svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ไอติม พริษฐ์" ถาม กกต. จะชัดเจนได้เมื่อไหร่ปมระเบียบและประกาศเลือก สว.

17 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ไอติม พริษฐ์" ทวงถาม กกต. ปมระเบียบและประกาศเกี่ยวกับการเลือก สว. จะชัดเจนได้เมื่อไหร่ เหตุยังมีข้อสงสัยหลายเรื่อง พร้อมหวั่นหากรับรองวุฒิสภาใหม่ช้า ส่งผลชุดเก่ายังมีอำนาจตามบทเฉพาะกาล โดยเฉพาะยับยั้งแก้ รธน. ตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงองค์กรอิสระ

17 เมษายน 2567 "นายพริษฐ์ วัชรสินธุ" สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ได้โพสต์ข้อความทวงถามคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถึงความคืบหน้าในการจัดทำระเบียบ และประกาศเกี่ยวกับการเลือก สว. เนื่องจาก สว. ชุดปัจจุบันจะครบวาระอีกไม่ถึง 1 เดือน และต้องเข้าสู่กระบวนการเลือกอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม หลังตัวแทนสำนักงาน กกต. แจง กมธ.ว่าระเบียบและประกาศดังกล่าว จะแล้วเสร็จและเผยแพร่ก่อนเทศกาลสงกรานต์ โดยเฉพาะยังมีข้อสงสัยเรื่อง ประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติของ 20 กลุ่มอาชีพ เช่น 

นิยามโดยละเอียดของแต่ละกลุ่มอาชีพที่ผู้สมัคร สว. ต้องเลือกในการสมัครรับคัดเลือก กับเรื่องระเบียบเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้สมัคร เช่น

ผู้สมัครแนะนำตัว-รณรงค์อย่างไรได้บ้าง?
ผู้สมัครประกาศจุดยืนหรือแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น จุดยืนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้หรือไม่
ประชาชนทั่วไปสามารถแนะนำตัว-รณรงค์ให้ผู้สมัครที่ตนสนับสนุนอย่างไรได้บ้าง?
 

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กกต. 

  1. เร่งหาข้อสรุปและเผยแพร่ ระเบียบ/ประกาศ โดย "เร็ว" ที่สุด
  2. ออกแบบกฎเกณฑ์และกติกาใน ระเบียบ/ประกาศ ให้ "เปิดกว้าง" ที่สุด เพื่อให้ - ผู้สมัครแต่ละคนได้แนะนำตนเองได้อย่างครอบคลุมที่สุด - ผู้สมัคร (ซึ่งจะเป็นผู้มีสิทธิเลือก สว.) เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครคนอื่นได้อย่างรอบด้านที่สุด เพื่อประกอบการพิจารณา - ประชาชน (แม้ไม่มีสิทธิเลือก สว. โดยตรง) มีส่วนร่วมในกระบวนการได้อย่างกว้างขวางที่สุด  


ทั้งนี้ ยิ่งกติกาดังกล่าวออกมา "ช้า" เท่าไหร่ และออกมาในลักษณะที่สร้าง "ข้อจำกัด" มากเท่าไหร่ ความไม่ชัดเจนที่ตามมา ก็ยิ่งมีความเสี่ยง ที่จะทำให้กระบวนการที่มีความซับซ้อนอย่างมากอยู่แล้ว มีปัญหาในเชิงปฏิบัติมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจกระทบต่อความเที่ยงตรงและเป็นธรรมของกระบวนการทั้งหมด

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ข้อกังวลหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ หากกระบวนการคัดเลือก สว. มีปัญหา และนำไปสู่ข้อร้องเรียนจำนวนมาก จนทำให้ กกต. ไม่พร้อมจะยืนยันว่า การคัดเลือกดังกล่าว "เป็นไปโดยถูกต้อง สุจริต และเที่ยงธรรม" ทาง กกต. มีช่องในการที่จะยังไม่ประกาศผลการคัดเลือก สว. ชุดใหม่ ตามระเบียบว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 154 ซึ่งจะทำให้ สว. 250 คน ชุดปัจจุบัน รักษาการต่อไปโดยไม่มีกำหนด

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีอำนาจตามบทเฉพาะกาลแล้ว แต่ก็จะมีอำนาจเทียบเท่ากับ สว. ชุดใหม่ ที่กำลังถูกคัดเลือก เช่น อำนาจยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจรับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ

logoline