเวลาพ่วง 3 แนวทางล้างผิด แย้มบางเรื่องไร้แรงจูงใจและไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ อาจชงอัยการสั่งไม่ฟ้อง ย้ำยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับความผิด ม.112

2 พฤษภาคม 2567 "นายยุทธพร อิสรชัย" ประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษาและจำแนกการกระทำเพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ใน กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยถึงแนวทางการพิจารณาคดี เพื่อนำมาสู่การนิรโทษกรรม ว่า อนุ กมธ.ได้ยึดสถิติกรอบเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 จนถึงปัจจุบัน

นายยุทธพร กล่าวต่อว่า ซึ่งในระยะเวลา 20 ปี ดังกล่าว ได้แบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลา ระหว่าง

  • 2548-2551
  • 2552-2555
  • 2556-2562
  • 2563-ปัจจุบัน 2567


อย่างไรก็ตาม ซึ่ง 4 ช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองใหญ่ ๆ เช่น การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มต่าง ๆ, การดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ที่มีเหตุเข้าข้อกฎหมายต่าง ๆ ทั้งในโลกออนไลน์ หรือออฟไลน์ และใช้เกณฑ์แรงจูงใจทางการเมืองที่ชัดเจน

ทั้งนี้ โดยมีฐานความผิดตามกฎหมายอันเนื่องจากการชุมนุมโดยตรง เช่น

  • พระราชบัญญัติการชุมนุม
  • พระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติ
  • พระราชกำหนดการบริหารราชการสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน


นอกจากนี้ รวมถึงแรงจูงใจทางการเมืองที่ไม่ชัดเจน และเข้าข่ายผิดกฎหมายอื่น เช่น

  • พระราชบัญญัติจราจร
  • พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาด เป็นต้น


นายธุทธพร กล่าวต่อว่า โดยในวันนี้ (2 พ.ค.) กมธ.จะนำเสนอผลการพิจารณาดังกล่าวให้ กมธ.ชุดใหญ่ พิจารณา

ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้นั้น โดยในสัปดาห์หน้า จะมีการประชุม อนุ กมธ.อีกครั้ง เพื่อปรับแก้ตามความเห็นของ กมธ.ชุดใหญ่ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปว่า จะมีการใช้กฎหมายนิรโทษกรรมที่มีความจำเป็น เพื่อนำมาสู่การปฏิบัติอย่างไรบ้าง หรือความผิดบางฐานความผิด อาจยังไม่มีข้อสรุป หรือข้อยุติ ก็อาจใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายดำเนินการ

ขณะเดียวกัน หรือบางความผิดแม้จะดำเนินคดีไป ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องใช้พระราชบัญญัติองค์กรอัยการ มาตรา 21 เพื่อให้อัยการสั่งไม่ฟ้องตามฐานความผิดในพระราชบัญญัติจราจร, พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาด, พระราชบัญญัติเครื่องขยายเสียง ซึ่งเป็นคดีที่ไม่ได้มีแรงจูงใจ และไม่เกิดประโยชน์สาธารณะหากจะมีการดำเนินคดี ซึ่งท้ายที่สุด ก็จะออกมา 3 ทางเลือกดังกล่าว 

ส่วนการนิรโทษกรรมจะสามารถดำเนินการได้เมื่อใดนั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร โดยจะต้องรอข้อสรุปจาก กมธ.ก่อนในช่วงปลายเดือน ก.ค.นี้ และสุดท้าย ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาผู้แทนราษฎร ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่อาจจะต้องมีการนำไปดำเนินการประกอบพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมด้วย 

 

"การนิรโทษกรรมคดีความผิดที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นั้น ยังไม่มีข้อสรุป และอยู่ระหว่างการพูดคุย" นายยุทธพร กล่าว  

 

logoline