เพจเฟซบุ๊ก NIDA Poll - นิด้าโพล ของ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “อำนาจราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ” ทำการสำรวจระหว่าง วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับอำนาจของกรมราชทัณฑ์กับการเมืองหลังพักโทษ
การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่ออำนาจของกรมราชทัณฑ์ ในการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษให้กับนักโทษ หลังจากศาลมีคำพิพากษา พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.00 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 19.47 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 19.16 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 18.01 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 3.36 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชน ต่อการพิจารณาลดโทษ หรือพักโทษของกรมราชทัณฑ์ ควรมีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกร่วมเป็นกรรมการ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.69 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 24.58 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 24.27 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย ร้อยละ 8.70 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองหลัง “ทักษิณ ชินวัตร” ได้รับการพักโทษ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.38 ระบุว่า “ทักษิณ ชินวัตร” จะมีบทบาทในการให้คำปรึกษากับพรรคเพื่อไทย รองลงมา ร้อยละ 28.93 ระบุว่า การชุมนุมต่อต้าน “ทักษิณ ชินวัตร” จะไม่สามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่ ร้อยละ 26.72 ระบุว่า คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะลดลงจากบทบาทที่มากขึ้นของ “ทักษิณ ชินวัตร”
ร้อยละ 21.68 ระบุว่า การชุมนุมต่อต้าน “ทักษิณ ชินวัตร” จะสามารถจุดติดเป็นการชุมนุมใหญ่ ร้อยละ 19.69 ระบุว่า การต่อสู้ทางการเมืองระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเข้มข้นขึ้น ร้อยละ 19.24 ระบุว่า เร็ว ๆ นี้จะมีการปรับคณะรัฐมนตรี ร้อยละ 17.63 ระบุว่า “ทักษิณ ชินวัตร” จะไม่ยุ่งกับการเมืองอีกแล้ว ร้อยละ 17.02 ระบุว่า นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน จะอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระ
ร้อยละ 14.43 ระบุว่า ประเทศไทยจะดูเหมือนมี “นายกรัฐมนตรี” สองคน ร้อยละ 12.21 ระบุว่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองยังคงอยู่ที่ “ทำเนียบรัฐบาล” ร้อยละ 11.15 ระบุว่า ศูนย์กลางอำนาจทางการเมืองจะย้ายไปอยู่ที่ “บ้านจันทร์ส่องหล้า” ร้อยละ 11.07 ระบุว่า จะมีการเปลี่ยนตัว “นายกรัฐมนตรี” จาก เศรษฐา ทวีสิน เป็น “อุ๊งอิ๊ง” แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 9.54 ระบุว่า คะแนนนิยมพรรคเพื่อไทยจะสูงขึ้นจากบทบาทที่มากขึ้นของ “ทักษิณ ชินวัตร” ร้อยละ 6.11 ระบุว่า พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลจะเป็นมิตรกันมากขึ้น และร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.50 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.43 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.07 นับถือศาสนาคริสต์ และศาสนาอื่น ๆ
ตัวอย่าง ร้อยละ 36.41 สถานภาพโสด ร้อยละ 60.84 สมรส และร้อยละ 2.75 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 24.66 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 36.49 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.47 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.64 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 3.74 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 9.39 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 17.63 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.67 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.06 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.21 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.39 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.65 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.75 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 18.55 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 28.63 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.77 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.51 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 12.67 ไม่ระบุรายได้