13 ตุลาคม 2567 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าเปิดเผยว่า จากปริมาณฝนและปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาสถานี C.2 นครสวรรค์ 2,184 ลบ.ม./วินาที และการระบายน้ำวันนี้อยู่ที่ 1,900ลบ.ม./วินาที
โดยที่ประชุม ศปช. วันนี้ (13 ต.ค.) ให้ปรับลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาลงอีกจนเหลือแค่ 1,850 ลบ.ม./วินาที เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำ ท้ายเขื่อนไม่เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชน ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลมากนัก และเป็นไปอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำฝนและน้ำทะเลที่จะขึ้นหนุนในช่วงวันที่ 13 – 24 ต.ค. นี้
นายจิรายุ กล่าวต่อว่า ส่วนพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากยังมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ศปช.ขอให้ประชาชนที่อยู่ใน 9 จังหวัดพื้นที่เสี่ยงสูงมาก เฝ้าระวังและติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดได้แก่
1. จ.พังงา (อ.ตะกั่วทุ่ง คุระบุรี กะปง ท้ายเหมือง เมืองพังงา ทับปุด เกาะยาว ตะกั่วป่า)
2. จ.ภูเก็ต (ถลาง เมืองภูเก็ต กะทู้)
3.จ.กระบี่ (อ่าวลึก เกาะลันตา ปลายพระยา คลองท่อม เหนือคลอง เมืองกระบี่ เขาพนม ลำทับ)
4.สุราษฎร์ธานี (บ้านตาขุน บ้านนาสาร บ้านนาเดิม กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก ท่าชนะ เวียงสระ เมืองสุราษฎร์ธานี วิภาวดี ไชยา เกาะสมุย คีรีรัฐนิคม พนม ท่าฉาง พระแสง)
5.ตรัง (เมืองตรัง กันตัง ย่านตาขาว ปะเหลียน สิเกา ห้วยยอด วังวิเศษ นาโยง รัษฎา)
6.ยะลา (เมืองยะลา เบตง ยะหา บันนังสตา ธารโต กาบัง รามัน กรงปินัง)
7.นราธิวาส (เมืองนราธิวาส บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ ศรีสาคร สุไหงปาดี เจาะไอร้อง จะแนะ สุคิริน แว้ง)
8.ปัตตานี (โคกโพธิ์ หนองจิก แม่ลาน ปะนาเระ มายอ ทุ่งยางแดง สายบุรี ยะรัง กะพ้อ)
9.พัทลุง (เมืองพัทลุง กงหรา ศรีบรรพต ศรีนครินทร์ เขาชัยสน ตะโหมด ควนขนุน ป่าบอน ป่าพะยอม)
สำหรับพื้นที่เสี่ยงจังหวัด 11 ที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ ได้แก่ 1. จ.ระนอง (อ.สุขสำราญ กะเปอร์ ละอุ่น เมืองระนอง กระบุรี) 2. นครศรีธรรมราช (อ.ฉวาง พิปูน ท่าศาลา ลานสกา ช้างกลางเชียรใหญ่ เมืองนครศรีธรรมราช ปากพนัง พรหมคีรี เฉลิมพระเกียรติ ร่อนพิบูลย์ หัวไทร ทุ่งสง ทุ่งใหญ่ สิชล ขนอม นาบอน นบพิตำ) 3. จ.สงขลา (เมืองสงขลา จะนะ นาทวี เทพา สะบ้าย้อย สะเดา ระโนด รัตภูมิ หาดใหญ่ นาหม่อน คลองหอยโข่ง) 4. จ.สตูล (เมืองสตูล ควนโดน ควนกาหลง ละงู ทุ่งหว้า มะนัง)
ส่วนพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน ยังมีความจำเป็นต้องเฝ้าระวังเช่น จ.กาญจนบุรี (อ.เมือง เลาขวัญ บ่อพลอย หนองปรือ พนมทวน ท่ามะกา ท่าม่วง ด่านมะขามเตี้ย ห้วยระเจา) 6. จ.เพชรบุรี 7. จ.ประจวบคีรีขันธ์ 8. จ.ชุมพร (สวี ละแม เมืองชุมพร ท่าแซะ ปะทิว พะโต๊ะ ทุ่งตะโก) 9. จ.จันทบุรี (ขลุง) 10. จ.ระยอง 11. จ.ตราด และ 12. จ.ชลบุรี
โดย ศปช.ขอให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมทั้งติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนล่วงหน้า ของหน่วยงานราชการแก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง หากต้องการความช่วยเหลือโทรสายด่วนได้ที่ 1567 ตลอด 24 ชม.”
นอกจากนี้ที่ประชุม ศปช. ได้เตรียมความพร้อมในการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ที่มีปริมาณความจุเกิน 80% เพื่อรองรับปริมาณฝนที่จะเติมเข้ามา รวมทั้ง สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบความแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ และกำจัดวัชพืชและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ ตลอดจนประสานอ่างเก็บน้ำท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่
ส่วนความคืบหน้าแผนฟื้นฟูที่ จ.เชียงราย นายจิรายุ กล่าวว่า ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย ได้รายงานความคืบหน้า โดยระบุว่าการให้ความช่วยเหลือประชาชนถือว่ามากกว่า 90% แล้วและไม่มีสถานการณ์อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ จ.เชียงราย เพิ่มเติม ขณะนี้อยู่ระหว่างฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำลด โดยหน่วยงานต่างๆ ไม่มีการถอนกำลังและ ยังคงเดินหน้าเพื่อให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว ส่วนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยใน อ.แม่สาย มีผู้ใช้ไฟฟ้ามีไฟฟ้าใช้แล้ว 12,268 ราย การฟื้นฟูบ้านเรือนประชาชน 819 หลัง ดำเนินการแล้ว 658 หลัง คิดเป็น 80%