svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

พลังประชารัฐ เข้าแก๊งไหน ได้เป็นรัฐบาลหมด ?

การวางยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ แม้คาดว่า “พลังประชารัฐ” จะได้ ส.ส. ไม่มากนัก แต่ด้วยคอนเนคชั่นของบิ๊กป้อม กับ ส.ว. จำนวนหนึ่ง ส่งผลให้อาจกลายเป็นพรรคตัวแปร “ที่เข้าแก๊งไหน ได้เป็นรัฐบาลหมด”

แม้ยังไม่ครบวาระ หรือยุบสภา แต่ก็เรียกได้ว่าบรรยากาศเลือกตั้งได้เกิดขึ้นแล้ว แต่ละพรรคเริ่มทยอยเปิดตัวผู้สมัคร และลงพื้นที่หาเสียงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ พลังประชารัฐ ที่หัวหน้าพรรค “บิ๊กป้อม” ได้รับฉายาใหม่ล่าสุดว่า “จอมปาด” เพราะลงพื้นที่ตัดหน้า “บิ๊กตู่” 3 ทริปติดต่อกัน ตั้งแต่ที่ราชบุรี , นครสวรรค์ และเยาวราช และคาดว่ากำลังจ้องปาดในพื้นที่อื่นๆ อีก

โดย 2 พื้นที่แรกเป็นภารกิจทางการเมืองในการรั้ง “ส.ส. พลังประชารัฐ” ที่ยังมีอาการลังเล ไม่ให้ไหลไป “รวมไทยสร้างชาติ” ส่วนในงานตรุษจีนที่เยาวราช เป็นการสร้างภาพลักษณ์ “บิ๊กป้อม” ให้ดูคูล ดูเท่ ขโมยซีน “บิ๊กตู่” ไปเต็มๆ ที่เดินทางมาทีหลัง แต่ใส่สูทเต็มยศ ดูผิดที่ผิดทาง ไม่เข้ากับเทศกาลเอาเสียเลย

พลังประชารัฐ เข้าแก๊งไหน ได้เป็นรัฐบาลหมด ?

บทความที่น่าสนใจ

และจากหลายๆ ซีน ที่เน้นเขย่า “บิ๊กตู่” เป็นหลัก จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการเปรียบมวยกันระหว่างทีมงานของทั้ง 2 พรรค แม้ศึกเลือกตั้งครั้งนี้ยังอีกยาวไกล แต่ทีมงาน พลังประชารัฐ ก็ทำให้บิ๊กป้อมดูโดดเด่นขึ้นมาในระยะเวลาอันสั้น โดยเฉพาะการเปิดนโยบายบัตรประชารัฐ ด้วยการเพิ่มวงเงินให้เป็นเดือนละ 700 บาท ที่ทำเอา “รวมไทยสร้างชาติ” ต้องกุมขมับ เพราะนี่คือนโยบายที่ประสบความสำเร็จที่สุดของรัฐบาลประยุทธ์ 1 และประยุทธ์ 2 แต่ พลังประชารัฐ ชิงประกาศตัดหน้าไปซะแล้ว

อีกทั้งการกำหนดตัวเลขยังแฝงการตลาดทางการเมืองที่ค่อนข้างมีชั้นเชิง เพราะนอกจากจะดักทาง “รวมไทยสร้างชาติ” ได้อย่างอยู่หมัดแล้ว ยังกระทบชิ่งอิงกระแสค่าแรงขั้นต่ำวันละ 600 บาท สร้างภาพจำ “บัตรประชารัฐ 700” ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ซึ่งสาเหตุที่ “บิ๊กป้อม” และ พลังประชารัฐ มีการเคลื่อนไหวที่พริ้ว และมีลูกเล่นที่แพรวพราว ก็อาจเนื่องมาจากการวาง Position ที่ชัดเจนตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน อย่างรอบด้าน เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างแม่นยำ และคงมีการวิเคราะห์แล้วว่า คู่แข่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ของพรรค ไม่ใช่ “พรรคเพื่อไทย” หรือแม้กระทั่ง “พรรคภูมิใจไทย” แต่คือ “พรรครวมไทยสร้างชาติ” ที่มีฐานเสียงเดียวกัน จึงไม่ต้องแปลกใจที่กลยุทธ์ของ พลังประชารัฐ จะมุ่งท้าตีท้าต่อยกับ "รวมไทยสร้างชาติ" เป็นหลัก

พลังประชารัฐ เข้าแก๊งไหน ได้เป็นรัฐบาลหมด ?

ซึ่งคาดว่า พรรคพลังประชารัฐ กับ "รวมไทยสร้างชาติ" จะได้จำนวน ส.ส. ใกล้เคียงกันประมาณ 40 คน แต่มีเป้าหมายที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง นั่นก็คือ พลังประชารัฐ ประกาศแต่เนิ่นๆ ว่า ร่วมรัฐบาลได้กับทุกพรรคการเมือง โดยกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อเป็นรัฐบาล วางตำแหน่งตัวเองไว้ที่พรรคตัวแปร “ที่เข้าแก๊งไหน ได้เป็นรัฐบาลหมด”  

ในขณะที่ “รวมไทยสร้างชาติ” ตั้งเป้าหมายไว้ที่ “บิ๊กตู่” ต้องเป็นนายกฯ เท่านั้น อีกทั้งยังสร้างภาพให้พรรคเป็นหัวขบวนอนุรักษ์นิยม ที่ไม่จับมือกับฝั่งประชาธิปไตยอย่างเด็ดขาด

แต่ถึงแม้ “พลังประชารัฐ” จะวางตัวเองเป็นพรรคตัวแปร แต่ก็เป็นพรรคขนาดกลางที่มีพลังพิเศษ เพราะอย่าลืมว่า “บิ๊กป้อม” มีคอนเนคชั่นกับกลุ่ม ส.ว. จำนวนหนึ่ง โดยรายการ Nation Insight ได้ประเมินว่า มีไม่ต่ำกว่า 80 คน ซึ่งหากได้ ส.ส. ตามเป้า ก็เท่ากับ “พลังประชารัฐ” จะมีจำนวนเสียงในการโหวตนายกฯ ไม่ต่ำกว่า 120 เสียง ที่อาจสามารถเลือกได้เลยว่า จะให้ฝั่ง “บิ๊กตู่” หรือฝั่ง “เพื่อไทย” ได้เป็นรัฐบาล