29 มีนาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นับเป็นโศกนาฎกรรมครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศไทยอีกครั้ง เมื่ออาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ สูง 30 ชั้น. ย่านจตุจักร กทม. ต้องพังครืนลงมา จากผลแรงสั่นสะทือนแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางประเทศเมียนมา. เป็นผลให้มีผู้สูญหายขณะนี้เกือบร้อยชีวิต
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของประเทศไทย แต่หากย้อนกลับไป 32 ปี ประเทศไทยก็เคยเกิดเหตุการณ์อาคารถล่ม เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อยและเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก
กลายเป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ช็อกโลกในประวัติศาสตร์ กับหายนะที่ชาวนครราชสีมา หรือชาวโคราชต้องจดจำแบบไม่รู้ลืม
อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่า ที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนจอมสุรางค์ และถนนโพธิ์กลาง เพราะสามารถเข้า-ออกได้ 2 ทาง กลางเมืองโคราช ถล่มลงมา เมื่อเวลา 10.12 น. เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตถึง 137 คน บาดเจ็บ 227 คน
ขณะเกิดเหตุ มีการอบรมสัมมนาอยู่คณะใหญ่ มีผู้อยู่ในอาคารทั้งหมดกว่า 400 คน ประกอบไปด้วยกลุ่มข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ 47 คน ที่เหลือเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่พักอยู่ในโรงแรมและพนักงานโรงแรม
ด้านการกู้ภัยได้รับการช่วยเหลือจากหลายหน่วยงาน เพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตในซากตึกโรงแรมรอยัลพลาซ่าขณะนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะมีผู้ประสบเหตุจำนวนมากและไม่มีเครื่องมือหนักในการช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ต้องคลานเข้าไปใต้ซากอาคารที่อาจถล่มซ้ำลงมาได้ทุกเมื่อ ซึ่งการระดมความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง
อาทิ อาบอบนวด คาเฟ่ เอ็กเซ็คคิวทีฟผับ เลเซอร์เธค บาร์เบอร์ เป็นโรงแรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ได้ปรับปรุงใหม่และมีการต่อเติมอาคารจาก 3 ชั้น เป็นอาคาร 6 ชั้น พร้อมห้องประชุมสัมมนาขนาดใหญ่อยู่ชั้น 6
นอกจากโปรเจ็กต์ขยายตึกโรงแรมเป็น 6 ชั้นแล้ว ยังมีอีก 3 โครงการที่จะทำอีก คือปรับปรุงคาเฟ่ซึ่งเป็นแม่เหล็กสถานบันเทิงที่ทำรายได้ดีใหม่ทั้งหมด พร้อมกับจะสร้างอาคารจอดรถสูง 8 ชั้นที่ใช้งบสูงถึง 30 ล้าน สามารถจอดรถได้ 400 คัน และสุดท้ายเป็นการจัดงานใหญ่ฉลองครบรอบ 10 ปีโรงแรมในเดือนพฤศจิกายน 2536 แต่เกิดเหตุการณ์โรงแรมถล่มในวันที่ 13 สิงหาคม 2536 ก่อน
เหตุการณ์อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าโคราชถล่ม กลายเป็นข่าวดังช่วงนั้นอย่างมาก สำนักข่าวดังทั้งในและต่างประเทศมุ่งสู่เมืองโคราช เสนอข่าวนี้ตลอด 1 เดือนเต็ม เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีคนเสียชีวิตและติดอยู่ในซากตึกจำนวนมาก ซึ่งทำให้ข่าวโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มถือได้ว่าเป็นข่าวดังไปทั่วโลก
สาเหตุการพังถล่มครั้งนั้น คือการต่อเติมผิดแบบ แต่ครั้งนี้กับ “อาคาร สตง.แห่งใหม่” ที่นอกจากจะได้รับผลสะเทือนจากแผ่นดินไหวเมียนมาแล้ว ก็คงต้องหาสาเหตุลึกๆที่แท้จริงต่อไป ว่าเมื่อสร้างสูงขึ้นไปแล้ว
เป็นไปได้หรือที่ไม่สามารรับแรงแผ่นดินไหว ที่เป็นมาตรฐานกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่เหตุใดถึงพังครืนลงมาง่ายนักนำมาซึ่งการสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศอีกครัง จึงต้องติดตาม และ เนชั่นทีวี ต้องขอแสดงความไว้อาลัยแด่ผู้สูญเสีย